Wednesday, June 5, 2013

การบันทึกข้อมูล(Record Keeping)

การบันทึกข้อมูล(Record Keeping)

http://scoop.mthai.com/wp-content/uploads/2009/04/02062_002.jpg
หัวหน้างานจะเป็นผู้ที่อ่านผลและแปรผล ประสิทธิภาพงานฟาร์มจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจดบันทึกข้อมูล ซึ่งในแต่ละฟาร์มจะมีการเก็บข้อมูลต่างกัน ได้แก่
1) บันทึกจำนวนปศุสัตว์
  • บ่งบอกว่ามีสุกรมากน้อยขนาดไหน
  • มีการแยกแยะขนาดของสุกรด้วย เช่น มีแม่พันธุ์ที่อุ้มท้องอยู่กี่ตัว,มีแม่พันธุ์ที่รอผสมอยู่กี่ตัว ,มีพ่อสุกรหนุ่มอยู่กี่ตัว ฯลฯ
  • มักจะทำเป็นรายเดือน
  • มีการจดบันทึกว่ามีสุกรเพิ่มเท่าไร ,ตายเท่าไร
  • สามารถคาดการณ์การเตรียมล่วงหน้าได้ เช่น เดือนนี้มีสุกรมีสุกรเล็ก x ตัวต่อไปควรจะได้ x ตัว
2) บันทึกการผสมพันธุ์,การคลอด,การหย่านม
  • เป็นการจดบันทึกประจำวันแล้วสรุปเป็นรอบเดือน
  • บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะต้องทำต่อไปว่าควรจะเตรียมการอย่างไร เช่นอัตราการคลอดของเดือนนี้ก็คืออัตราการผสมติดของ 3 เดือนที่ผ่านมา(อัตราการคลอดจะน้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราการผสมติด)จึงจำต้องดูข้อมูลจาก 3 เดือนที่ผ่านมาด้วย
  • แม่สุกรที่มีการแท้งลูกก็ต้องนำข้อมูลใส่บันทึกลงไปด้วย
3) บันทึกเกี่ยวกับสมรรถภาพของลูกสุกรภายในคอกนั้น ๆ (เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกสุกร)
  • ต้องมีการบันทึกว่ามาจากพ่อ - แม่ พันธุ์ตัวไหน
  • บันทึกว่ามีลูกสุกรเกิดมากี่ตัวในคลอกนั้น ๆ
  • บันทึกว่าเกิดวันไหน
  • บันทึกว่า มีเพศผู้ - เมีย กี่ตัว
  • บันทึกน้ำหนักแรกเกิด และ หย่านม
  • บันทึกการย้ายลูกสุกรไปอีกคอกหนึ่ง
  • บันทึกอัตราการตายแรกคลอดเท่าไร(มีมัมมี่กี่ตัว)
4) บันทึกเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสุกร
  • ใช้กับแม่สุกรตัวที่บันทึกตัวเดียว(บันทึกประจำตัว)
  • เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ทั้งหมด(อาจมีบันทึกพิเศษเพิ่มก็ได้)
  • บันทึกว่าเบอร์อะไร,มาจากพ่อแม่เบอร์ไหน,เป็นพันธุ์ผสมหรือ พันธุ์แท้,วันที่เกิด,วันที่ทำการผสมพันธุ์,ผสมกับพ่อพันธุ์ตัวไหน,กำหนด คลอด,วันคลอดจริง,จำนวนลูกที่เกิดมาตอนคลอด,ตายกี่ตัว,มีชีวิตกี่ตัว, จำนวนลูกตอนที่หย่านม
  • บันทึกการให้ยา,ให้วัคซีน
5) บันทึกเกี่ยวกับพ่อพันธุ์สุกร
  • เกี่ยวข้องกับพ่อพันธุ์เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกพ่อพันธุ์
  • บันทึกวันที่เกิด,เบอร์พ่อแม่,ลักษณะผิดปกติของลูกสุกรและจำนวนลูกสุกรที่ใช้พ่อพันธุ์ตัวนั้นผสม
  • อัตราการผสมติด(สังเกตที่แม่สุกร)
  • ผลที่เกิดจากการบันทึกจะไปวัดที่ลูกสุกร
  • บันทึกการใช้งานของพ่อสุกร,บันทึกข้อมูลประจำตัว,ให้ยาเมื่อไร
6) บันทึกอัตราการตาย
  • ระบุสาเหตุการตายแล้วนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง
  • ระบุว่าเป็นสุกรที่อยู่ในช่วงใดเป็นสุกรเล็ก,สุกรรุ่น,หรืออื่น ๆ
  • บันทึกเป็นรายวัน,สัปดาห์,เดือน
7) บันทึกเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่กิน
  • บันทึกปริมาณอาหารที่ใช้ไปของแต่ละคอก
  • บันทึกเป็นลักษณะรวม ๆ เป็นคอก ๆ ไปว่าสัปดาห์หนึ่งสุกรคอกนี้ใช้อาหารไปเท่าไร
  • ใช้ประเมินประสิทธิภาพการกินอาหาร
8) บันทึกรายรับ - รายจ่าย ของฟาร์ม
  • ทำบันทึกเป็นรายวันแล้วสรุปเป็นรายเดือน
  • แต่ละที่จะทำการบันทึกแตกต่างกันไป

0 comments:

Post a Comment