Wednesday, June 5, 2013

การฆ่าและตัดแต่งซากสุกร

การฆ่าสุกร
ก่อนการฆ่าต้องมีการเตรียมตัวสัตว์ สุกรควรมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรค ผ่านการสุขาภิบาลที่ดี
การเตรียมสัตว์
  • สุกรต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรค
  • สัตว์ที่จะนำมาฆ่าไม่ควรทำให้ตกใจหรือกดดันเพราะเลือดจะไปคั่งตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้เป็นแหล่งของจุลินทรีย์การเก็บรักษาจะเก็บได้ระยะเวลาที่สั้นลง
  • ให้สุกรอดอาหารไม่น้อยกว่า 1 วัน(ทำให้สุกรมีการย่อยอาหารได้หมด)แต่ต้องให้น้ำตลอด
  • หลีกเลี่ยงการให้สุกรอยู่กันอย่างหนาแน่นในระหว่างการขนส่ง
  • ชั่งน้ำหนักสุกรขณะมีชีวิตก่อนทำการฆ่า
ขั้นตอนการฆ่า
1. ทำให้สุกรสลบ (Stunning)
  • ใช้เครื่องมือกล เช่น ใช้ปืนยิง(Captive Blot Stunner)โดยยิงที่หน้าผาก
  • ใช้วิธีทางเคมี ให้สุกรสูดก๊าซ Co2
  • แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือการใช้ไฟฟ้า โดยใช้เครื่องช็อตไฟฟ้า (250 - 500 MA ) ความดันของกระแสไฟฟ้า 70 - 85 Volt ใช้เวลา 1 - 4 นาทีในการช็อต ช็อตที่บริเวณโคนหลังหู
2) การเอาเลือดออก(Bleeding) ทำทันทีที่สุกรสลบไปแล้ว
  • ผูกขาสุกรด้วยโซ่แล้วดึงขึ้นให้สุกรห้อยหัวลงมาสูงจากพื้น 1 เมตร
  • ใช้มีดปลายแหลมยาวประมาณ 6 - 7 นิ้ว(ใช้มือที่ไม่ถนัดจับบริเวณไหล่สุกร)
  • ใช้มีดแทงบริเวณใต้คางอย่างรวดเร็ว โดยแทงเฉียงปลายมีดไปทางโคนหาง
  • ดันมีดเข้าไปให้ถึงแนวกระดูกสันหลัง บิดปลายมีดเล็กน้อยเพื่อให้ปลายมีดไปติดกับเส้นเลือดดำใหญ่ (Jugular Vein) และตัดเส้นเลือดแดง (Carotid Artery)
  • ปล่อยให้เลือดไหลออกมามากที่สุด (ออกได้ประมาณ 50 % ของปริมาณเลือด)
3) การลวกน้ำร้อน(Scalding)
  • หย่อนสุกรลงไปในถัง
  • อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ลวก ประมาณ 60 - 65 องสาเซลเซียส
  • แช่ซากสุกรนาน 2 - 4 นาที
  • ทดสอบการขูดขนดูว่าแช่นานพอหรือยัง
  • ในระหว่างการแช่ควรให้ซากสุกรเคลื่อนไปมา เพื่อให้น้ำร้อนแทรกเข้าไปในรูขุมขนได้มากขึ้น
  • อย่าแช่นานเกินเพราะจะทำให้โปรตีนแข็งตัวขึ้นขนจะยึดติดกับผิวหนังทำให้ถอนออกยาก
4) การถอนขนและการขูดขนออก(Dehairing)
  • ดึงสุกรขึ้นมาจากถังลวกน้ำร้อน แล้วนำมาหย่อนลงในเครื่องขูดขน
  • อาจจะตรวจดูอีกรอบเพราะเครื่องไม่สามารถขูดขนตามซอกต่าง ๆ ออกได้หมด
5) เลาะเอากีบเท้าทั้ง 4 ออก แล้วใช้มีดขูดขนตามซอกต่าง ๆ
6) การเปิดเอ็นขาหลัง(เอ็นร้อยหวาย)
  • ใช้มีดกรีดบริเวณท้องแข้งของขาหลัง และสอดเหล็กเข้าไปในในท้องของแข็งขาหลัง
  • ดึงซากสุกรให้อยู่เหนือพื้นใช้น้ำฉีดทำความสะอาด
7) การตัดแยกเอาหัวออก ใช้มีดเลาะกระดูกแทงเข้าไปบริเวณท้ายทอยตรงรอยต่อของกระโหลกศรีษะกับกระดูกคอ
8) ใช้มีดเลาะบริเวณช่องขับถ่าย ใช้ฉีดทำความสะอาดก่อนผ่าซาก
9) ผ่าท้องเป็นแนวยาวจนถึงอก ดึงเอาเครื่องในโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารออกมาก่อน แล้วจึงดึงเครื่องในส่วนระบบหายใจออกมา อาจมีการเช็คเครื่องในและวินิจฉัยซาก
10) ผ่าซากออกเป็น 2 ซีก (ซ้าย - ขวา )โดยใช้เลื่อย
11) นำไปแช่ในห้องเย็น 4 องศาเซลเซียส นาน 24 ชม.แล้วนำไปชั่ง จะได้เป็น %ซาก(ซากเย็น) = (น้ำหนัก ซากเย็น / น้ำหนัก เมื่อมีชีวิต)*100 แต่ถ้าชั่งหลังจากผ่าซากแล้วโดยยังไม่นำเข้าห้องเย็นจะได้ เป็น% ซาก(ซากอุ่น)
การตัดแต่งซาก ใช้ตรวจสอบคุณภาพซากได้ เช่นวัดความหนาของไขมันสันหลังได้
การตัดแต่งซากที่นิยมมีอยู่ 2 แบบ
1) การตัดแต่งซากแบบไทย เแยกเป็นเนื้อแดง,ไขมัน ,เนื้อ 3 ชั้น ,กระดูกซี่โครง
2) การตัดแต่งซากแบบยุโรป & อเมริกา
2.1 ตัดชิ้นใหญ่ ๆ (Whole Sale Cut ) จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน
  • ขาหลัง , (Ham) ได้แก่ส่วนสะโพก
  • สัน (Loin) ที่อยู่ต่ำกว่ากระดูกสันหลัง
  • ไหล่ (Boston Shoulder )
  • สามชั้น (Belly) ท้อง
  • ขาหน้า (Picnic Shoulder)
ซึ่ง ขาหลัง,สันและไหล่จะมีราคาแพง ต่างจากสามชั้นและขาหน้าที่มีราคาถูกมาก
2.2 ชิ้นเล็ก ๆ (Retail Cut )

การบันทึกข้อมูล(Record Keeping)

การบันทึกข้อมูล(Record Keeping)

http://scoop.mthai.com/wp-content/uploads/2009/04/02062_002.jpg
หัวหน้างานจะเป็นผู้ที่อ่านผลและแปรผล ประสิทธิภาพงานฟาร์มจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจดบันทึกข้อมูล ซึ่งในแต่ละฟาร์มจะมีการเก็บข้อมูลต่างกัน ได้แก่
1) บันทึกจำนวนปศุสัตว์
  • บ่งบอกว่ามีสุกรมากน้อยขนาดไหน
  • มีการแยกแยะขนาดของสุกรด้วย เช่น มีแม่พันธุ์ที่อุ้มท้องอยู่กี่ตัว,มีแม่พันธุ์ที่รอผสมอยู่กี่ตัว ,มีพ่อสุกรหนุ่มอยู่กี่ตัว ฯลฯ
  • มักจะทำเป็นรายเดือน
  • มีการจดบันทึกว่ามีสุกรเพิ่มเท่าไร ,ตายเท่าไร
  • สามารถคาดการณ์การเตรียมล่วงหน้าได้ เช่น เดือนนี้มีสุกรมีสุกรเล็ก x ตัวต่อไปควรจะได้ x ตัว
2) บันทึกการผสมพันธุ์,การคลอด,การหย่านม
  • เป็นการจดบันทึกประจำวันแล้วสรุปเป็นรอบเดือน
  • บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะต้องทำต่อไปว่าควรจะเตรียมการอย่างไร เช่นอัตราการคลอดของเดือนนี้ก็คืออัตราการผสมติดของ 3 เดือนที่ผ่านมา(อัตราการคลอดจะน้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราการผสมติด)จึงจำต้องดูข้อมูลจาก 3 เดือนที่ผ่านมาด้วย
  • แม่สุกรที่มีการแท้งลูกก็ต้องนำข้อมูลใส่บันทึกลงไปด้วย
3) บันทึกเกี่ยวกับสมรรถภาพของลูกสุกรภายในคอกนั้น ๆ (เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกสุกร)
  • ต้องมีการบันทึกว่ามาจากพ่อ - แม่ พันธุ์ตัวไหน
  • บันทึกว่ามีลูกสุกรเกิดมากี่ตัวในคลอกนั้น ๆ
  • บันทึกว่าเกิดวันไหน
  • บันทึกว่า มีเพศผู้ - เมีย กี่ตัว
  • บันทึกน้ำหนักแรกเกิด และ หย่านม
  • บันทึกการย้ายลูกสุกรไปอีกคอกหนึ่ง
  • บันทึกอัตราการตายแรกคลอดเท่าไร(มีมัมมี่กี่ตัว)
4) บันทึกเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสุกร
  • ใช้กับแม่สุกรตัวที่บันทึกตัวเดียว(บันทึกประจำตัว)
  • เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ทั้งหมด(อาจมีบันทึกพิเศษเพิ่มก็ได้)
  • บันทึกว่าเบอร์อะไร,มาจากพ่อแม่เบอร์ไหน,เป็นพันธุ์ผสมหรือ พันธุ์แท้,วันที่เกิด,วันที่ทำการผสมพันธุ์,ผสมกับพ่อพันธุ์ตัวไหน,กำหนด คลอด,วันคลอดจริง,จำนวนลูกที่เกิดมาตอนคลอด,ตายกี่ตัว,มีชีวิตกี่ตัว, จำนวนลูกตอนที่หย่านม
  • บันทึกการให้ยา,ให้วัคซีน
5) บันทึกเกี่ยวกับพ่อพันธุ์สุกร
  • เกี่ยวข้องกับพ่อพันธุ์เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกพ่อพันธุ์
  • บันทึกวันที่เกิด,เบอร์พ่อแม่,ลักษณะผิดปกติของลูกสุกรและจำนวนลูกสุกรที่ใช้พ่อพันธุ์ตัวนั้นผสม
  • อัตราการผสมติด(สังเกตที่แม่สุกร)
  • ผลที่เกิดจากการบันทึกจะไปวัดที่ลูกสุกร
  • บันทึกการใช้งานของพ่อสุกร,บันทึกข้อมูลประจำตัว,ให้ยาเมื่อไร
6) บันทึกอัตราการตาย
  • ระบุสาเหตุการตายแล้วนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง
  • ระบุว่าเป็นสุกรที่อยู่ในช่วงใดเป็นสุกรเล็ก,สุกรรุ่น,หรืออื่น ๆ
  • บันทึกเป็นรายวัน,สัปดาห์,เดือน
7) บันทึกเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่กิน
  • บันทึกปริมาณอาหารที่ใช้ไปของแต่ละคอก
  • บันทึกเป็นลักษณะรวม ๆ เป็นคอก ๆ ไปว่าสัปดาห์หนึ่งสุกรคอกนี้ใช้อาหารไปเท่าไร
  • ใช้ประเมินประสิทธิภาพการกินอาหาร
8) บันทึกรายรับ - รายจ่าย ของฟาร์ม
  • ทำบันทึกเป็นรายวันแล้วสรุปเป็นรายเดือน
  • แต่ละที่จะทำการบันทึกแตกต่างกันไป

