Tuesday, June 4, 2013

ความต้องการพื้นฐานของการเริ่มต้นเลี้ยงสุกร

ความต้องการพื้นฐานของการเริ่มต้นเลี้ยงสุกร

อาหาร (Foods) สุกรฝูงปิดมีความต้องการอาหาร 1.5 กิโลกรัม/ตัว/วัน เป็นค่าเฉลี่ยของสุกรทั้งฝูง การตั้งฟาร์มควรตั้งใกล้แหล่งที่ใกล้วัตถุดิบอาหารสัตว์ ใกล้แหล่งตลาดรับซื้อสัตว์
น้ำ (Water) แหล่งของน้ำที่ดีต้องสะอาด ความต้องการน้ำในสุกรจะแตกต่างกัน สุกรที่โตเต็มวัยต้องการมาก น้ำมีอิทธิพลต่อสุกรมากในช่วงให้นมถ้าสุกรให้นมมากความต้องการน้ำจะเพิ่ม ขึ้น และสุกรก็ต้องใช้น้ำในการขับถ่ายด้วย
การคมนาคมและการตลาด (Transportation & Marketiong ) การคมนาคมขนส่งทำให้สุกรเสีย น้ำหนักตัวระหว่างการขนส่งเพราะอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างเคลียดและไม่ได้กิน อาหารจึงทำให้นำอาหารที่สะสมอยู่มาใช้
ทำเลที่ตั้ง(Location) แผนผังที่อยู่ในฟาร์มควรตั้งให้อยู่ไกลที่ชุมชน และต้องมองว่าต่อไปจะมีคนไปอยู่ดูแล การวางผังฟาร์มก็ควรคำนึงถึงสิ่งที่ก่อตั้งต่าง ๆ ภายใน เช่น โรงเรือน บ่อน้ำเสีย เพื่อให้ระบบระบายอากาศสะอาด
โรงเรือนและอุปกรณ์ (Hosting & Equion) ภายในโรงเรือนควรจัดให้เหมาะสมว่าสุกรประเภทใด จะจัดพื้นที่ให้เท่าไร สุกรแต่ละรุ่นต้องการพื้นที่ต่างกัน เช่น ซองสุกรขนาด 2 * 2 สามารถนำมาดัดแปลงเป็นซองคลอดได้ ซองอุ้มท้องกว้าง 60 ซม. ยาว 2 ม. พื้นที่สุกรเฉลี่ยประมาณ 1 ตารางเมตร/ตัว แต่ละซองจะต้องมีทางระบายของเสียเชื่อมระหว่างโรงเรือนซองคลอดควรอยู่ใกล้ซองอนุบาล โรงเรือนสุกรขุนควรอยู่ใกล้ประตูเข้า - ออก ที่พักอาศัยของเจ้าของและคนงานในฟาร์ม ที่อยู่ของคนงานควรอยู่ใกล้กับโรงเรือน
ผู้เลี้ยงสุกร ควรมีลักษณะดังนี้
1)เป็นคนรักสัตว์
2)มีความสามารถและตั้งใจที่จะเรียนรู้การเลี้ยงสุกร
3) ควรเป็นคนที่ซื่อสัตว์(รายงานผลเกี่ยวกับฟาร์มตามจริง)
4) เป็นคนขยัน เพราะการเลี้ยงสัตว์จะมีงานให้ทำต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
5) ผู้เลี้ยงสุกรที่ดีควรเป็นคนที่มองการไกลบ้าง
6 )มีลักษณะที่ตรงต่อเวลาและต้องการผู้ดูแลตลอดเวลาสำหรับพ่อแม่พันธุ์
7) ผู้เลี้ยงจะต้องเป็นคนประหยัด
8) ผู้เลี้ยงจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของการเลี้ยงสุกรได้
9) มีความเมตตาต่อสัตว์ มีความรู้ที่จะปฏิบัติต่อสัตว์เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด
การศึกษาความเป็นไปได้ของการเริ่มต้นการเลี้ยงสุกร(Feasibility Study)จำเป็นต้องมีข้อมูลในการศึกษา
1.ข้อมูลด้านการผลิตสุกร
1.1ขนาดของคอกแรกเกิด(Litter Size At Birth) สุกรนาง(Sow) ให้ลูกประมาณ 10 ตัว และสุกรสาว(Gilt) ให้ลูกประมาณ 9 ตัว
1.2 อัตราตายแรกเกิด(Stillborn Pigs) 6 %
1.3 อัตราการตาย (Mortallity) ก่อนหย่านม 10 %, หลังหย่านม 4 % และสุกรสาว สุกรนาง และพ่อสุกร 5 %
1.4 อัตราการคัดทิ้ง สุกรสาวทดแทน 10 - 15 %, สุกรนางทุก ๆ ครั้งของการให้ลูก 15 - 20 % และพ่อสุกรทุก ๆ ปี 30 %
1.5 อายุเมื่อหย่านม 28 - 35 วัน
1.6 ช่วงหลังหย่านมจนถึงการผสมติด 20 - 26 วัน
1.7 ช่วงการให้ลูกแต่ละครั้ง 162 วัน
1.8 ระยะเวลาท้อง 114 วัน
1.9 อัตราการผสมติด 80 %
1.10 ดัชนีการให้ลูก 2.08 - 2.25 (ขึ้นอยู่กับว่าแม่สุกรให้ลูกได้กี่ครั้ง)
1.11 ช่วงชีวิตการให้ลูกของแม่สุกร 4 - 5 ครั้ง
1.12 สัดส่วน พ่อสุกร : แม่สุกร 1 : 20 - 30
2.อัตราการกินอาหารคำนวณได้จาก
2.1 การกินอาหารของสุกรแต่ละตัวตามอายุของสุกรดังนี้
อายุ (เดือน)
ปริมาณที่กินต่อวัน(ก.ก.)
น้ำหนักตัวสุกร(ก.ก.)
1
0.20
6.5
2
0.50
18
3
0.85
35
4
1.30
55
5
1.80
75
6
2.30
90
7
2.80
110
สุกรพ่อแม่พันธุ์และสุกรสาวทดแทนกินอาหารวันละ 3 กิโลกรัม 2.1คำนวณจากจำนวนสุกรทั้งหมดภายในฟาร์มฝูงปิดโดยคิดเฉลี่ยสุกรทุกตัวในฟาร์ม ทั้งลูกสุกร สุกรเลิก ถึงที่ส่งตลาด สุกรพ่อแม่พันธุ์กินอาหารวันละ 1.5 กก. (น.น.สุกรขนส่งตลาด 90 กก. )ในกรณีที่สุกรขนส่งตลาดน้ำหนักตัวต่ำกว่า 90 กก. ปริมาณอาหารของสุกรทุกตัวภายในฟาร์มจะต่ำหว่าวันละ 1.5 กก.(ใช้ได้เมื่อการผลิตสุกรสม่ำเสมอ)
3.แรงงาน คำนวณได้ขึ้นอยู่กับสภาพของท้องถิ่นต่าง ๆ และขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม(เป็นเกษตรกรรม,โรงงาน) รายได้ของแต่ละท้องที่ไม่เท่ากัน
4. ค่าน้ำ ค่าเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า เปลี่ยนแปลงไปตามท้องถิ่นหรือชุมชน
5. ค่ายาและเวชภัณฑ์ ประมาณ 5 - 6 % ของต้นทุนค่าอาหาร
6.ค่าโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ ประมาณ 1 หน่วย ต่อต้นทุนการผลิตต่อตัว 7. ค่าเบ็ดเตล็ด ประมาณ 10 %ของต้นทุนทั้งหมด

0 comments:

Post a Comment