Tuesday, June 4, 2013

ปัญหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธุ์ (Swine Breeding Problems)

ปัญหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธุ์ (Swine Breeding Problems)
ปัญหาความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของสุกรสาวและสุกรนาง (Reproduetive Failures In Gilts And Sows)
1) สุกรสาวไม่ยอมเป็นสัด สาเหตุ บางสายพันธุ์เป็นสัดช้าบางสายพันธุ์เร็ว เนื่องมาจาก
  • พันธุกรรม บางสายพันธุ์แสดงออกมาช้าบ้างเร็วบ้างบางครั้งก็เป็นสัดเงียบ สุกรที่ไม่เป็นสัดหลังผ่าน 10 เดือน จะมีการคัดทิ้ง ยกเว้นสุกรที่มีลักษณะพิเศษควรให้โอกาสแต่ไม่เกิน 1 ปี
  • สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้สัดแสดงความเป็นสัดไม่เด่นชัด
  • สภาพทางโภชนาการ สุกรสาวที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมทำให้การพัฒนาของร่างกายช้า จะส่งผลไปถึงระบบสืบพันธุ์ เช่นเป็นสัดช้าหรือเสียความสมดุลในการสืบพันธุ์สำหรับถ้าให้อาหารน้อย แต่ถ้าให้อาหารมากเกินไปทำให้อ้วนและเป็นสัดช้า
  • ปัญหาในด้านสังคม เพราะไม่เคยพบปะกับสุกรเพศผู้ หรือการได้ยินหรือได้กลิ่นสุกรเพศผู้ แก้ได้โดยให้สุกรสาวมีการพบปะเพศผู้
2) สุกรนางไม่เป็นสัด สาเหตุ
  • สภาพร่างกายทรุดโทรม เนื่องมาจากช่วงอุ้มท้องและเลี้ยงลูกถูกดูแลไม่ดีโดยเฉพาะช่วงท้องแก่จะต้อง การอาหารมากกว่าปกติ จึงต้องควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมและคุณภาพดี แม่สุกรทรุดโทรมหลังช่วงหย่านม มักจะเป็นบ่อยในสุกรที่ให้ลูกครอกแรก การแก้ปัญหานี้ต้องดูว่าสุกรอ้วนหรือผอมส่วนมากจะให้แม่สุกรอ้วนนิด ๆ ในช่วงอุ้มท้องเพราะจะได้นำมาใช้ในช่วงเลี้ยงลูก และจะให้อาหารเป็นจำนวนมากในช่วงเลี้ยงลูกจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกในทางปฎิบัต ิในการหย่านมจะลดอาหารประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อไม่ให้อาหารไปสร้างน้ำนม แต่หลังจากนั้นจะให้กินอาหารเต็มที่เพื่อพัฒนาร่างกายและการสืบพันธุ์ให้มี สุขภาพดี
  • เกิดการติดเชื้อโรคในมดลูก เป็นมดลูกอักเสบถ้าคลอดแล้วมดลูกจะกลับเข้าสภาวะปกติ แล้วไม่มีหนองไหลออกมา การติดเชื้ออาจมีสาเหตมาจากสุกรอาจคลอดยากทำให้ผู้เลี้ยงต้องทำคลอดโดยการ ใช้ครีมหรือใช้มือช่วยแต่อาจจะเป็นต้นเหตุให้นำเชื้อโรคเข้าไปได้ วิธีการแก้จะต้องสังเกตดู ถ้าช่องคลอดขยายใหญ่ในตอนคลอดจะเป็นเวลาที่เชื้อโรคเข้ายาก ถ้ามีอาการจะมีการฉีดยาปฎิชีวนะเพื่อล้างช่องคลอด ในกรณีที่เป็นมากจะใช้โปรแตสเซียมโครแมงกาเนต
  • ความเครียด(Stress) ส่งผลต่อความเป็นสัด เนื่องมาจากอากาศร้อน อยู่อย่างหนาแน่นเกินไป ได้รับอาหารช้าและน้อยเกินไป จะส่งผลไปยังสมองที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
3) แม่สุกรเป็นสัดแต่ผสมไม่ติด เป็นปัญหาของสุกรแต่ละตัวจะเกิดจากการจัดการและเทคนิคการผสม แก้ไขโดย
  • ตรวจสอบความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกร และเทคนิคการผสมด้วยว่าระยะเวลาเหมาะสม และน้ำเชื้อได้เข้าสู่ระบบสืบพันธุ์เพศเมียหรือไม่
  • การใช้งานพ่อสุกรหนักเกินไปหรือเปล่าจนไม่สามารถที่จะผลิตตัวอสุจิทัน
  • ตรวจสอบที่ตัวแม่สุกรว่าสาเหตุที่ผสมไม่ติดเพราะอะไร เป็นโรคในระบบสืบพันธุ์หรือไม่
  • ดูที่อาหาร ว่ามีสารพิษจากเชื้อราตัวไหนที่ส่งผลให้การผสมพันธุ์ไม่ติด เชื้อราที่พบมากที่สุด Aflatoxin หรือที่เรียก T2 Toxin, Vomitoxin เชื้อรานี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผสมไม่ติด
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ไม่นิยมทำการแก้ไขเพราะทำได้ยาก
  • โรคในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคแท้งติดต่อ
    
ความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของพ่อสุกร ความสามารถในการสืบพันธุ์แตกต่างกัน เนื่องมาจากผลทางพันธุกรรมและความสมบูรณ์พันธุ์อาจมีสาเหตุ เช่น
1) ปัญหาทางพันธุกรรม
  • พ่อสุกรอาจมีความต้องการทางเพศน้อยซึ่งเกิดจากการผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ของพ่อสุกร เช่น อัณฑะเล็กเกินไป หรืออัณฑะไม่ได้รับการพัฒนาไปตามการเจริญเติบโต
  • พ่อสุกรอาจมีอวัยวะเพศ (Penis) สั้นเกินไปหรือเล็กเกินไป แต่จะพองออกไม่ออก จะสังเกตได้จากช่วงผสมพันธ ุ์แต่ก็สังเกตได้อีกก็คือว่าน้ำเชื้ออยู่ปากช่องคลอดของเพศเมีย หรือเลยคอมดลูกไป หรือสังเกตช่วงการรีดน้ำเชื้อ เพศผู้จะมี Penis ยาว 25 - 40 ซ.ม. ในช่วงยืดตัว
  • อาจเนื่องจากไม่มีความสนใจเพศเมียแต่สนใจในเพศเดียวกัน เป็นลักษณะที่ยากต่อการแก้ไข
  • สภาพร่างกายของพ่อสุกร ความแข็งแรงของข้อเท้าหรือกระดูก เมื่อขึ้นผสมพันธุ์แล้วข้อเท้าเจ็บจะทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลง
  • ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกรแต่ละตัว ดูความเข้มข้นของตัวอสุจิ ตัวอสุจิมีความผิดปกติหรือไม่
  • ปริมาณน้ำเชื้อที่พ่อสุกรหลั่งออกมามากน้อยเพียงใด หรือเรียกอีกอย่างว่าการเป็นหมัน
2) การจัดการ อาจเนื่องมาจาก
  • อาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่เท้าและข้อเท้าอาจเกิดจากการได้รับบาดแผล อุบัติเหตุจากการขึ้นผสมพันธุ์(พื้นลื่นอาจทำให้ล้ม)
  • การใช้งานของพ่อสุกร ดูว่ามีการใช้งานถี่หรือหนักเกินไป ถ้าหนักเกินไปอาจทำให้ความต้องการทางเพศน้อยหรืออาจเกิดการเป็นหมันชั่วคราว สุกรที่โตเต็มที่อาจใช้ได้ 5 - 6 ครั้ง ต่อสัปดาห์ สุกรหนุ่ม 2 - 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
  • ไม่ค่อยได้ใช้งานก็ไม่ได้รับการกระตุ้นจึงทำให้มีความต้องการทางเพศน้อยลง ควรจัดระยะเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้พ่อสุกรที่ชอบเป็นพิเศษ
  • ด้านการจัดการและการจัดการฝึกหัด เมื่อสุกรโตเป็นหนุ่มควรให้ลองผสมพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ที่ไม่ดี
  • สภาพทางด้านโภชนาการหรืออาหาร อาจได้รับอาหารไม่ถูกส่วน หรือได้รับน้อยเกินไปจะมีผลต่อการผสมพันธุ์ เพราะจะมีผลต่อการสร้างน้ำเชื้อ
  • มาจากคนดูแลพ่อสุกร อาจมาจากการให้เวลาพ่อสุกรผสมพันธุ์น้อย หรือปล่อยให้พ่อสุกรและแม่สุกรผสมพันธุ์กันเองโดยไม่ช่วยเหลือ
3) สภาพทางสรีระวิทยา พ่อสุกรที่แก่หรืออ้วนเกินจำเป็นต้องคัดทิ้ง เพราะความกระฉับกระเฉง และการสร้างตัวอสุจิลดลง
4) สภาพแวดล้อม มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสมบูรณ์และความต้องการทางเพศ โดยเฉพาะถ้าอุณหภูมิสูงสุกรอาจเป็นหมันชั่วคราว การสร้างอสุจิก็จะได้รับผลกระทบด้วย

0 comments:

Post a Comment