การจัดการฟาร์มทั่วๆไป

การจัดการฟาร์มทั่วๆไป
การจัดการเลี้ยงดูสุกรจะเป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก เพื่อต้องการผลิตลูกสุกร
1) การจัดการพ่อสุกร (Boar Management)
  • เมื่อสุกรที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ อายุ 5 เดือน ต้องแยกออกมาเลี้ยงต่างหากเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต,ควบคุมน้ำหนัก
  • ฝึกให้สุกรที่แยกออกมาได้เห็นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุกรตัวอื่น ๆ
  • อายุ 8 เดือน เริ่มใช้งานพ่อสุกรได้ (ต้องใช้ให้เหมาะสม)
  • อายุ 8 เดือน - 1ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 1- 2ครั้ง
  • อายุ มากกว่า 1 ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 3- 5ครั้ง
  • ไม่ควรให้สุกรทำงานหนักเกินไป
  • อายุการใช้งานของพ่อสุกร มีประมาณ 2ปี ครึ่ง
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 15 ตัว (แบบผสมจริง)
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 60-100 ตัว (แบบผสมเทียม)
  • ต้องมีการตรวจเช็คน้ำเชื้อพ่อสุกรเป็นระยะเพื่อดูปริมาณความ เข้มข้นของตัวอสุจิว่ามีเท่าไร,ดูตัวเป็นตัวตายของตัวอสุจิ,ดูการพัฒนาของ ตัวอสุจิ,ดูความแข็งแรงของตัวอสุจิ
  • เวลาในการผสมพันธุ์ ควรมีอากาศเย็น อาจเป็นช่วงเช้า 6-8 โมง หรือตอนเย็น ตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป
  • การให้อาหารพ่อสุกร ควรให้ในปริมาณ 2 - 2 กิโลครึ่ง/ตัว/วัน
  • ให้วัคซีนกับพ่อสุกรโดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นโรคสำคัญ
การตอนพ่อสุกร เมื่องดการใช้งานแล้ว เพื่อกำจัดกลิ่นของพ่อสุกร และก่อนทำการตอนต้องให้อดอาหาร24 ชั่วโมง ให้กินแต่น้ำ เพื่อที่จะสะดวกในการมัดสุกร,เลือดไหลน้อย
ขั้นตอนการตอนพ่อสุกร
  1. ฉีดยาสลบ(ต้องมัดสุกรก่อนโดยมัดที่ปากก่อนแล้วจึงมัดเท้าทั้ง4เท้า)
  2. ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  3. ใช้มีดกรีดอัณฑะ(กรีดตามแนวยาว)ความยาวของแผลให้เหมาะสมที่จะบีบลูกอัณฑะออกมา
  4. บีบลูกอัณฑะออกมา
  5. ใช้เชือกรัดส่วนที่เป็นท่อนำน้ำเชื้อ(Spermatic Cord) แล้วจึงตัดออกมา
  6. ทำความสะอาดบาดแผล ใส่ทิงเจอร์ โรยด้วยยากันแมลง(ลูกเหม็นบดก็ได้)
  7. เย็บบาดแผล
  8. ฉีดยาปฎิชีวนะให้แก่พ่อสุกรเพื่อป้องกันการอักเสบ
  9. แก้มัดพ่อสุกร
การจัดการสุกรแม่พันธุ์ (ตั้งแต่เริ่ม)
  • สุกรสาวที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์ เมื่ออายุประมาณ 5เดือน น้ำหนักตัว 80-90 กิโลกรัม ให้แยกออกมาเลี้ยงต่างหาก เพื่อที่ต้องทำการควบคุมน้ำหนัก อายุที่จะเริ่มใช้งานต้องไม่ต่ำกว่า 7 เดือน
  • ช่วงใกล้เป็นสัดจะมีการเพิ่มอาหาร(Flushing/การปรนอาหาร)ให้สุกรโดยเฉพาะอาหารที่ให้ค่าพลังงานเพื่อให้มีอัตราการตกไข่มากขึ้น โดยให้เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยให้ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน จากปกติ 2 กิโลกรัม ให้ก่อนเป็นสัด 1-2 สัปดาห์
  • อายุการใช้งานของแม่สุกรนั้น จะให้ลูก 5.5 คลอก/ตัว
  • สำหรับสุกรที่รอผสมพันธุ์ ต้องตรวจเช็คการเป็นสัดทุกวัน(เช้า - เย็น) สุกรที่รอผสมพันธุ์มักเลี้ยงรวมกัน
  • ผสมพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 2 ของการเป็นสัด
  • หลังจากผสมแล้วทำการแยกสุกรไปอยู่ในคอกเดี่ยว ลดอาหารลงให้อยู่ในระดับปกติโดยประมาณ 1.8 - 2.2 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือนของการอุ้มท้อง และเพิ่มอาหาร(Flushing)ในเดือนที่ 3 จนถึงคลอด (เพิ่ม ครึ่ง - 1 กิโลกรัม)
  • หลังจากผสมแล้ว ต้องตรวจเช็คการผสมติด โดยตรวจเมื่อใกล้กำหนดเป็นสัดอีกครั้ง
  • การเข้าซองอุ้มท้องเข้าโดยการเรียงตามลำดับก่อน - หลัง(ผสมก่อนเข้าก่อน)
  • ก่อนครบกำหนดคลอด 1 สัปดาห์ให้ย้ายสุกรไปที่ซองคลอด และให้อาหารเป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น รำ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
การจัดการแม่สุกรระหว่างคลอด
  • ถ้ามีนมน้ำเหลืองไหลแสดงว่าแม่สุกรจะคลอดภายใน 24 ชม.
  • ต้องดูว่าแม่สุกรคลอดปกติหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาต้องทำการช่วยแม่สุกรคลอด
  • ลูกสุกรที่เกิดมา แล้วให้ทำการเช็ดเมือกบริเวณตัว,ปาก,จมูก ด้วยผ้า
  • ผายปอด(บีบช่องอก)หากลูกสุกรทำท่าจะไม่รอด
  • ผูกสายสะดือลูกสุกรด้วยเชือกที่ฆ่าเชื้อแล้ว โดยห่างจากช่องท้อง 2 นิ้ว แล้วตัดสายสะดือออกให้สั้น
  • ตัดเขี้ยวหรือฟันน้ำนมของลูกสุกรทั้ง 8 เขี้ยว โดยตัดให้ขนานกับเหงือกอย่าตัดเฉียง
  • การตัดหาง นั้นจะตัดหรือไม่ตัดก็ได้แต่ถ้าจะตัดต้องตัด 1 ใน 3 ของหาง
  • ทาทิงเจอร์บริเวณที่ตัดสายสะดือและหางที่ตัด
  • ให้ลูกสุกรได้รับความอบอุ่น และรอจะกว่าแม่สุกรจะคลอดเสร็จ
  • ให้ลูกสุกรได้กินนมน้ำเหลือง( Colostrum มีประมาณ 1 - 2วันแรก)ซึ่งในน้ำนมนั้นจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ถ้าไม่ได้กินลูกสุกรอาจอ่อนแอ และตายได้ง่าย
การจัดการแม่สุกรหลังการคลอด
  • การให้อาหารนั้นไม่ต้องให้มาก ค่อย ๆ เพิ่มอาหารให้ทีละนิด
  • สังเกตว่าเต้านมของแม่สุกรนั้นว่าอักเสบหรือไม่อาการของเต้านมอักเสบจะมีลักษณะสีค่อนข้างแดง(ปกติจะสีชมพู) เต้านมจะแข็ง
  • สังเกตว่ามดลูกอักเสบหรือไม่ ถ้าอักเสบจะมีน้ำหนองไหล ต้องล้างมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทำการฉีดยา
  • การดูแลลูกสุกรนั้นต้องตรวจดูว่า มีน้ำนมให้ลูกสุกรพอกินหรือเปล่า ให้ลูกสุกรทุกตัวได้ดูดนม
  • ให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกรโดยการให้ไฟกกและมีวัสดุรองพื้นถ้าอากาศเย็น
  • ในสัปดาห์ที่แรกที่ลูกสุกรเกิด ต้องทำการฉีดธาตุเหล็ก 2 cc.ให้แก่ลูกสุกร เนื่องจากในน้ำนมมีธาตุเหล็กน้อย เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง,ขี้ไหล
  • ให้หมายเลขประจำตัวแก่ลูกสุกร โดยอาจสักที่ใบหู ,ป้ายหนีบที่ใบหู,แต่วิธีที่นิยมคือวิธีตัดใบหู
  • ในสัปดาห์ที่ 2 เริ่มให้อาหารลูกสุกรทีละนิดในรางอาหาร
  • ถ้าลูกสุกรตัวผู้ที่จะไม่นำมาทำพันธุ์แล้วให้ทำการตอนในช่วงสัปดาห์ที่ 2
  • ในช่วงสัปดาห์ ที่ 2 - 3 ให้แม่สุกรกินอาหารเต็มที่ (3 ครั้ง/วัน )และเริ่มลดอาหารก่อนหย่านม 3 -4วันในแม่สุกร
การจัดการสุกรขุน
  • สุกรนั้นอาจได้มาจากฟาร์มที่เราเลี้ยงหรือซื้อมาจากที่อื่นถ้าซื้อมาจากที่อื่นควรดูแหล่งที่ซื้อมาว่ามีโรคระบาดหรือไม่
  • ต้องเตรียมโรงเรือนให้เรียบร้อยก่อนที่สุกรจะมาถึง
  • ทำความสะอาดคอกก่อนนำสุกรเข้าคอก 3 วัน ด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อ
  • เตรียมยาปฎิชีวนะให้พร้อม
  • ถ้านำมาจากข้างนอกต้องแยกคอกหรือนำเข้าคอกพักประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนนำมารวมกับสุกรในฟาร์ม และเมื่อนำเข้าคอกพักยังไม่ต้องให้น้ำทันที รอประมาณ 15 - 20 นาทีให้สุกรพักก่อนแล้วจึงให้น้ำอาจผสมยาปฎิชีวนะด้วยก็ได้
  • ขณะที่สุกรอยู่ในคอกพักถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ทึบ แล้วต้องการจะให้สุกร ถ่ายตรงไหนให้นำมูลสุกรไปวางไว้ตรงนั้นหรือถ้าต้องการให้กินอาหารตรงไหน ก็ให้โรยอาหารลงบนบริเวณนั้น
  • ถ้านำสุกรมาจากที่อื่นต้องถามเจ้าของฟาร์มที่นำสุกรมาว่าให้ยาหรือวัคซีนสุกรบ้างแล้วหรือยัง
    วัคซีนสำหรับสุกรขุนจะเป็นประเภท วัคซีนป้องกันอหิวาห์สุกร,ปากและเท้าเปื่อย(เน้นอหิวาห์สุกรมากกว่า)
  • ต้องคัดสุกรขนาดไล่เรี่ยกันให้อยู่ในคอกเดียวกัน
  • สังเกตว่าสุกรกินอาหารหรือไม่ มีอาการท้องเสียหรือเปล่า
  • ระยะสุกรขุนมีการจำกัดอาหาร 10 - 15% ของอาหารที่กินได้เต็มที่
  • สังเกตมูลไม่ควรเหลว ความกระปี้กระเป่า,ผิวพันธุ์ของสุกร(เป็นมัน,ขนเงา)ปัสสาวะต้องใส
  • ในสุกรขุนอาจมีการใส่สารกระตุ้นเพื่อให้ได้เนื้อแดงมากขึ้นแต่ก็จะมีผลตกค้างในเนื้อสุกร
การทำเครื่องหมาย(Identification)
  1. สักที่ใบหู ยุ่งยาก
  2. ติดเบอร์พลาสติกที่ใบหู มีหมายเลขติดอยู่
  3. ตัดใบหู มีหลายแบบ (มีเบอร์ประจำตัวล้วน ๆ & เบอร์ประจำตัว + เบอร์ประจำคลอก)
  • สุกรพันธุ์มีทั้งเบอร์ประจำตัวและเบอร์ครอก
  • สุกรขุนและสุกรลูกผสมจะมีแต่เบอร์ตัว
  • สุกรที่ใบหูใหญ่ จะแบ่งหูเป็น 3 ส่วน เช่น พันธุ์ Large White
  • การตัดใบหูตัดจากหลักน้อย ๆ ก่อน เวลาอ่านอ่านหลักมาก ๆ ก่อน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรที่ใบหูเล็ก จะแบ่งหูเป็น 2 ส่วน เช่น Duroc แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรลูกผสมและสุกรขุน แบ่งหูออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง

Tuesday, June 4, 2013

ระบบการให้อาหารสุกร(Feeding System)

ระบบการให้อาหารสุกร(Feeding System)
1) การให้อาหารแห้ง-ให้อาหารเปียก (Dry&wet Feeding)
อาหารแห้ง นิยมให้มากกว่าอาหารเปียก เพราะเก็บไว้ได้นานและสุกรกินได้มาก
อาหารเปียก
  • ข้อเสีย คือชื้นและเสียได้ง่าย เก็บไว้ได้ไม่นาน
  • ข้อดีคือ ทำให้สัตว์ย่อยได้ดีขึ้น ลดการฟ่ามของอาหาร ใช้กันมากในผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
2) การให้อาหารใส่ในราง หรือพื้น (Floor & Trough Feeding )
2.1การให้ในรางอาหาร นิยมกันมากกว่าการให้ที่พื้น
  • ข้อเสีย คือต้องให้เพียงพอกับความต้องการของสุกรถ้าให้น้อยสุกรจะแย่งกันกินอาหาร
  • ข้อดีคือ ไม่สูญเสียอาหารเกินที่จำเป็น
2.2 การให้ที่พื้น
  • ข้อดี สุกรกินได้อย่างทั่วถึง สุกรไม่แย่งกันกินอาหาร
  • ข้อเสีย พื้นต้องเป็นพื้นทึบ ทำให้อาหารกระจัดกระจาย อาหารปนเปื้อนกับปัสสาวะและอุจจาระของสัตว์
3) การให้อาหารแบบกินเต็มที่หรือแบบจำกัด (Restricked & Full Feeding)(Ad Libitum)
  • ให้ตามช่วงระยะเวลาตามความต้องการของผู้เลี้ยงว่าจะจำกัดการให้เป็นเท่าใด ทำให้สุกรโตอย่างเต็มที่ โตได้เร็ว
  • ให้ตามความต้องการของสุกร ทำให้อัตราการไหลผ่านของอาหารเร็วขึ้น ย่อยได้ไม่ดี และการย่อยไม่สมบูรณ์
  • ควรจำกัดอาหาร 10-20% สุกรจะกินอาหารได้ 80-90% สุกรมีความสามารถในการย่อยได้ดีที่สุด,FCR ต่ำ และมีประสิทธิภาพในการใช้อาหารได้ดีที่สุด
  • จะเริ่มจำกัดอาหารเพื่อให้สุกรสะสมไขมันน้อย สำหรับสุกรขุน
  • ถ้าเป็นสุกรให้ลูกจะให้กินเต็มที่ เพราะแม่สุกรจะสูญเสียน้ำหนักตัวจากการคลอด
  • สุกรที่เป็นพ่อพันธ์และแม่พันธุ์ จะจำกัดอาหาร
4) การให้อาหารแบบกลุ่มหรือแยกเดี่ยว(Group & Individual Feeding )
  • สุกรแม่พันธุ์ให้เดี่ยว
  • แม่พันธุ์ตั้งแต่ลูกหย่านมจนถึงผสมใหม่ ให้แบบเป็นกลุ่ม
  • การให้แบบเป็นกลุ่ม นิยมให้กับสุกรเล็ก,สุกรขุน สุกรที่นำมาเลี้ยง ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน จะกี่ตัวก็ได้แล้วแต่ขนาดของคอก
  • การให้แบบแยกเดี่ยว เมื่อต้องการทดสอบสมรรถภาพของสุกร,ศึกษาข้อมูลสุกรในการคัดเลือกสุกร,งานวิจัยต่าง ๆ

ปัญหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธุ์ (Swine Breeding Problems)

ปัญหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธุ์ (Swine Breeding Problems)
ปัญหาความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของสุกรสาวและสุกรนาง (Reproduetive Failures In Gilts And Sows)
1) สุกรสาวไม่ยอมเป็นสัด สาเหตุ บางสายพันธุ์เป็นสัดช้าบางสายพันธุ์เร็ว เนื่องมาจาก
  • พันธุกรรม บางสายพันธุ์แสดงออกมาช้าบ้างเร็วบ้างบางครั้งก็เป็นสัดเงียบ สุกรที่ไม่เป็นสัดหลังผ่าน 10 เดือน จะมีการคัดทิ้ง ยกเว้นสุกรที่มีลักษณะพิเศษควรให้โอกาสแต่ไม่เกิน 1 ปี
  • สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้สัดแสดงความเป็นสัดไม่เด่นชัด
  • สภาพทางโภชนาการ สุกรสาวที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมทำให้การพัฒนาของร่างกายช้า จะส่งผลไปถึงระบบสืบพันธุ์ เช่นเป็นสัดช้าหรือเสียความสมดุลในการสืบพันธุ์สำหรับถ้าให้อาหารน้อย แต่ถ้าให้อาหารมากเกินไปทำให้อ้วนและเป็นสัดช้า
  • ปัญหาในด้านสังคม เพราะไม่เคยพบปะกับสุกรเพศผู้ หรือการได้ยินหรือได้กลิ่นสุกรเพศผู้ แก้ได้โดยให้สุกรสาวมีการพบปะเพศผู้
2) สุกรนางไม่เป็นสัด สาเหตุ
  • สภาพร่างกายทรุดโทรม เนื่องมาจากช่วงอุ้มท้องและเลี้ยงลูกถูกดูแลไม่ดีโดยเฉพาะช่วงท้องแก่จะต้อง การอาหารมากกว่าปกติ จึงต้องควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมและคุณภาพดี แม่สุกรทรุดโทรมหลังช่วงหย่านม มักจะเป็นบ่อยในสุกรที่ให้ลูกครอกแรก การแก้ปัญหานี้ต้องดูว่าสุกรอ้วนหรือผอมส่วนมากจะให้แม่สุกรอ้วนนิด ๆ ในช่วงอุ้มท้องเพราะจะได้นำมาใช้ในช่วงเลี้ยงลูก และจะให้อาหารเป็นจำนวนมากในช่วงเลี้ยงลูกจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกในทางปฎิบัต ิในการหย่านมจะลดอาหารประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อไม่ให้อาหารไปสร้างน้ำนม แต่หลังจากนั้นจะให้กินอาหารเต็มที่เพื่อพัฒนาร่างกายและการสืบพันธุ์ให้มี สุขภาพดี
  • เกิดการติดเชื้อโรคในมดลูก เป็นมดลูกอักเสบถ้าคลอดแล้วมดลูกจะกลับเข้าสภาวะปกติ แล้วไม่มีหนองไหลออกมา การติดเชื้ออาจมีสาเหตมาจากสุกรอาจคลอดยากทำให้ผู้เลี้ยงต้องทำคลอดโดยการ ใช้ครีมหรือใช้มือช่วยแต่อาจจะเป็นต้นเหตุให้นำเชื้อโรคเข้าไปได้ วิธีการแก้จะต้องสังเกตดู ถ้าช่องคลอดขยายใหญ่ในตอนคลอดจะเป็นเวลาที่เชื้อโรคเข้ายาก ถ้ามีอาการจะมีการฉีดยาปฎิชีวนะเพื่อล้างช่องคลอด ในกรณีที่เป็นมากจะใช้โปรแตสเซียมโครแมงกาเนต
  • ความเครียด(Stress) ส่งผลต่อความเป็นสัด เนื่องมาจากอากาศร้อน อยู่อย่างหนาแน่นเกินไป ได้รับอาหารช้าและน้อยเกินไป จะส่งผลไปยังสมองที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
3) แม่สุกรเป็นสัดแต่ผสมไม่ติด เป็นปัญหาของสุกรแต่ละตัวจะเกิดจากการจัดการและเทคนิคการผสม แก้ไขโดย
  • ตรวจสอบความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกร และเทคนิคการผสมด้วยว่าระยะเวลาเหมาะสม และน้ำเชื้อได้เข้าสู่ระบบสืบพันธุ์เพศเมียหรือไม่
  • การใช้งานพ่อสุกรหนักเกินไปหรือเปล่าจนไม่สามารถที่จะผลิตตัวอสุจิทัน
  • ตรวจสอบที่ตัวแม่สุกรว่าสาเหตุที่ผสมไม่ติดเพราะอะไร เป็นโรคในระบบสืบพันธุ์หรือไม่
  • ดูที่อาหาร ว่ามีสารพิษจากเชื้อราตัวไหนที่ส่งผลให้การผสมพันธุ์ไม่ติด เชื้อราที่พบมากที่สุด Aflatoxin หรือที่เรียก T2 Toxin, Vomitoxin เชื้อรานี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผสมไม่ติด
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ไม่นิยมทำการแก้ไขเพราะทำได้ยาก
  • โรคในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคแท้งติดต่อ
    
ความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของพ่อสุกร ความสามารถในการสืบพันธุ์แตกต่างกัน เนื่องมาจากผลทางพันธุกรรมและความสมบูรณ์พันธุ์อาจมีสาเหตุ เช่น
1) ปัญหาทางพันธุกรรม
  • พ่อสุกรอาจมีความต้องการทางเพศน้อยซึ่งเกิดจากการผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ของพ่อสุกร เช่น อัณฑะเล็กเกินไป หรืออัณฑะไม่ได้รับการพัฒนาไปตามการเจริญเติบโต
  • พ่อสุกรอาจมีอวัยวะเพศ (Penis) สั้นเกินไปหรือเล็กเกินไป แต่จะพองออกไม่ออก จะสังเกตได้จากช่วงผสมพันธ ุ์แต่ก็สังเกตได้อีกก็คือว่าน้ำเชื้ออยู่ปากช่องคลอดของเพศเมีย หรือเลยคอมดลูกไป หรือสังเกตช่วงการรีดน้ำเชื้อ เพศผู้จะมี Penis ยาว 25 - 40 ซ.ม. ในช่วงยืดตัว
  • อาจเนื่องจากไม่มีความสนใจเพศเมียแต่สนใจในเพศเดียวกัน เป็นลักษณะที่ยากต่อการแก้ไข
  • สภาพร่างกายของพ่อสุกร ความแข็งแรงของข้อเท้าหรือกระดูก เมื่อขึ้นผสมพันธุ์แล้วข้อเท้าเจ็บจะทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลง
  • ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกรแต่ละตัว ดูความเข้มข้นของตัวอสุจิ ตัวอสุจิมีความผิดปกติหรือไม่
  • ปริมาณน้ำเชื้อที่พ่อสุกรหลั่งออกมามากน้อยเพียงใด หรือเรียกอีกอย่างว่าการเป็นหมัน
2) การจัดการ อาจเนื่องมาจาก
  • อาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่เท้าและข้อเท้าอาจเกิดจากการได้รับบาดแผล อุบัติเหตุจากการขึ้นผสมพันธุ์(พื้นลื่นอาจทำให้ล้ม)
  • การใช้งานของพ่อสุกร ดูว่ามีการใช้งานถี่หรือหนักเกินไป ถ้าหนักเกินไปอาจทำให้ความต้องการทางเพศน้อยหรืออาจเกิดการเป็นหมันชั่วคราว สุกรที่โตเต็มที่อาจใช้ได้ 5 - 6 ครั้ง ต่อสัปดาห์ สุกรหนุ่ม 2 - 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
  • ไม่ค่อยได้ใช้งานก็ไม่ได้รับการกระตุ้นจึงทำให้มีความต้องการทางเพศน้อยลง ควรจัดระยะเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้พ่อสุกรที่ชอบเป็นพิเศษ
  • ด้านการจัดการและการจัดการฝึกหัด เมื่อสุกรโตเป็นหนุ่มควรให้ลองผสมพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ที่ไม่ดี
  • สภาพทางด้านโภชนาการหรืออาหาร อาจได้รับอาหารไม่ถูกส่วน หรือได้รับน้อยเกินไปจะมีผลต่อการผสมพันธุ์ เพราะจะมีผลต่อการสร้างน้ำเชื้อ
  • มาจากคนดูแลพ่อสุกร อาจมาจากการให้เวลาพ่อสุกรผสมพันธุ์น้อย หรือปล่อยให้พ่อสุกรและแม่สุกรผสมพันธุ์กันเองโดยไม่ช่วยเหลือ
3) สภาพทางสรีระวิทยา พ่อสุกรที่แก่หรืออ้วนเกินจำเป็นต้องคัดทิ้ง เพราะความกระฉับกระเฉง และการสร้างตัวอสุจิลดลง
4) สภาพแวดล้อม มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสมบูรณ์และความต้องการทางเพศ โดยเฉพาะถ้าอุณหภูมิสูงสุกรอาจเป็นหมันชั่วคราว การสร้างอสุจิก็จะได้รับผลกระทบด้วย

ช่วงเป็นสัดของสุกร (Heat Period)

