Tuesday, June 4, 2013

การคัดเลือกและการคัดทิ้ง (Seiection & Culling)

การคัดเลือกและการคัดทิ้ง (Seiection & Culling)
การคัดเลือกเป็นการคัดสัตว์ที่มีลักษณะเหมาะเป็นพ่อแม่พันธุ์พันธุ์ และต้องมีค่าเฉลี่ย(ลักษณะ)สูงกว่าในฝูง เลือกสัตว์ที่มีสุขภาพที่ดี((เริ่มต้น) เริ่มดู เช่น ขนเงางาม ผิวหนังเรียบ เคลื่อนไหวว่องไว ไม่มีลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นอัมพาตหรือกระดูกอ่อน ระบบการหายใจเป็นปกติ ต้องไม่มีลักษณะที่ผิดปกติจากธรรมชาติ แววตามีแววสดใส และสัตว์ต้องมีพฤติกรรมอยากกินอาหาร
ลักษณะที่ใช้พิจารณาในการคัดเลือก ต้อง มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและลักษณะนั้นควรมีความสามารถในการถ่ายทอดทางพันธุ์ กรรมสูงโดยวัดเป็นค่าอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรม(Heritability,h)ค่านี้จะ ชี้บ่งบอกว่าถูกควบคุมโดยพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม ลักษณะที่มีค่า h ต่ำปรับปรุงได้โดยใการจัดการสิ่งแวดล้อมแต่ก็ดีได้เฉพาะสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ
ลักษณะที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
  1. อัตราการเจริญเติบโต (Growth Rate) การเพิ่มน้ำหนักตัวต่อวัน (Arerage Daily Gain,ADG) ดูจากว่าน้ำหนัก เริ่มต้นเท่าไร และสิ้นสุดเท่าไร หาได้จาก น้ำหนักสิ้นสุด - น้ำหนักเริ่มต้น /ระยะเวลา มีผลต่อค่าอัตราทางพันธุ์กรรมระดับปานกลาง
  2. ความหนาของไขมันสันหลัง (Backfat Thickense)ไขมัน ของสุกรต่อเนื้อแดงบอกถึงคุณภาพของสุกร ไขมันบริเวณสันหลังนี้มีมากที่สุด ไขมันที่นี้มีมากจะบ่งบอกว่าสุกรมีไขมันมาก และจะมีเนื้อแดงน้อย ลักษณะนี้มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมสูง การวัดสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดไขมันสันหลัง หรืออาจใช้ไม่บรรทัดเหล็ก จะมีคลิปที่เลื่อนได้ขนาดกว้าง 1 ซ.ม. ยาวประมาณ 5 - 6 นิ้ว ที่เห็นมากจะวัดบริเวณไหล่ หลัง และกระดูกบั้นท้าย (กระดูกซี่โครงซี่แรก ,กระดูกซี่โครงซี่สุดท้าย และกระดูกบั้นท้ายท่อนสุดท้ายอยู่ประมาณกลางโคนหาง)จะวัดห่างจากเส้นกลาง หลัง 1 นิ้ว แล้วนำทั้ง3 ค่าที่ได้มาเฉลี่ยกัน ค่าที่ได้ไม่ควรเกิน 1.5 ซ.ม.สุกรที่ใช้ทำพันธุ์ควรมีความหนาของไขมันไขสันหลังไม่เกิน 2 ซ.ม. ที่น้ำหนัก 90 กก และอีกวิธีในการวัดคือการวัดเพียงจุดเดียวจะวัดที่กระดูกซี่โครงซี่สุดท้าย ห่างจากเส้นกลางหลัง 6.5 ซม.จะแม่นยำและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เนื้อแดงส่วนมากจะอยู่ที่ไหล่ กลางหลัง และสะโพก พื้นที่หน้าตัดเนื้อแดง(Loin-Eye Area)จะมาก จะวัดตรงซี่โครงซี่ที่ 10 กับ 11 วิธีการแก้ทีจะให้มีไขมันสันหลังน้อยก็คือการเลือกพ่อพันธุ์ที่มีไขมัน สันหลังน้อย และสุกรที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงจะมีไขมันมาก
การเจริญเติบโตมีผลต่อทุนต่าง ๆ ดังนี้
  1. ทุนคงที่ ดอกเบี้ยต่าง ๆ ,ค่าที่ดิน,ค่าอุปกรณ์ ฯลฯ
  2. ทุนหมุนเวียน โรงเรือน