ช่วงเป็นสัดของสุกร (Heat Period)
ช่วงเป็นสัดของสุกรคือช่วงที่สุกรมีอาการยอมรับการผสมพันธุ์ จะแสดงอาการ 2 - 3 วันบางตัวไม่มีการแสดงออกเรียกว่าเป็นสัดเงียบ บางตัวไม่มีแสดงออกเรียก เป็นสัดเงียบ(Silent Heat) ช่วงหนึ่งของการเป็นสัด(Estrus Cycle)ใช้เวลาประมาณ 17 - 24 วัน จะหยุดเมื่อสุกรตั้งท้องหรือเกิดอาการผิดปกติขึ้น
สิ่งที่บ่งบอกว่าสุกรเป็นสัดดูได้จาก
  1. อวัยวะเพศจะบวมแดงหรือสีชมพู ในสุกรสาวจะเห็นได้ชัด
  2. ชอบปีนป่ายตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นปีน
  3. มีอาการกระวนกระวาย
  4. กินอาหารน้อยลงกว่าปกติ หรือชอบเอาปากงัดแงะสิ่งอื่น
  5. ชอบปัสสาวะบ่อย แต่มีปริมาณน้อย
  6. เข้าไปสัมผัสโดยบีบหรือกดบริเวณตะโพกจะหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว
  7. ถ้าเจอสุกรเพศผู้จะไม่ยอมให้คนเลี้ยงต้อนไปที่ไหน
วิธีการตรวจสอบว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์หรือไม่
  1. กดบริเวณสะโพกแรง ๆ และดูการตอบสนอง
  2. ให้ขี่ด้านหลังของสุกร และดูการตอบสนอง
  3. ใช้น้ำเชื้อของสัตว์เพศผู้มาสัมผัสบริเวณจมูกของเพศเมียแล้วดูการตอบสนองคือ ยืนนิ่ง
  4. ใช้ตัวผู้เป็นตัวทดสอบ แต่ตัวผู้ที่ใช้จะต้องผ่านการตอนแล้ว
  5. ใช้เสียงโดยใช้เสียงของเทปจากสัตว์เพศผู้กับเพศเมีย แล้วสังเกตดูพฤติกรรมของเพศเมียว่ามีความสนใจหรือไม่ หรือนำตัวผู้มาเดินบริเวณคอกตัวเมีย
เมื่อผสมพันธุ์ครั้งแรกแล้วจะผสมพันธุ์ซ้ำครั้งที่ 2 ภายใน 12 - 24 ชั่วโมง
สาเหตุที่มีการผสมพันธุ์ซ้ำ
สุกรให้ลูกเป็นคอกมีการตกไข่ไม่พร้อมกัน ในการผสมซ้ำถ้าต้องการประเมินประสิทธิภาพของพ่อแม่พันธุ์จะต้องใช้พ่อพันธุ์ตัวเดิม แต่ถ้าไม่ต้องการประเมินก็ควรใช้ทีละตัว(พ่อพันธุ์คนละตัว)
อัตราการผสมติด(Conception Rate)ระหว่างสุกรสาว : สุกรนาง
สุกรนางจะสูงกว่าสุกรสาวอัตราการผสมติดที่อยู่ในเกณฑ์ดีไม่ควรต่ำกว่า 80 % สูงสุดอาจได้ถึง 95 % แต่ถ้าต่ำกว่า 70 %จะต้องหาทางแก้ไขเพราะอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก อัตราการตกไข่(Ovulation Rate)
สุกรนางที่โตเต็มที่มีอัตราการตกไข่ที่สูงกว่าสุกรสาว เพราะสุกรสาวเพิ่งเข้าวัฎจักรการสืบพันธุ์ สุกรสาวตกไข่ครั้งแรกจะต่ำกว่าการเป็นสัดครั้งที่ 1 ประมาณ 2 ฟอง และเป็นสัดครั้งที่ 3 จะสูงกว่าครั้งที่ 2 ไม่ต่ำกว่า 1.5 ฟอง อัตราการตกไข่ของสุกรในครั้งหนึ่ง ประมาณไม่ต่ำกว่า 18 - 20 ฟอง
วงรอบการเป็นสัด (Estrous Cycle) ใช้เวลา 17 - 24 วัน เฉลี่ย 21 วัน มีการแบ่งกันเป็นช่วง ๆ
  • ก่อนการเป็นสัด (Pro-estrus)
  • ระยะเป็นสัด (Estrus)
  • ระยะคลายการเป็นสัด (Met-estrus)
  • ระยะหมดการเป็นสัด (Di-estrus) ระยะนี้ยาวที่สุด
  • ช่วงการตั้งท้อง (Gestation Preiod)
ตั้งแต่การผสมถึงคลอด ใช้เวลา 109 - 120 วัน เฉลี่ยประมาณ 114 วัน สุกร 84 % มีการตั้งท้อง 112 - 115 วัน มีเพียง 7% ที่มากกว่า 115 วัน อีกประมาณ 9 % ระยะเวลาตั้งท้องน้อยกว่า 112 วัน ลูกสุกรที่คลอดก่อน 109 วัน มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวน้อยโอกาสเลี้ยงรอดยาก อวัยวะต่าง ๆ ยังเจริญพัฒนาไม่เต็มที่ของขั้นการเจริญเป็นตัวอ่อน แม่สุกรที่ตั้งท้องนานกว่า 120 วัน มีสาเหตุผิดปกติ คือ ลูกสุกรตัวใหญ่ผิดปกติ หรือ มีลูกสุกรตายในมดลูก และที่อุ้มท้องมากกว่าระยะเวลาเฉลี่ยจะมีจำนวนลูกเมื่อแรกเกิดน้อยกว่าแม่สุกรที่อุ้มท้องปกติ
การตั้งท้องเทียม(Pseudo Preqnant) แม่สุกรแสดงการตั้งท้องปกติ แต่ไม่มีการคลอดลูกเกิดจากการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ของสุกรเพศเมีย เป็นเหตุให้อัตราการผสมติดต่ำลง การตรวจสอบว่าตั้งท้องจริงหรือไม่ สังเกตได้จากสุกรไม่เป็นสัด ควรตรวจ 2 รอบเพราะรอบแรกอาจไม่แสดงออกถึงความเป็นสัด หรือวัดจากการกินอาหาร (เป็นช่วงปลาย ๆ ของการอุ้มท้อง) ถ้าผสมนานประมาณ 3 - 4 เดือนขึ้นไปแล้วสังเกต ดูบริเวณช่องท้องมีการขยายใหญ่ขึ้นหรือไม่ และมีลักษณะหลังแอ่นเล็กน้อย อีกวิธีหนึ่งในการตรวจคือตรวจดูว่ามดลูกมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งมีเครื่องที่ใช้ตรวจสอบโดยมีคลื่นความถี่สูง(Ultra Sound) แต่จะต้องใช้เมื่อผสมพันธุ์ไปแล้ว 20 วัน ถึงวันที่ 60 ก่อนหน้านั้นไม่สามารถตรวจสอบได้เพราะตัวคัมภะยังไม่พัฒนาถึงขั้นจึงตรวจสอบ ไม่ได้
ลักษณะของแม่สุกรใกล้คลอด
  1. การขยายความโปร่งพองของอวัยวะสืบพันธุ์(ปากช่องคลอด)มีสีแดงชมพู
  2. ลักษณะทางกิริยาของแม่สุกร กระวนกระวาย อัตราการหายใจจะถี่ขึ้น บางครั้งจะกัดแทะตามคอก ถ้าเลี้ยงบริเวณที่โล่งแม่สุกรจะเตรียมบริเวณที่จะคลอด
  3. เต้านมขยายใหญ่โดยเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อบีบหัวนมแล้วมีน้ำนมไหลแสดงว่าภายใน 24 ชม. แม่สุกรจะคลอด
แม่สุกรมักจะคลอดช่วงเที่ยงคืนถึงเช้าแต่ช่วงบ่ายจะมีการคลอดน้อยที่สุด
  • จำนวนลูกสุกรแรกเกิดมีประมาณ 8 - 14 ตัว ประมาณ 74 % น้อยกว่า 8 ตัว มี 9% มากกว่า 14 ตัวมี 6% ถ้าคลอดออกมามีลักษณะเป็นลูกกรอกแสดงว่าตายขณะตั้งท้อง ขนาดน้ำหนักตัวเมื่อแรกเกิดของลูกสุกรจะมีอัตราความสัมพันธ์กับการรอดตาย น้ำหนักต่ำกว่า 600 กรัม โอกาสตายมีสูงมากลูกสุกรต่ำสุด 400 กรัม ถึง 3.8 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยทีเหมาะกับลูกสุกร 1.35 กิโลกรัม ถ้าขนาดของคอกใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ยของลูกสุกรจะต่ำ แต่ถ้าขนาดของคอกน้อยก็จะมีน้ำหนักมาก แนวโน้มส่วนใหญ่ลูกสุกรเพศผู้จะมีน้ำหนักตัวมากกว่าเพศเมีย ลำดับที่การคลอดของลูกสุกรไม่มีผลต่ออัตราการรอดตาย
  • ลูกสุกรที่คลอดจากแม่สุกรนางมีแนวโน้มที่ น้ำหนักตัวสูงกว่าแม่สุกรสาวเพราะการเจริญเติบโตของแม่สุกรสาวยังไม่สมบูรณ์ เมื่อเทียบกับแม่สุกรนาง อัตราการตายของลูกสุกรที่มีแม่สุกรอายุน้อยจะมีอัตราการตายมากกว่า อัตราการตายจะสูงขึ้นอยู่กับการคลอดว่าตายมากน้อยเพียงใด อัตราการตายต่ำสุด 2.5% สูงสุด 5% อัตราการรอดตายช่วงที่เกิดแล้วนั้นจะขึ้นอยู่กับความดูแลเอาใจใส่ของเจ้าของ อัตราการรอดตายประมาณ 90 % (ตั้งแต่คลอด)
  • ขนาดของคอกเมื่อตอนหย่านม 3 - 5 สัปดาห์ จะมีการหย่านม ประมาณ 4 สัปดาห์ จะจับหย่านม อัตราการตายทั้งหมดก็มีสำหรับการหย่านม แต่รอดทั้งหมดก็มีลูกสุกรที่มีสุขภาพดี น้ำหนัก 7.5 กิโลกรัม/ตัว และ 8.2 ตัว/คอก เมื่ออายุ 35 วัน ประมาณ 66 % จะมีการหย่านมแล้วเหลือลูก 6 - 10 ตัว มี 14% ที่เหลือลูกน้อยกว่า 6 ตัว ประมาณ 14 - 15 %ที่ให้ลูกมากกว่า 10 ตัว
  • จำนวนคอกต่อแม่สุกรต่อปี มีประมาณ 1.8 - 2.3 คอก ต่อตัวต่อปี ช่วงเวลาหลังจากกลูกสุกรหย่านมถึงแม่สุกรผสมติดต้องพยายามลดช่วงนี้ให้สั้น ที่สุด
ปัญหาที่สำคัญคือแม่สุกรมีสุขภาพทรุดโทรมเกินไป จึงต้องใช้เวลานานในการเป็นสัดอีกครั้งเพราะแม่สุกรจะกินอาหารไม่เพียงพอกับ การเลี้ยงลูกจึงต้องดึงอาหารที่สะสมมาใช้ในการเลี้ยงลูก ตัววัดประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ก็คืออัตราการรอดตายของลูกสุกรหลังหย่านม และขนาดของคอก ถ้ามีการจัดการที่ดีจะได้ลูกสุกร 26 ตัวต่อปี แต่ส่วนมากจะได้ 10 - 24 ตัวต่อปี
ฟาร์มสุกรขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าฟาร์ม ขนาดใหญ่เพราะดูแลได้ทั่วถึง และเจ้าของดูแลฟาร์มเองจะมีประสิทธิภาพดีกว่าฟาร์มที่จ้างคนอื่นทำ และฟาร์มสุกรที่มีขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยเจ้าของจะมีประสิทธิภาพดีกว่า ฟาร์มขนาดเล็กที่จ้างคนอื่นดูแล และฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีช่วยจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ เทคโนโลยีที่ใช้และคนที่ดำเนินการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ

ระบบการผสมพันธุ์ (Breeding)

ระบบการผสมพันธุ์ (Breeding)
ตัวอย่างของการผสมพันธุ์
1) Inbreeding การผสมพันธุ์ลักษณะที่เป็นเครือญาติกัน เรียก Close Breeding เช่นพ่อกับลูก แม่กับลูก หรือพี่กับน้อง ผสมกันเอง เป็นต้น หรืออาจเป็นการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด (Line Breeding) เพื่อรักษาลักษณะที่ดีของสายพันธุ์
ข้อดีของการผสมแบบ Line Breeding
  • เพื่อเพิ่มลักษณะบางอย่างให้แน่นอนมากขึ้น ทำให้มีความเหมือนกันมากขึ้น
  • เพื่อต้องการลักษณะที่แฝงอยู่ปรากฏออกเพื่อที่จะคัดออกจากฝูง
ข้อเสีย
  • ทำให้จำนวนลูกสุกรเมื่อแรกคลอดและหย่านมลดลง พบว่าทุก ๆ 10 % จะส่งผลให้ลูกสุกรแรกคลอดลดลง 0 .2 - 0.6 ตัวต่อคอก และจำนวนลูกสุกรหลังหย่านมลดลง 0.1 - 0.25 ตัวต่อคอก
  • น้ำหนักตัวของลูกสุกรแรกคลอดและหย่านมลดลง ทุก 10 % น้ำหนักสุกรแรกคลอดลดลง 30 กรัม/ตัว หลังหย่านมลดลง 30 %
  • ถ้าแม่สุกรมีอัตราเลือดชิด 60 % อายุสุกรที่เริ่มใช้ผสมพันธุ์ได้นั้นจะยาวนานออกไป
    มีผลต่ออัตราการตกไข่และการสร้างตัวอสุจิ การเจริญเติบโตของอัณฑะและการสร้างอสุจิช้าลง และจำนวนไข่ของแม่สุกรมีน้อย มีผลต่อความแข็งแรงของลูกสุกร จะมีอัตราการรอดตายต่ำ อัตราการตายเพิ่มขึ้น 4.2 % ของทุก ๆ 10 %
2) Out Breeding (การผสมพันธุ์ที่ไม่เป็นเครือญาติ) แบ่งได้เป็น
2.1 การผสมพันธุ์ภายในพันธุ์เดียวกัน (Pure Breeding) การผสมพันธุ์แท้ เพื่อต้องการรักษาพันธุ์แท้เอาไว้
2.2 การผสมข้ามพันธุ์ (Cross Breeding) ความสัมพันธ์จะห่างกันมากจะเป็นคนละสายพันธุ์ วิธีนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันซึ่งมีทั้ง Pure Breeding และ Cross Breeding
ข้อดีของ Cross Beeding
ตรงข้ามกับข้อเสียการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด ซึ่งหลักใหญ่ ก็ต้องการเอาข้อดีทั้งพ่อและแม่มาอยู่ร่วมกัน และต้องการให้สัตว์มีความแข็งแรงกว่าพ่อและแม่ เรียกว่า Heterosis ที่เรียกว่า Hybrid Viqor นิยมทำกันในสุกรขุน
ความสำเร็จในการผสมพันธุ์ขึ้นอยู่กับคุณภาพของพ่อ แม่พันธุ์ ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ต้องผ่านการพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น พันธุ์ Larqe White กับ Landrace อาจผสมกับพันธุ์ที่สามอีกเช่น พันธุ์ Duroc Jersey ถึงแม้จะสลับพ่อแม่พันธุ์จะมีความเข้มข้นทางสายเลือดยังเหมือนเดิม แต่ไม่นิยมเพราะ LR * LW โดยทั่วไปนิยมใช้ Duroc เป็นพ่อเพราะเพศผู้เน้นการให้เนื้อและการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่จะเป็นการผสมพันธุ์เพื่อใช้เป็นสุกรขุน
การผสมข้าม 4 สายพันธุ์เพศเมียเน้นการให้ลูก การเลี้ยงลูกและการตกไข่ ส่วนเพศผู้เน้นการให้เนื้อแดง และการเจริญเติบโต แต่ส่วนมากไม่ค่อยทำเพราะจะต้องหาพันธุ์แท้ไว้สูงเป็นจำนวนมาก
3) Upgra Ding เป็นการผสมพันธุ์แบบเพิ่มสายเลือดจะเป็นการนำสุกรสายพันธุ์ต่าง ๆ ผสมกับสุกรพันธุ์พื้นเมือง เช่น N เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ต้องการยกระดับ

การคัดเลือกและการคัดทิ้ง (Seiection & Culling)

การคัดเลือกและการคัดทิ้ง (Seiection & Culling)
การคัดเลือกเป็นการคัดสัตว์ที่มีลักษณะเหมาะเป็นพ่อแม่พันธุ์พันธุ์ และต้องมีค่าเฉลี่ย(ลักษณะ)สูงกว่าในฝูง เลือกสัตว์ที่มีสุขภาพที่ดี((เริ่มต้น) เริ่มดู เช่น ขนเงางาม ผิวหนังเรียบ เคลื่อนไหวว่องไว ไม่มีลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นอัมพาตหรือกระดูกอ่อน ระบบการหายใจเป็นปกติ ต้องไม่มีลักษณะที่ผิดปกติจากธรรมชาติ แววตามีแววสดใส และสัตว์ต้องมีพฤติกรรมอยากกินอาหาร
ลักษณะที่ใช้พิจารณาในการคัดเลือก ต้อง มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและลักษณะนั้นควรมีความสามารถในการถ่ายทอดทางพันธุ์ กรรมสูงโดยวัดเป็นค่าอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรม(Heritability,h)ค่านี้จะ ชี้บ่งบอกว่าถูกควบคุมโดยพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม ลักษณะที่มีค่า h ต่ำปรับปรุงได้โดยใการจัดการสิ่งแวดล้อมแต่ก็ดีได้เฉพาะสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ
ลักษณะที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
  1. อัตราการเจริญเติบโต (Growth Rate) การเพิ่มน้ำหนักตัวต่อวัน (Arerage Daily Gain,ADG) ดูจากว่าน้ำหนัก เริ่มต้นเท่าไร และสิ้นสุดเท่าไร หาได้จาก น้ำหนักสิ้นสุด - น้ำหนักเริ่มต้น /ระยะเวลา มีผลต่อค่าอัตราทางพันธุ์กรรมระดับปานกลาง
  2. ความหนาของไขมันสันหลัง (Backfat Thickense)ไขมัน ของสุกรต่อเนื้อแดงบอกถึงคุณภาพของสุกร ไขมันบริเวณสันหลังนี้มีมากที่สุด ไขมันที่นี้มีมากจะบ่งบอกว่าสุกรมีไขมันมาก และจะมีเนื้อแดงน้อย ลักษณะนี้มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมสูง การวัดสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดไขมันสันหลัง หรืออาจใช้ไม่บรรทัดเหล็ก จะมีคลิปที่เลื่อนได้ขนาดกว้าง 1 ซ.ม. ยาวประมาณ 5 - 6 นิ้ว ที่เห็นมากจะวัดบริเวณไหล่ หลัง และกระดูกบั้นท้าย (กระดูกซี่โครงซี่แรก ,กระดูกซี่โครงซี่สุดท้าย และกระดูกบั้นท้ายท่อนสุดท้ายอยู่ประมาณกลางโคนหาง)จะวัดห่างจากเส้นกลาง หลัง 1 นิ้ว แล้วนำทั้ง3 ค่าที่ได้มาเฉลี่ยกัน ค่าที่ได้ไม่ควรเกิน 1.5 ซ.ม.สุกรที่ใช้ทำพันธุ์ควรมีความหนาของไขมันไขสันหลังไม่เกิน 2 ซ.ม. ที่น้ำหนัก 90 กก และอีกวิธีในการวัดคือการวัดเพียงจุดเดียวจะวัดที่กระดูกซี่โครงซี่สุดท้าย ห่างจากเส้นกลางหลัง 6.5 ซม.จะแม่นยำและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เนื้อแดงส่วนมากจะอยู่ที่ไหล่ กลางหลัง และสะโพก พื้นที่หน้าตัดเนื้อแดง(Loin-Eye Area)จะมาก จะวัดตรงซี่โครงซี่ที่ 10 กับ 11 วิธีการแก้ทีจะให้มีไขมันสันหลังน้อยก็คือการเลือกพ่อพันธุ์ที่มีไขมัน สันหลังน้อย และสุกรที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงจะมีไขมันมาก
การเจริญเติบโตมีผลต่อทุนต่าง ๆ ดังนี้
  1. ทุนคงที่ ดอกเบี้ยต่าง ๆ ,ค่าที่ดิน,ค่าอุปกรณ์ ฯลฯ
  2. ทุนหมุนเวียน โรงเรือน
  3. ประสิทธิภาพการใช้อาหาร(Feed Efficiency) วัดออกมากในการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (FCR,Feed ConVersion Ratio)หรือ (F/G, Feed/Gain) สัตว์ที่คุณภาพดีจะต้องมี FCR or F/G ต่ำ G/F(Gain/Feed)เป็นน้ำหนักที่เพิ่มต่ออาหาร 1 กิโลกรัม แต่ G/F จะมีค่าสูงจึงจะมีประสิทธิภาพดี มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมปานกลางประสิทธิภาพการใช้อาหารดีเมื่อเจริญ เติบโตเร็ว เน้นเพศผู้
  4. ลักษณะซาก (Carcass Traites) ลักษณะของเนื้อที่มีน้ำไหลออกมา สีซีด เนื้อนิ่ม เรียกเนื้อ PSE (Pale Soft Exusate) เนื้อแห้ง สีคล้ำ ๆ เรียกเนื้อ DFD (Dark Firm Dry) ดูลักษณะที่สำคัญ สีสัน อัตราเนื้อแดง ความนุ่มความเหนียว (น้อยมากสำหรับการเลือกดู)เพราะการปรุงอาหารอาจทำให้ความเหนียวนุ่ม และองค์ประกอบทางเคมี ของเนื้อ เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะซากเน้นมากในสุกรเพศผู้ อัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูงมาก
  5. ลักษณะผลผลิตของแม่สุกร (Sow Productivity) ดูขนาดคอกเล็กหรือใหญ่ น้ำหนักของลูกสุกรเมื่อหย่านม ขนาดคอกของลูกสุกรเมื่อหย่านม มีค่าอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่ำ ลักษณะเหล่านี้สิ่งที่เข้าไปมีผลมากคือการผสมพันธุ์ว่าดีขนาดไหน ตั้งท้องเลี้ยงดูดีขนาดไหน การจัดการภายในฟาร์ม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
  6. รูปทรงลักษณะ (Conformation) เป็นลักษณะภายนอก เช่น มีความสมดุล ดูแล้วงาม สมเป็นสุกร แต่ไม่ต้องให้ความสำคัญมาก
  7. ลักษณะความไม่สมบูรณ์ (Unsowndness) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีผลให้การสืบพันธุ์ไม่ดี การให้ผลผลิตต่ำ จะมีลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความผิดปกติ เช่นไส้เลื่อน (Hernia) หัวนมบอด (Blind Teats) ลักษณะที่เรียกอัณฑะทองแดง (Cryptcchidirm)ฯลฯ
การคัดเลือกพันธุ์ (Selection of Breed)
ขั้นตอนการคัดเลือกพันธุ์(Selection Procesures) สิ่งที่ผู้คัดเลือกต้องทราบพื้นฐานที่ใช้ในการคัดเลือก
1. ความสามารถของสัตว์ที่แสดงออกมา (Performance Testing)
2. การใช้พันธุ์ประวัติ (Pedeqree Selection) วิธีที่ใช้ในการคัดเลือก(Methods of Selection)
  • การคัดเลือกแต่ลักษณะ (Tandem Methods) เลือกเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ไม่ใช้วิธีนี้มากนักเพราะการคัดเลือกใช้เวลานานจนกว่าจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ และอาจทำให้บางลักษณะสูญเสียไป เพราะใช้เวลานาน
  • การคัดเลือกที่มีลักษณะตั้งแต่ 2 ลักษณะขึ้น (Independent Culling Level) โดยที่แต่ละลักษณะเป็นอิสระต่อกัน
3. การใช้ดรรชนีการคัดเลือก (Selection Index) เป็นการคัดเลือกโดยมีหลายลักษณะร่วมกัน ต่างจากข้อ 2 คือ ให้ค่าความสำคัญของลักษณะแต่ละลักษณะไม่เท่ากัน ในการสร้างดรรชนีการคัดเลือกจะดูค่าอัตราทางพันธุกรรมถ่ายทอดดีขนาดไหน คุณค่าความของแต่ละลักษณะ ความสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์กับฟีโนไทป์นำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้รวมกันเพื่อสร้างสมการของดัชนีการคัดเลือก เช่น
SeIection Index = 240 + [0.110 * ADG(g)] - [50 * FCR] - [19.7 * BE (cm.)]
ADG = อัตราการเจริญเฉลี่ยต่อวัน
FCR = อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ
BE = ความหนาของไขมันสันหลัง
ตัวที่มีค่าดรรชนีการคัดเลือกสูงจะเลือกทำพันธุ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในการคัดเลือกพันธุ์(คัดเลือกโดยนึกถึง เศรษฐกิจ)
การคัดเลือกพ่อพันธุ์ (Selecting the Boar) จะต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะช่วงเวลาหนึ่ง ๆ พ่อพันธุ์จะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาก พ่อพันธุ์จะกระจายพันธุ์กรรมได้ดีกว่าแม่พันธุ์ การจะคัดเลือกไว้ต้องอาศัยหลักความสำคัญทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นประกอบอีก เช่น
  1. ความแข็งแรงของเท้าและข้อเท้าหลัง โดยเฉพาะเท้าหลังที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าขาหน้า ในเวลาการขึ้นผสมพันธุ์
  2. ขนาดของอัณฑะ รูปร่าง เป็นอย่างไร ขนาดของอัณฑะจะมีความสำคัญต่อการสร้างน้ำเชื้อ เลือกขนาดที่มีอัณฑะใหญ่ และทั้งสองข้างของอัณฑะให้มีขนาดใกล้เคียงกันแต่ส่วนมากข้างซ้ายจะใหญ่กว่าข้างขวาเล็กน้อย
  3. ความแข็งแรงของสันหลัง เลือกที่หลังตรงหรือโค้งเล็กน้อย(โค้งงอ)
  4. ความยาวของลำตัว ลำตัวสั้นจะขึ้นขี่เพศเมียยากจะเสียเปรียบตัวที่มีลำตัวยาว
  5. หัวนมบอดหรือหัวนมกลับ เพราะจะมีส่วนสำคัญต่อเพศเมียที่ใช้น้ำนมในการเลี้ยงลูกสำหรับที่นำลูกมาทำพันธุ์ เพราะลักษณะนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ ลักษณะนี้เป็นลักษณะย่อยที่ประกอบเข้ามา
การคัดทิ้งพ่อพันธุ์ (Culling Boars) ลักษณะของพ่อพันธุ์ที่เฉื่อยต่อการผสมพันธุ์จำเป็นต้องคัดทิ้งถึงลักษณะจะดี การใช้งานพ่อสุกรไม่คำนึงถึงอายุตราบใดที่พ่อสุกรนั้นยังสามารถใช้ในการสืบพันธุ์ได้อยู่
สาเหตุที่ถูกคัดทิ้ง เช่น
  • พ่อพันธุ์ไม่มีลักษณะตามมาตรฐานที่ เรากำหนดไว้ เช่นรูปร่างดี แต่สร้างน้ำเชื้อคุณภาพไม่ดี สร้างตัวอสุจิน้อยเกินไป หรือมีตัวอสุจิไม่สมประกอบมากเกินไป
  • พ่อพันธุ์มีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว ดุร้าย อาจเป็นอันตรายต่อคนเลี้ยงได้
  • พ่อพันธุ์มีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้แม่สุกรสาวรับน้ำหนักไม่ได้ตอนผสมพันธุ์ แต่ลักษณะนี้อนุโลมได้ในการรีดน้ำเชื้อผสมเทียม
  • พ่อพันธุ์อาจเป็นหมัน อาจจะได้รับเชื้อโรคขณะผสมพันธุ์แล้วทำให้เป็นหมัน
  • พ่อสุกรเป็นโรคหรือพาหะของการเกิดโรค โดนเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ เช่น โรคแท้งลูก
  • สุกรไม่แสดงถึงลักษณะความเป็นเพศผู้ หรือระบบสืบพันธุ์เพศผู้พัฒนาช้าจึงมีการแสดงออกมาช้า
การคัดเลือกสุกรสาวทดแทน การเข้มงวดในการคัดเลือกนั้นจะมีน้อยกว่าการคัดเลือกพ่อพันธุ์ ความก้าวหน้าในการปรับปรุงสุกรเพศเมียมีน้อยกว่าสุกรเพศผู้ การคัดเลือกสุกรสาวต้องอาศัยลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความสามารถในการสืบพันธุ์ในเพศเมีย และลักษณะที่ประกอบในการคัดเลือก คือ
  1. ลักษณะของเต้านม ควรมีไม่น้อยกว่า 6 คู่ และขนาดควรมีความสม่ำเสมอ ไม่ควรมีหัวนมกลับหรือหัวนมบอด ทั้งนี้เพราะไม่สามารถให้น้ำนมได้ จำนวนเต้ามีความสำคัญต่อการสืบพันธุ์และการเลี้ยงลูก จำนวนและลักษณะของเต้าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หัวนมจะต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป เต้านมจะสร้างน้ำนมไม่เท่ากัน โดยที่ด้านหน้าจะสร้างน้ำนมได้ดีกว่าเต้านมที่อยู่ด้านหลัง
  2. ความยาวลำตัวของแม่สุกรสาว ถ้ามีความยาวมากเต้านมจะมีพื้นที่ในการพัฒนามากขึ้น
  3. ความแข็งแรงของขาและข้อเท้า เนื่องจากมีช่วงชีวิตที่ยาวนานกว่าสุกรขุน และในช่วงอุ้มท้องแม่สุกรจะมีน้ำหนักมากขึ้นโดยเฉพาะเท้าหลัง แม่สุกรจะเพิ่มน้ำหนัก 15 - 20 กิโลกรัม สำหรับช่วงตั้งท้องทำให้ขาต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ถ้าช่วงขาอ่อนอาจจะทำให้ช่วงท้องและเต้านมสัมผัสกับพื้นทำให้เป็นแผลและได้ รับไข่พยาธิจากพื้นอาจทำให้ลูกสุกรได้รับพยาธิด้วย
  4. ลักษณะหลังตรงแข็งแรง หรือหลังโค้งเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยป้องกันเต้านมและช่วงท้องสัมผัสพื้น ถ้าหลังไม่แข็งแรงจะทำให้มีปัญหาตอนพ่อพันธุ์ขึ้นทับเพื่อผสมพันธุ์
การคัดทิ้งสุกรสาวและแม่สุกร(Culling Gilts And Sows)
  • สุกรสาวที่จะใช้เป็นแม่พันธุ์จะถูกคัดทิ้งตั้งแต่ก่อนให้ลูก 10 - 12 % เพราะไม่แสดงอาการเป็นสัด หรือผสมไม่ติด(ควรผสม 2 ครั้งของการเป็นสัด)
  • การคัดทิ้งของของแม่สุกรที่ให้ลูกแล้วมีประมาณ 15 % เนื่องจากไม่สามารถจะรับการผสมพันธุ์ใหม่ได้ เช่น ช่องคลอดเล็กเกินไปคลอดยาก ให้ลูกคอกเล็ก มดลูกอักเสบรักษาไม่หาย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้า
  • การให้ลูกคอกที่ 3 - 5 จะให้ลูกได้ดีที่สุดเพราะร่างกายแม่สุกรเจริญเติบโตเต็มที่ การพิจารณาจะคัดทิ้งหรือไม่จะพิจารณาคอกต่อสุกร แม่สุกรให้ลูกสุกร 4 คอก แล้วถ้าให้ลูกไม่ดีก็ควรคัดทิ้ง เพราะเริ่มที่จะมีอายุมาก
  • ขนาดและคุณภาพของลูกสุกรเมื่อหย่านมจะนำมาวัดว่าควรที่จะนำแม่สุกรเป็นพันธุ์ต่อไปหรือไม่
  • สิ่งที่จะพิจารณาอีกก็คือ ขนาดคอกแรกเกิด น้ำหนักตัวแรกเกิด ขนาดของคอกเมื่อหย่านม น้ำหนักตัวเมื่อหย่านม ลูกสุกรในสัปดาห์ที่ 3 จะเหมาะในการนำมาพิจารณาด้วย เพราะช่วง สัปดาห์ที่2 แม่สุกรจะให้น้ำนมมากที่สุดแล้วจะเริ่มลดลงเมื่อสัปดาห์ที่3 ความสามารถในการให้นมของแม่สุกรจะวัดถึงความเป็นแม่สุกรที่ดี แม่สุกรจะให้ปริมาณน้ำนม 8 - 9 กิโลกรัม ต่อวัน สำหรับพันธุ์ที่ให้น้ำนมดี แต่ทั่วไปมักจะมี 6 - 7 กิโลกรัม ต่อวัน สำหรับการหย่านมแล้วมาเป็นสัดใหม่สุกรนางจะใช้เวลาสั้นกว่าสุกรสาว