  3. ประสิทธิภาพการใช้อาหาร(Feed Efficiency) วัดออกมากในการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (FCR,Feed ConVersion Ratio)หรือ (F/G, Feed/Gain) สัตว์ที่คุณภาพดีจะต้องมี FCR or F/G ต่ำ G/F(Gain/Feed)เป็นน้ำหนักที่เพิ่มต่ออาหาร 1 กิโลกรัม แต่ G/F จะมีค่าสูงจึงจะมีประสิทธิภาพดี มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมปานกลางประสิทธิภาพการใช้อาหารดีเมื่อเจริญ เติบโตเร็ว เน้นเพศผู้
  4. ลักษณะซาก (Carcass Traites) ลักษณะของเนื้อที่มีน้ำไหลออกมา สีซีด เนื้อนิ่ม เรียกเนื้อ PSE (Pale Soft Exusate) เนื้อแห้ง สีคล้ำ ๆ เรียกเนื้อ DFD (Dark Firm Dry) ดูลักษณะที่สำคัญ สีสัน อัตราเนื้อแดง ความนุ่มความเหนียว (น้อยมากสำหรับการเลือกดู)เพราะการปรุงอาหารอาจทำให้ความเหนียวนุ่ม และองค์ประกอบทางเคมี ของเนื้อ เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะซากเน้นมากในสุกรเพศผู้ อัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูงมาก
  5. ลักษณะผลผลิตของแม่สุกร (Sow Productivity) ดูขนาดคอกเล็กหรือใหญ่ น้ำหนักของลูกสุกรเมื่อหย่านม ขนาดคอกของลูกสุกรเมื่อหย่านม มีค่าอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่ำ ลักษณะเหล่านี้สิ่งที่เข้าไปมีผลมากคือการผสมพันธุ์ว่าดีขนาดไหน ตั้งท้องเลี้ยงดูดีขนาดไหน การจัดการภายในฟาร์ม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
  6. รูปทรงลักษณะ (Conformation) เป็นลักษณะภายนอก เช่น มีความสมดุล ดูแล้วงาม สมเป็นสุกร แต่ไม่ต้องให้ความสำคัญมาก
  7. ลักษณะความไม่สมบูรณ์ (Unsowndness) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีผลให้การสืบพันธุ์ไม่ดี การให้ผลผลิตต่ำ จะมีลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความผิดปกติ เช่นไส้เลื่อน (Hernia) หัวนมบอด (Blind Teats) ลักษณะที่เรียกอัณฑะทองแดง (Cryptcchidirm)ฯลฯ
การคัดเลือกพันธุ์ (Selection of Breed)
ขั้นตอนการคัดเลือกพันธุ์(Selection Procesures) สิ่งที่ผู้คัดเลือกต้องทราบพื้นฐานที่ใช้ในการคัดเลือก
1. ความสามารถของสัตว์ที่แสดงออกมา (Performance Testing)
2. การใช้พันธุ์ประวัติ (Pedeqree Selection) วิธีที่ใช้ในการคัดเลือก(Methods of Selection)
  • การคัดเลือกแต่ลักษณะ (Tandem Methods) เลือกเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ไม่ใช้วิธีนี้มากนักเพราะการคัดเลือกใช้เวลานานจนกว่าจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ และอาจทำให้บางลักษณะสูญเสียไป เพราะใช้เวลานาน
  • การคัดเลือกที่มีลักษณะตั้งแต่ 2 ลักษณะขึ้น (Independent Culling Level) โดยที่แต่ละลักษณะเป็นอิสระต่อกัน
3. การใช้ดรรชนีการคัดเลือก (Selection Index) เป็นการคัดเลือกโดยมีหลายลักษณะร่วมกัน ต่างจากข้อ 2 คือ ให้ค่าความสำคัญของลักษณะแต่ละลักษณะไม่เท่ากัน ในการสร้างดรรชนีการคัดเลือกจะดูค่าอัตราทางพันธุกรรมถ่ายทอดดีขนาดไหน คุณค่าความของแต่ละลักษณะ ความสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์กับฟีโนไทป์นำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้รวมกันเพื่อสร้างสมการของดัชนีการคัดเลือก เช่น
SeIection Index = 240 + [0.110 * ADG(g)] - [50 * FCR] - [19.7 * BE (cm.)]