ระบบการสืบพันธุ์สุกร เพศผู้

ระบบการสืบพันธุ์สุกร
เพศผู้
แบ่งเป็น 3 ส่วน
1. ลักษณะภายนอก
  • ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ปกป้องอันตราย ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม อัณฑะมีอุณหภูมิต่ำกว่าร่างกาย 2 - 3 องศา ถุงอัณฑะประกอบด้วย ชั้นผิวหนัง,ชั้นกล้ามเนื้อที่มี 2 ชั้น คือ Tumica Dartos และ Tumica vaqinalis ชั้นแรกติดกับผิวหนัง การถ่ายเทอุณหภูมิโดยการระเหยน้ำ และควบคุมโดยการยืดหรือหด ของชั้นแรก การปรับตัวทางด้านการหมุนเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยง
  • อัณฑะ (Testis) หน้าที่หลักคือการสร้างตัวอสุจิ และฮอร์โมนเพศผู้ภายในแต่ละ Tubules จะมีท่อ Seminiferous Tubules อยู่และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบ่งเป็น Tubulesในแต่ละ Tubules แบ่งออกเป็น Basement Membrane และ Epithelium Cell ในอย่างที่ 2 นี้ยังแบ่งเป็น Germ Cell ทำหน้าที่ผลิตอสุจิ และ Sertoti Cell ทำหน้าที่ผลิตอาหารให้กับตัวอสุจิ และมีหน้าที่คอยค้ำจุนตัวอสุจิอยู่ จะถูกควบคุมโดย FSH และLH (ควบคุมการค้ำจุน) มีเส้นเลือดเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยงทำหน้าที่ ในการผลิตฮอร์โมนเพศผู้ คือ Leydig Cell (พวก Androgen) Testosterone เป็นตัวหนึ่งใน Androgen และมีอนุพันธุ์คือ Androsterone แต่ละ Tubules จะมีท่อต่อกับ Rete Testis
2. ระบบท่อต่าง ๆ
  • Epididymidis ก่อนที่จะมาถึงส่วนนี้จะมีส่วนของ Vasa Efferent ,Efferent Duct Epiddymis มีหน้าที่หลักเป็นที่เก็บตัวอสุจิทำให้ตัวอสุจิมีความสมบูรณ์และเข้มข้นมาก ขึ้น(ไม่เข้มข้นเพราะมีของเหลวผสมอยู่) Epididymis แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หัว กลาง ท้าย
  • Vas Deferens ท่อน้ำเชื้อทำหน้าที่นำน้ำเชื้อเข้ามาในลำตัว
3. ระบบต่อมต่าง ๆ
  • Seminal Vesicle (เซมินัล เวลซิเคิล) หรือบางทีเรียก Vescicular Glands เป็นต่อมใหญ่สุด หนัก 200 กรัม กว้าง 7 ซ.ม. ยาว 13 ซ.ม. หน้าที่ผลิตของเหลวใสสีเทาประกอบด้วย ฟอสเฟต ,ไบร์คาร์บอเนต เพื่อปรับ pH ของน้ำเชื้อ
  • ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) หน้าที่หลั่งของเหลวประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียม ฯลฯ เรียกพวก Inorganic ion
  • ต่อมบัลโบยูรีทรัล (BolBourethal Glands) ทำหน้าที่ในการหลั่งช่วงสุดท้ายของการผสมพันธุ์ ผลิตสิ่งที่เป็นเม็ดวุ้น และสิ่งนี้จะอุดอยู่ที่ปากคอมดลูกเพื่อไม่ให้น้ำเชื้อไหลออกมา
  • Urethra หลั่งน้ำเชื่อโดยผ่านท่อนี้ โดยผ่านมาจาก Ductus Defferen Vescicular Glands
  • Penis ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มีความยืดหยุ่นเรียกว่า Fibroelastic เป็นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อการตอบสนอง โตเต็มที่กว้าง 1.5 ซ.ม. ยาว 50 ซ.ม. และมีกล้ามเนื้ออยู่หนึ่งชนิดหนึ่งเรียกว่า Retractor ยืด Penis ไม่ให้ยืดผิดปกติ กล้ามเนื้อมีลักษณะเป็นรูปตัว S เรียก Sigmoid Flexure
เพศเมีย
1.รังไข่ หน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือผลิตเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมีย(ova) และผลิตฮอร์โมนเพศเมีย(Progesterone และ Estrogen) มีความสำคัญต่อไข่ที่ปฏิสนธิแล้วโดยเฉพาะ Estrogen รังไข่จะห้อยอยู่ที่ช่องท้องโดยมีเนื้อเยื่อที่เรียกว่า Broad Ligament ที่ทำหน้าที่ยึดรังไข่เรียก Mesevarium รังไข่ของสุกรมีรูปคล้ายพวกองุ่น มีไข่ตกประมาณ 10 - 20 ฟอง Graffion Follicle โตเต็มที่พร้อมที่จะตกไข่ LH เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ตกไข่ เมื่อตกไข่ แล้วจะเกิดการเปลื่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในเราเรียกว่า Corpus Luteum (คอร์ปัส ลูเทียม)แล้วจึงผลิตฮอร์โมน Progesteron เพื่อที่จะเตรียมพร้อมการตั้งท้อง Corpus Albicans ถุงหุ้มไข่ที่ฝ่อไป
2. ท่อนำไข่ (Oviduct )ยาวประมาณ 20 ซม. จะถูกด้วย Broad Ligament เรียกว่า Mesosalprinx สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน
  • Fimbriae รูปร่างเป็นปากกรวยที่รองรับการตกไข่
  • Infumdibullum เป็นท่อแคบ ๆ
  • Ampulla ท่อที่พองขึ้นเล็กน้อย และตัวอสุจิจะมาผสมกับไข่
  • Isthmus เป็นคอคอดตรงไปจนถึงปีกมดลูกและรอยต่อที่ต่อกับปีกมดลูกจะพองเมื่อตกไข่
3. มดลูก (Uterus) ขนาดเล็กแต่ปีกมดลูกจะมีขนาดใหญ่ มดลูกจะถูกยึดด้วย Broad Ligament ที่เรียกว่า Mesometrium ปีกมดลูกจะเป็นที่ที่ Embryo (คัมภะ)เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน มดลูกมีหน้าที่เป็นแหล่งของอาหารโดยที่อาหารจะผ่านทางรก และปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเติบโตของคัมภะ
4. ปากมดลูก (Cervix)หรือเรียกว่าคอมดลูกยาวประมาณ 10 ซ.ม. ลักษณะเป็นลอนผนังหนา คอมดลูกจะป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าระบบสืบพันธุ์ และจะทำหน้าที่บีบรัด Penis เพื่อกระตุ้นให้หลั่งน้ำเชื้อ
5. ช่องคลอด (Vagina) ยาวประมาณ 10 - 24 ซ.ม. รูเปิดของช่องปัสสาวะคือจุดที่แยกช่องคลอดกับปากช่องคลอด(Valva)
สุกรอายุ 8 เดือนจึงเหมาะที่จะผสมพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่ให้ดีควรมีอายุ 1 ปีขึ้นไป และสุกรสาวควรมีน้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 100 กก. เพราะสุกรที่ให้ลูกก่อนอายุ 1 ปี จะมีขนาดของคอกน้อยและช่วงของการสืบพันธุ์จะสั้น เพราะร่างกายชะงักไม่พัฒนา และจะมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกเพราะอายุยังน้อย

ลักษณะคอกตามชนิดของสุกร

ลักษณะคอกตามชนิดของสุกร
คอกพ่อสุกร เป็นคอกเดี่ยว ๆ คอกละ 1 ตัว ขนาดของคอกต่ำสุด 1.5*3 m. ความสูงของคอกอย่างต่ำ 1.01 m. อยู่ใกล้กับแม่สุกรอุ้มท้อง นิยมทำแบบคอกโปร่ง คอกทำด้วยเหล็กแป๊บ มีกล่องที่ให้อาหารและที่ให้น้ำ
    
ซองอุ้มท้อง มีเหล็กกั้นไม่ให้สุกรพลิกตัว ทำด้วยเหล็กแป๊บ แนวกั้นแนวแรกสูงจากพื้น 20 cm. แนวที่2 -4 ห่างกันประมาณ 25 cm. แนวของประตูกั้นห่างกัน20 cm. พื้นของซองอุ้มท้องเป็นพื้นปูน มีความลาดเอียง 3%
    
คอกคลอด นิยมใช้กันแบบ น็อกดาวน์(ถอดประกอบได้) พื้นอาจเป็นพื้นทึบหรือเป็นร่อง (ถ้าแม่สุกรควรเป็นพื้นปูน,ลูกสุกรเป็นพื้นปูนหรือพลาสติกก็ได้) พื้นปูนต้องมีความลาดเอียง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นร่อง ขนาดของคอก ประมาณ 2 * 2 m. ในคอกคลอดควรมีพื้นที่ให้ความอบอุ่น(ตรงมุมคอก) ต้องมีที่ให้น้ำ,รางอาหาร(สัปดาห์ที่ 2) ให้ลูกสุกรที่ตรงมุมคอก ให้ไฟกกสัปดาห์แรกเมื่อลูกสุกรเกิด มีเหล็กกั้นในคอกเพื่อป้องกันแม่สุกรทับลูกสุกร ความกว้างของคอกที่แม่สุกรอยู่สบายคือ กว้าง 65-70 cm. ยาว 2 m. ความสูงจากพื้น 20 cm จากพื้นเป็นแนวแรก ,แนวที่2 สูงจากแนวแรก 25 cm. ,และแนวเหล็กกั้นมีประมาณ 4-5แนว
    
คอกอนุบาล สำหรับสุกรหย่านมแล้ว พื้นคอกต้องแห้งเสมอพื้นจะเป็นพื้นปูนทึบหรือพลาสติกก็ได้ จะทำให้เป็นคอกทึบหรือคอกโปร่งก็ได้(ถ้าเป็นแบบน็อกดาวน์ จะเป็นคอกโปร่ง) ที่ให้น้ำเป็นแบบ Nipple (จุ๊บน้ำ)บริเวณใดก็ได้
คอกสุกรเล็ก - รุ่น - ขุน ไม่ค่อยยุ่งยากจะเลี้ยงกี่ตัวก็ได้ ใช้พื้นโรงเรือนทำเป็นพื้นคอก รางอาหารเป็นแบบรางกลหรืออิฐแดงก่อก็ได้ ระยะสุกรรุ่นต้องการพื้นที่1 ตารางเมตรต่อ1 ตัว(พื้นทึบ) ระยะสุกรรุ่นต้องการพื้นที่0.7 ตารางเมตรต่อ1 ตัว(พื้น Slatt)

โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง (Housing &Equipments)

โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง (Housing &Equipments)
โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง (Housing &Equipments) ช่วยป้องกันสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย ช่วยให้สุกรสุขภาพดีขึ้น ดังนั้นก่อนการเลี้ยงต้องเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ให้พร้อม
การเลือกสถานที่สร้างโรงเรือน
  • สะดวกต่อการจัดการเลี้ยงดู
  • สร้างโรงเรือนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ของแต่ละท้องถิ่น
  • ควรศึกษาการสร้างโรงเรือนจากผู้ที่มีประสบการณ์โดยศึกษาทั้งข้อดีและข้อเสีย
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างโรงเรือนสุกร
1) ไม่อยู่ใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยหรือชุมชนมากเกินไป
2) บริเวณที่จะสร้างควรเป็นที่ราบ มีการจัดแบ่งทางระบายน้ำกับของเสีย
3) ควรเป็นสถานที่ที่มีแหล่งน้ำสะอาด
4) มีการคมนาคมขนส่งสะดวก
แบบและการก่อสร้างโรงเรือนสุกรต้องให้สุกรอยู่สุขสบายสะดวกต่อผู้เลี้ยงดูในการปฎิบัติงานและราคาเหมาะสม ควรดูตัวอย่างการก่อสร้างจากฟาร์มอื่นอย่างน้อย 2 แห่ง แล้วศึกษาข้อดีข้อเสียก่อนตัดสินใจสร้างโรงเรือน
โรงเรือน
1) หลังคา
  • ควรทำให้มีการหมุนเวียนอากาศภายในโรงเรือนที่ดี
  • ที่ดีที่สุดคือแบบเพิงหมาแหงน ซึ่งเลี้ยงได้แถบเดียว
  • แบบจั่วชั้นเดียว เลี้ยงได้ แถวเดียวหรือ 2 แถว แล้วแต่ความกว้างของหลังคา
2) วัสดุที่ใช้ทำหลังคา
  • หญ้าแฝก ,หญ้าคา,ใบตองตึง แต่วัสดุพวกนี้อายุการใช้งานไม่นาน มีราคาถูก นิยมใช้กันในผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเป็นส่วนใหญ่
  • หลังคาสังกะสี ราคาแพงกว่า,น้ำหนักเบา,ปลิวง่าย แต่มีอายุการใช้งานนาน
  • กระเบื้อง มีราคาแพงกว่า 2 ชนิดข้างต้น อายุการใช้งานก็มากกว่าด้วย มีน้ำหนักมาก ทำให้อากาศภายในเย็นกว่าการใช้สังกะสี
3 ) ความสูงจากชายคา ควรอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย 2-3 เมตร (ขั้นต่ำ)
4 ) ความสูงของโรงเรือน ขั้นต่ำควรสูง 4-5 เมตรจากพื้น
5 ) ฝาพนังโรงเรือน
  • ควรสร้างให้แข็งแรง
  • วัสดุที่ใช้ควรเป็น ไม้หรือ อิฐบล็อก
  • ลักษณะต่าง ๆแล้วแต่การออกแบบ
6 ) พื้นคอก
  • ต้องมีการระบายน้ำได้ดี,แห้งง่าย
  • ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ต้องมีความลาดเอียง 3% ถ้าพื้นมีร่องไม่ต้องทำให้ลาดเอียง
  • พื้นซีเมนต์ไม่ควรหยาบเกินไป(สุกรจะเจ็บกีบ) และไม่ควรลื่นเกินไป(อันตรายสำหรับคนเลี้ยงและสุกร)
   
7 ) คอกสุกร
  • มีความเหมาะสมตามอายุของสุกรขนาดต่าง ๆ
  • ส่วนใหญ่จะใช้พื้นโรงเรือนเป็นพื้นคอกสุกรด้วยเลยหรือบางทีก็จะใช้พื้นโรงเรือนเป็นพื้นของคอกสุกรอีกที
  • มีคอกสำเร็จประกอบได้มาตั้งบนพื้นโรงเรือนอาจเป็นคอกคลอดหรือคอกอนุบาล
  • คอกของพ่อสุกรควรอยู่ติดกับคอกของแม่สุกร เพื่อกระตุ้นให้แม่สุกรเป็นสัดเร็วขึ้น
  • ในโรงเรือนอาจมีการแยกคอกออกเป็นส่วน ๆ เช่น คอกคลอด,คอกอนุบาล,คอกพ่อสุกร,คอกแม่สุกร,คอกสุกรขุน,คอกอุ้มท้อง
  • ความสูงของคอกขึ้นอยู่กับว่าเป็นคอกสุกรระยะใด เช่นตั้งแต่ 50-70cm. เป็นสุกรเล็ก ,ตั้งแต่ 1.30-1.50 mขึ้นไป เป็นคอกของสุกรขุน
8 ) ประตู
  • ความกว้างของประตูสำหรับแม่สุกรและสุกรรุ่น-ขุน ควรเป็น 65-70 cm.
  • ประตูควรอยู่ด้านข้างหรือด้านมุมของคอก (เป็นการแบ่งคอก)
  • ควรอยู่ใกล้แนวทางเดินปฏิบัติงาน การเปิดประตูให้เปิดแบบเปิดออกไปข้างนอกเพื่อเป็นแนวกั้นสุกรเวลาเดิน คอกอนุบาลไม่ต้องมีประตู
9 ) ที่ให้น้ำ
  • ให้น้ำในรางอาหาร(การให้อาหารแบบเปียก)หรือให้ในรางให้น้ำที่ทำจากอิฐแดงฉาบด้วยปูนเป็นบล็อกสี่เหลี่ยม
  • ที่ให้น้ำ Nipple(หัวดูด) อาศัยแรงดันของน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้แบบนี้
  • ที่ให้น้ำกับรางอาหารควรอยู่คนละที่กันยกเว้นคอกแม่สุกรที่อยู่ในที่แคบ ๆ จะให้ใกล้กัน
  • ความสูงของการติดตั้งที่ให้น้ำขึ้นอยู่กับว่าเป็นคอกสุกรระยะไหน ่ลูกสุกรดูดนม 15-20 cm. จากพื้น สุกรหลังหย่านม 30-40 cm. จากพื้น่สุกรขนาดใหญ่ 40-50 cm จากพื้น
10) รางอาหาร ชนิดของรางอาหารขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้สุกรกินอย่างไร
10.1รางอาหารกล นิยมใช้กันมากที่สุด สุกรกินอาหารได้ตลอดเวลา มีช่องบังคับการไหลของอาหาร สุกรจะคุ้นเขี่ยอาหารมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับช่องที่ให้อาหารไหลออกมา มี 2 แบบ คือแบบกลมและแบบสี่เหลี่ยม
  • ที่ให้อาหารแบบกลมตัวถังจะทำด้วยแสตนเลส, สังกะสี และฐานจะหล่อด้วยเหล็กหนัก ๆ เพื่อไม่ให้ล้ม
  •     
  • ที่ให้อาหารแบบสี่เหลี่ยม มีการให้ 2 แบบคือให้กินด้านเดียวอีกด้านหนึ่งจะชิดติดกำแพง หรือตั้งไว้ตรงกลางคอกโดยให้กิน 2ด้าน วัสดุที่ใช้ทำคือ สังกะสี,อะลูมิเนียม ต้องหมั่นสังเกตว่ามีอาหารติดอยู่ในที่ให้อาหารหรือเปล่า อย่าให้มีเชื้อราติดตามที่ให้อาหาร
10.2รางอาหารแบบธรรมดา ใช้อิฐแดงก่อแล้วฉาบด้วยปูน ให้อาหารได้ไม่มาก ต้องมีพื้นที่เพียงพอ ต้องมีขนาดเหมาะสมกับอายุสุกร
    
  • สุกรหลังหย่านม กว้าง 12 cm.
  • สุกรรุ่น กว้าง 20 cm.
  • สุกรขุน กว้าง 22-25cm.
  • รางอาหารสุกรดูดนม เป็นรางอาหารเล็ก เพื่อการปรับตัวของลูกสุกร จะให้อาหารเสริมเมื่อแม่สุกรผลิตน้ำนมไม่เพียงพอและให้อาหารเลียราง รางมีความกว้าง 10-12 cm. ,ลึก 10cm. ด้านหนึ่งยึดไว้กับผนัง

สายพันธุ์ของสุกร

สายพันธุ์ของสุกร
1)Large White(พันธุ์ลาร์จไวท์) เกิดจาการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Lechester (ไลเคศเตอร์) กับสุกรพันธุ์ Yerkshire (ยอร์คชายร์)เป็นสุกรดั้งเดิมในเมืองยอร์คชายร์ นำเข้าไปที่อเมริกา แคนนาดา ในคตวรรษที่ 19 ลักษณะ ขนและหนังสีขาวตลอดลำตัว บางตัวอาจจะมีจุดสีดำปรากฏที่ผิวหนังบ้าง จมูกยาว หูตั้ง หัวโต ลำตัวยาว แคบลึก ไหล่โต แต่สะโพกไม่โตเห็นเด่นชัดนัก(ตัวผู้โตเต็มที่ 250 - 300 กก. ตัวเมีย 150 - 220 กก.)เจริญเติบโตเร็ว ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง
2)Landrace (พันธุ์แลนด์เรซ) กำเนิดที่ประเทศเดนมาร์กต้นกำเนิดคือ Large White กับพันธุ์ดั้งเดิมของเดนมาร์ก จึงตั้งชื่อว่า Damish Landraace ปรับปรุงโดยเน้นให้สุกรมีเนื้อ 3 ชั้นสวย อเมริกานำเข้าประเทศศตวรรษที่ 19 โดยผสมกับพันธุ์ Poland China ลักษณะ จมูกยาว หัวเรียวเล็ก หูปรกใหญ่ลำตัวยาว จำนวนซี่โครงประมาณ 14 - 17 คู่ หนาลึก ไหล่กว้างหนา ขาสั้น กระดูกเท้าอ่อนกว่าพันธุ์อื่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ให้นมมาก เติบโตเร็ว
3) Doroc Jersey (ดูร็อคเจอร์ซี่) อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา สีแดง บางที่ว่าสีแดงเกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่าง พันธุ์ Tamwoth เป็นลูกผสมของ Jersey Red ผสมกับพันธุ์ Doroc ลักษณะ สีแดงล้วนในปัจจุบันมีสีตั้งแต่ น้ำตาลฟางข้าวถึงน้ำตาลแดงเข้ม แข็งแรง บึกบึน เลี้ยงลูกเก่ง หน้าหักเล็กน้อย โคนหูตั้งปลายหูปรกเล็กน้อย หูใหญ่ปานกลาง ให้เนื้อดี เหมาะใช้เป็นสายพ่อพันธุ์
4) Cherter White (เชสเตอร์ไวท์) เป็นสุกรเมืองเชสเตอร์ ผสมจาก Large White กับ Lincollnshire(จาก 3 สายพันธุ์) ลักษณะ สุกรขาวแต่อาจมีจุดดำ รูปหน้าเล็กสวยงาม หน้าตรงยาวปานกลาง หูปรก ตาโต ตะโพกอวบนูน ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง แต่มีข้อเสียคือไม่ทนต่อสภาพแดด
5) Berckshire (เบอร์กเชียร์) ต้นกำเนิดอยู่ที่เมืองเบอร์กเชียร์ตอนใต้ของอังกฤษ เป็นลูกผสมระหว่าง สุกรอังกฤษ จีน และไทย สีดำ มีสีขาวอยู่ 6 แห่ง คือ หน้าผาก ปลายหาง เท้าทั้ง 4 จมูกสั้น หน้าหัก หน้าผากกว้าง หูเล็กตั้งตรงแต่อายุมากหูจะปรกไปด้านหน้าเล็กน้อย คางใหญ่ย้อยมาถึงลำคอเป็นสุกรขนาดกลางตะโพกใหญ่ บึกบึน ใช้เป็นสุกรสายพ่อพันธุ์ ให้เนื้อมาก
6) Poland China (โปแลนด์ไชน่า) ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาเป็นพันธุ์ที่ผสมมาจากสุกรรัฐเซีย จีน อังกฤษ ชาวโปแลนด์เลี้ยงจึงขึ้นต้นด้วย Poland แต่สายพันธุ์มาจาก China ลักษณะ สีดำ มีจุดขาว 6 แห่ง 4 แห่งที่เท้า และอีก 2 แห่งที่จมูกและหน้าผาก หน้าผากยาวปานกลาง ลำตัวยาว ลึก หลังกว้าง ให้เนื้อดี หน้าหักเล็กน้อย หูปรก
7) Spotted Poland China เกิดจากการผสมระหว่างสุกรจีนกับ Poland China จะมีสีดำ : ขาว สีขาวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้รวมสีขาวที่เท้า
8) Hamshire (แฮมเชียร์) อยู่ตอนใต้ของอังกฤษ มีแถบขาวพาดที่ไหล่ ผสมระหว่างพันธุ์ที่มีสีขาวพาดที่อกกับพันธุ์ของอังกฤษ(Exxes) ลักษณะหน้ายาว หูตั้ง สีดำ ให้ลูกดก แข็งแรง สุกรให้เนื้อ มีความคงทนต่อดินฟ้าอากาศและเชื้อโรค แต่มักเป็นโรคโพรงจมูกอักเสบง่าย
9) Pietrain มาจากเบลเยี่ยม ลำตัวขาว ตะโพกสวย และจะมีกล้ามเนื้อที่ไหล่และตะโพก ที่มีการพัฒนามีลักษณะซากที่ดีกว่าพันธุ์อื่น แต่การเติบโตช้า อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อไม่ดี
พันธุ์สุกรทางการค้า
1) Hypor เป็นลูกผสมทางการค้า ผสมประมาณ 4 - 5 สายพันธุ์ CP นำเข้า
2) Seqhers มีลักษณะ ช่วงลำตัวยาวกว่า Hypor รวมจากสายพันธุ์ต่าง ๆ CP นำเข้า
3) Babcock
สุกรพื้นเมืองในไทย จะเรียกชื่อตามที่อยู่ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า หลังแอ่น พุงหย่อน หนังหนา ตะโพกเล็ก อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ
1) พันธุ์ไหหลำ เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในสุกรพันธุ์พื้นเมือง ขนาดหัวใหญ่ปานกลาง คางหย่อน ไหล่กว้าง พุงหย่อน หลังแอ่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ตัวผู้หนัก ประมาณ 120 - 150 กก. ตัวเมียหนักประมาณ 90 - 110 กก. เลี้ยงในภาคกลางและภาคใต้
2)พันธุ์ควาย เลี้ยงมากตามภาคเหนือ สีคล้ายพันธุ์ไหหลำ หน้าผากมีรอยย่นใบหูใหญ่ปรก(ตกปลาย)ปลายหูเล็ก พุงหย่อน หลังแอ่น ขนาดเล็กกว่าพันธุ์ไหหลำ ตามีวงแหวนสีขาวรอยดวงตา เติบโตช้า
3) หมูกระโดนหรือหมูราด คล้ายกับพันธุ์ Berkshire ตัวสั้น ป้อม ใบหูเล็กตั้งตรง ว่องไว ปราดเปรียว หากินในป่าเก่ง กระดูกเล็ก เนื้อแน่น
4) พันธุ์พวง ขนแข็ง ผิวหนังหยาบ คางใหญ่ ไหล่กว้าง ตะโพกเล็ก หลังแอ่น พุงหย่อน
สุกรแบ่งตามการให้เนื้อออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1) Meat Type ให้เนื้อ เนื้อแดงมากไขมันน้อย ลักษณะเด่น คือคุณภาพซาก เช่น Duroc,Berkshire
2) Lard Type ให้ไขมัน ได้แก่จำพวกสุกรพันธุ์พื้นเมืองต่าง ๆ
3) Bacon Type ให้เนื้อเบคอน (เนื้อ 3 ชั้น) เนื้อบริเวณท้อง เช่น Large White ,Landrace