ADG = อัตราการเจริญเฉลี่ยต่อวัน
FCR = อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ
BE = ความหนาของไขมันสันหลัง
ตัวที่มีค่าดรรชนีการคัดเลือกสูงจะเลือกทำพันธุ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในการคัดเลือกพันธุ์(คัดเลือกโดยนึกถึง เศรษฐกิจ)
การคัดเลือกพ่อพันธุ์ (Selecting the Boar) จะต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะช่วงเวลาหนึ่ง ๆ พ่อพันธุ์จะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาก พ่อพันธุ์จะกระจายพันธุ์กรรมได้ดีกว่าแม่พันธุ์ การจะคัดเลือกไว้ต้องอาศัยหลักความสำคัญทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นประกอบอีก เช่น
  1. ความแข็งแรงของเท้าและข้อเท้าหลัง โดยเฉพาะเท้าหลังที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าขาหน้า ในเวลาการขึ้นผสมพันธุ์
  2. ขนาดของอัณฑะ รูปร่าง เป็นอย่างไร ขนาดของอัณฑะจะมีความสำคัญต่อการสร้างน้ำเชื้อ เลือกขนาดที่มีอัณฑะใหญ่ และทั้งสองข้างของอัณฑะให้มีขนาดใกล้เคียงกันแต่ส่วนมากข้างซ้ายจะใหญ่กว่าข้างขวาเล็กน้อย
  3. ความแข็งแรงของสันหลัง เลือกที่หลังตรงหรือโค้งเล็กน้อย(โค้งงอ)
  4. ความยาวของลำตัว ลำตัวสั้นจะขึ้นขี่เพศเมียยากจะเสียเปรียบตัวที่มีลำตัวยาว
  5. หัวนมบอดหรือหัวนมกลับ เพราะจะมีส่วนสำคัญต่อเพศเมียที่ใช้น้ำนมในการเลี้ยงลูกสำหรับที่นำลูกมาทำพันธุ์ เพราะลักษณะนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ ลักษณะนี้เป็นลักษณะย่อยที่ประกอบเข้ามา
การคัดทิ้งพ่อพันธุ์ (Culling Boars) ลักษณะของพ่อพันธุ์ที่เฉื่อยต่อการผสมพันธุ์จำเป็นต้องคัดทิ้งถึงลักษณะจะดี การใช้งานพ่อสุกรไม่คำนึงถึงอายุตราบใดที่พ่อสุกรนั้นยังสามารถใช้ในการสืบพันธุ์ได้อยู่
สาเหตุที่ถูกคัดทิ้ง เช่น
  • พ่อพันธุ์ไม่มีลักษณะตามมาตรฐานที่ เรากำหนดไว้ เช่นรูปร่างดี แต่สร้างน้ำเชื้อคุณภาพไม่ดี สร้างตัวอสุจิน้อยเกินไป หรือมีตัวอสุจิไม่สมประกอบมากเกินไป
  • พ่อพันธุ์มีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว ดุร้าย อาจเป็นอันตรายต่อคนเลี้ยงได้
  • พ่อพันธุ์มีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้แม่สุกรสาวรับน้ำหนักไม่ได้ตอนผสมพันธุ์ แต่ลักษณะนี้อนุโลมได้ในการรีดน้ำเชื้อผสมเทียม
  • พ่อพันธุ์อาจเป็นหมัน อาจจะได้รับเชื้อโรคขณะผสมพันธุ์แล้วทำให้เป็นหมัน
  • พ่อสุกรเป็นโรคหรือพาหะของการเกิดโรค โดนเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ เช่น โรคแท้งลูก
  • สุกรไม่แสดงถึงลักษณะความเป็นเพศผู้ หรือระบบสืบพันธุ์เพศผู้พัฒนาช้าจึงมีการแสดงออกมาช้า
การคัดเลือกสุกรสาวทดแทน การเข้มงวดในการคัดเลือกนั้นจะมีน้อยกว่าการคัดเลือกพ่อพันธุ์ ความก้าวหน้าในการปรับปรุงสุกรเพศเมียมีน้อยกว่าสุกรเพศผู้ การคัดเลือกสุกรสาวต้องอาศัยลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความสามารถในการสืบพันธุ์ในเพศเมีย และลักษณะที่ประกอบในการคัดเลือก คือ
  1. ลักษณะของเต้านม ควรมีไม่น้อยกว่า 6 คู่ และขนาดควรมีความสม่ำเสมอ ไม่ควรมีหัวนมกลับหรือหัวนมบอด ทั้งนี้เพราะไม่สามารถให้น้ำนมได้ จำนวนเต้ามีความสำคัญต่อการสืบพันธุ์และการเลี้ยงลูก จำนวนและลักษณะของเต้าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หัวนมจะต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป เต้านมจะสร้างน้ำนมไม่เท่ากัน โดยที่ด้านหน้าจะสร้างน้ำนมได้ดีกว่าเต้านมที่อยู่ด้านหลัง
  2. ความยาวลำตัวของแม่สุกรสาว ถ้ามีความยาวมากเต้านมจะมีพื้นที่ในการพัฒนามากขึ้น
  3. ความแข็งแรงของขาและข้อเท้า เนื่องจากมีช่วงชีวิตที่ยาวนานกว่าสุกรขุน และในช่วงอุ้มท้องแม่สุกรจะมีน้ำหนักมากขึ้นโดยเฉพาะเท้าหลัง แม่สุกรจะเพิ่มน้ำหนัก 15 - 20 กิโลกรัม สำหรับช่วงตั้งท้องทำให้ขาต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ถ้าช่วงขาอ่อนอาจจะทำให้ช่วงท้องและเต้านมสัมผัสกับพื้นทำให้เป็นแผลและได้ รับไข่พยาธิจากพื้นอาจทำให้ลูกสุกรได้รับพยาธิด้วย
  4. ลักษณะหลังตรงแข็งแรง หรือหลังโค้งเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยป้องกันเต้านมและช่วงท้องสัมผัสพื้น ถ้าหลังไม่แข็งแรงจะทำให้มีปัญหาตอนพ่อพันธุ์ขึ้นทับเพื่อผสมพันธุ์
การคัดทิ้งสุกรสาวและแม่สุกร(Culling Gilts And Sows)
  • สุกรสาวที่จะใช้เป็นแม่พันธุ์จะถูกคัดทิ้งตั้งแต่ก่อนให้ลูก 10 - 12 % เพราะไม่แสดงอาการเป็นสัด หรือผสมไม่ติด(ควรผสม 2 ครั้งของการเป็นสัด)
  • การคัดทิ้งของของแม่สุกรที่ให้ลูกแล้วมีประมาณ 15 % เนื่องจากไม่สามารถจะรับการผสมพันธุ์ใหม่ได้ เช่น ช่องคลอดเล็กเกินไปคลอดยาก ให้ลูกคอกเล็ก มดลูกอักเสบรักษาไม่หาย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้า
  • การให้ลูกคอกที่ 3 - 5 จะให้ลูกได้ดีที่สุดเพราะร่างกายแม่สุกรเจริญเติบโตเต็มที่ การพิจารณาจะคัดทิ้งหรือไม่จะพิจารณาคอกต่อสุกร แม่สุกรให้ลูกสุกร 4 คอก แล้วถ้าให้ลูกไม่ดีก็ควรคัดทิ้ง เพราะเริ่มที่จะมีอายุมาก
  • ขนาดและคุณภาพของลูกสุกรเมื่อหย่านมจะนำมาวัดว่าควรที่จะนำแม่สุกรเป็นพันธุ์ต่อไปหรือไม่
  • สิ่งที่จะพิจารณาอีกก็คือ ขนาดคอกแรกเกิด น้ำหนักตัวแรกเกิด ขนาดของคอกเมื่อหย่านม น้ำหนักตัวเมื่อหย่านม ลูกสุกรในสัปดาห์ที่ 3 จะเหมาะในการนำมาพิจารณาด้วย เพราะช่วง สัปดาห์ที่2 แม่สุกรจะให้น้ำนมมากที่สุดแล้วจะเริ่มลดลงเมื่อสัปดาห์ที่3 ความสามารถในการให้นมของแม่สุกรจะวัดถึงความเป็นแม่สุกรที่ดี แม่สุกรจะให้ปริมาณน้ำนม 8 - 9 กิโลกรัม ต่อวัน สำหรับพันธุ์ที่ให้น้ำนมดี แต่ทั่วไปมักจะมี 6 - 7 กิโลกรัม ต่อวัน สำหรับการหย่านมแล้วมาเป็นสัดใหม่สุกรนางจะใช้เวลาสั้นกว่าสุกรสาว

0 comments:

Post a Comment