ความต้องการพื้นฐานของการเริ่มต้นเลี้ยงสุกร

ความต้องการพื้นฐานของการเริ่มต้นเลี้ยงสุกร

อาหาร (Foods) สุกรฝูงปิดมีความต้องการอาหาร 1.5 กิโลกรัม/ตัว/วัน เป็นค่าเฉลี่ยของสุกรทั้งฝูง การตั้งฟาร์มควรตั้งใกล้แหล่งที่ใกล้วัตถุดิบอาหารสัตว์ ใกล้แหล่งตลาดรับซื้อสัตว์
น้ำ (Water) แหล่งของน้ำที่ดีต้องสะอาด ความต้องการน้ำในสุกรจะแตกต่างกัน สุกรที่โตเต็มวัยต้องการมาก น้ำมีอิทธิพลต่อสุกรมากในช่วงให้นมถ้าสุกรให้นมมากความต้องการน้ำจะเพิ่ม ขึ้น และสุกรก็ต้องใช้น้ำในการขับถ่ายด้วย
การคมนาคมและการตลาด (Transportation & Marketiong ) การคมนาคมขนส่งทำให้สุกรเสีย น้ำหนักตัวระหว่างการขนส่งเพราะอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างเคลียดและไม่ได้กิน อาหารจึงทำให้นำอาหารที่สะสมอยู่มาใช้
ทำเลที่ตั้ง(Location) แผนผังที่อยู่ในฟาร์มควรตั้งให้อยู่ไกลที่ชุมชน และต้องมองว่าต่อไปจะมีคนไปอยู่ดูแล การวางผังฟาร์มก็ควรคำนึงถึงสิ่งที่ก่อตั้งต่าง ๆ ภายใน เช่น โรงเรือน บ่อน้ำเสีย เพื่อให้ระบบระบายอากาศสะอาด
โรงเรือนและอุปกรณ์ (Hosting & Equion) ภายในโรงเรือนควรจัดให้เหมาะสมว่าสุกรประเภทใด จะจัดพื้นที่ให้เท่าไร สุกรแต่ละรุ่นต้องการพื้นที่ต่างกัน เช่น ซองสุกรขนาด 2 * 2 สามารถนำมาดัดแปลงเป็นซองคลอดได้ ซองอุ้มท้องกว้าง 60 ซม. ยาว 2 ม. พื้นที่สุกรเฉลี่ยประมาณ 1 ตารางเมตร/ตัว แต่ละซองจะต้องมีทางระบายของเสียเชื่อมระหว่างโรงเรือนซองคลอดควรอยู่ใกล้ซองอนุบาล โรงเรือนสุกรขุนควรอยู่ใกล้ประตูเข้า - ออก ที่พักอาศัยของเจ้าของและคนงานในฟาร์ม ที่อยู่ของคนงานควรอยู่ใกล้กับโรงเรือน
ผู้เลี้ยงสุกร ควรมีลักษณะดังนี้
1)เป็นคนรักสัตว์
2)มีความสามารถและตั้งใจที่จะเรียนรู้การเลี้ยงสุกร
3) ควรเป็นคนที่ซื่อสัตว์(รายงานผลเกี่ยวกับฟาร์มตามจริง)
4) เป็นคนขยัน เพราะการเลี้ยงสัตว์จะมีงานให้ทำต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
5) ผู้เลี้ยงสุกรที่ดีควรเป็นคนที่มองการไกลบ้าง
6 )มีลักษณะที่ตรงต่อเวลาและต้องการผู้ดูแลตลอดเวลาสำหรับพ่อแม่พันธุ์
7) ผู้เลี้ยงจะต้องเป็นคนประหยัด
8) ผู้เลี้ยงจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของการเลี้ยงสุกรได้
9) มีความเมตตาต่อสัตว์ มีความรู้ที่จะปฏิบัติต่อสัตว์เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด
การศึกษาความเป็นไปได้ของการเริ่มต้นการเลี้ยงสุกร(Feasibility Study)จำเป็นต้องมีข้อมูลในการศึกษา
1.ข้อมูลด้านการผลิตสุกร
1.1ขนาดของคอกแรกเกิด(Litter Size At Birth) สุกรนาง(Sow) ให้ลูกประมาณ 10 ตัว และสุกรสาว(Gilt) ให้ลูกประมาณ 9 ตัว
1.2 อัตราตายแรกเกิด(Stillborn Pigs) 6 %
1.3 อัตราการตาย (Mortallity) ก่อนหย่านม 10 %, หลังหย่านม 4 % และสุกรสาว สุกรนาง และพ่อสุกร 5 %
1.4 อัตราการคัดทิ้ง สุกรสาวทดแทน 10 - 15 %, สุกรนางทุก ๆ ครั้งของการให้ลูก 15 - 20 % และพ่อสุกรทุก ๆ ปี 30 %
1.5 อายุเมื่อหย่านม 28 - 35 วัน
1.6 ช่วงหลังหย่านมจนถึงการผสมติด 20 - 26 วัน
1.7 ช่วงการให้ลูกแต่ละครั้ง 162 วัน
1.8 ระยะเวลาท้อง 114 วัน
1.9 อัตราการผสมติด 80 %
1.10 ดัชนีการให้ลูก 2.08 - 2.25 (ขึ้นอยู่กับว่าแม่สุกรให้ลูกได้กี่ครั้ง)
1.11 ช่วงชีวิตการให้ลูกของแม่สุกร 4 - 5 ครั้ง
1.12 สัดส่วน พ่อสุกร : แม่สุกร 1 : 20 - 30
2.อัตราการกินอาหารคำนวณได้จาก
2.1 การกินอาหารของสุกรแต่ละตัวตามอายุของสุกรดังนี้
อายุ (เดือน)
ปริมาณที่กินต่อวัน(ก.ก.)
น้ำหนักตัวสุกร(ก.ก.)
1
0.20
6.5
2
0.50
18
3
0.85
35
4
1.30
55
5
1.80
75
6
2.30
90
7
2.80
110
สุกรพ่อแม่พันธุ์และสุกรสาวทดแทนกินอาหารวันละ 3 กิโลกรัม 2.1คำนวณจากจำนวนสุกรทั้งหมดภายในฟาร์มฝูงปิดโดยคิดเฉลี่ยสุกรทุกตัวในฟาร์ม ทั้งลูกสุกร สุกรเลิก ถึงที่ส่งตลาด สุกรพ่อแม่พันธุ์กินอาหารวันละ 1.5 กก. (น.น.สุกรขนส่งตลาด 90 กก. )ในกรณีที่สุกรขนส่งตลาดน้ำหนักตัวต่ำกว่า 90 กก. ปริมาณอาหารของสุกรทุกตัวภายในฟาร์มจะต่ำหว่าวันละ 1.5 กก.(ใช้ได้เมื่อการผลิตสุกรสม่ำเสมอ)
3.แรงงาน คำนวณได้ขึ้นอยู่กับสภาพของท้องถิ่นต่าง ๆ และขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม(เป็นเกษตรกรรม,โรงงาน) รายได้ของแต่ละท้องที่ไม่เท่ากัน
4. ค่าน้ำ ค่าเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า เปลี่ยนแปลงไปตามท้องถิ่นหรือชุมชน
5. ค่ายาและเวชภัณฑ์ ประมาณ 5 - 6 % ของต้นทุนค่าอาหาร
6.ค่าโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ ประมาณ 1 หน่วย ต่อต้นทุนการผลิตต่อตัว 7. ค่าเบ็ดเตล็ด ประมาณ 10 %ของต้นทุนทั้งหมด

ประวัติของการเลี้ยงสุกร

ประวัติของการเลี้ยงสุกร
swine1-1           เริ่มในยุค Neolithesage สุกรที่พบมีต้นกำเนิดมาจากสุกรป่ายุโรป มีชื่อวิทยาศาสตร์ Sus scrofa และสุกรที่พบในแถบเอเซียอินเดีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ Sus Vittatus ชาติแรกที่ในมาเลี้ยงคือจีน เลี้ยงแบบปศุสัตว์เกือบ 5,000 ปี ก่อน คศ. 800 ปีก่อน ค.ศ. มีบันทึกว่าอังกฤษนำมาเลี้ยง แพร่ไปเขตอเมริกาโดยโคลัมบัส เข้าไปในช่วง ค.ศ. 1539 (ปีที่พบดินแดนใหม่)ไปสู่รัฐฟอริดา โดยชาวสเปนนำสุกรไปแพร่หลาย ไทยเริ่มเลี้ยงโดยชาวจีนที่อยู่ในไทย โดยเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและอาชีพเสริม เป็นสุกรพันธุ์พื้นเมืองของชาวจีนและไทย เช่นพันธุ์ไหหลำ ที่นำมาจากต่างประเทศ คือ พ.ศ. 2461 พันธุ์ Large Black, Essex จากประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2482,2492 พันธุ์ Midle White,Berkshire และ Worth จากยุโรปและอเมริกา ฯลฯ การเริ่มต้นในการเลี้ยงสุกร

ข้อดี
  • กินอาหารข้นเป็นหลัก ผลิตเนื้อเพื่อเป็นอาหารและกินอาหารข้นมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว(อัตราแลกเนื้อ,Feed Conversion ratio,FCR)สูง สุกรกินอาหาร 2.6-3.5 กิโลกรัม อาจทำให้น้ำหนักเพิ่ม 1 กิโลกรัม
  • สุกรเป็นสัตว์ให้ลูกเป็นจำนวนมาก แม่สุกรดีควรให้ลูก 14 -23 ตัวต่อปี ระยะเวลาการตั้งท้อง 114 วัน (3เดือน 3 อาทิตย์ 3 วัน) มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว อายุน้อยเมื่อโตเต็มวัย สุกรขุนมีอายุประมาณ 5 เดือน (น.น. 80 - 90 กิโลกรัม) สุกรสาวอายุ 1 ปี สามารถตั้งท้องได้(เรียกว่าเป็นสัด,Heat,Estrus)
  • มีการยืดหยุ่นได้(เลี้ยงสุกรรายย่อย) มีการเสี่ยงน้อยเมื่อภาวะเศรษฐกิจ ทางการตลาดไม่ดี เพราะมีการลงทุนน้อย
  • มีการลงทุนค่าพันธุ์ไม่แพงเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น(สัตว์เคี้ยวเอื้อง)ใน 1 ปี เลี้ยงแม่สุกร 10 ตัวขึ้นไป จะได้ลูกประมาณ 160 ตัวขึ้น
  • การเลี้ยงสามารถเปลี่ยนเป็นเงินหรือวัตถุได้ตลอดเวลา สุกรน.น. 80 -100 กิโลกรัมเป็นช่วงที่จำหน่ายสุกรขุน แต่ถ้าปริมาณสุกรในตลาดมากจะถูกยืดเวลาออกไป ราคาสุกรจะถูกกำหนดโดยผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ
  • พ่อแม่พันธุ์คัดทิ้งยังขายได้ราคาดีแต่ไม่สูงกว่าสุกร อื่น จะขึ้นอยู่กับความแก่ของพ่อแม่พันธุ์ (พ่อพันธุ์ราคาต่ำกว่าแม่พันธุ์) สุกรเพศผู้ที่มีการตอนเมื่อโต(Stag)มีราคาสูงเพราะมีอายุไม่มากและกลิ่น อวัยวะเพศก็ไม่แรงเหมือนพ่อพันธุ์ ตอนในขณะตัวเล็ก ๆ (Barrow)
  • สามารถใช้ผลพลอยได้ทางการเกษตรมาเป็นอาหารสุกรได้และยังมีราคาไม่แพงมาก
  • สุกรเป็นสัตว์ที่ให้ % ซากสูงกว่าสัตว์อื่น( % ซากเปรียบเทียบกับ น.น. ตัวตอนมีชีวิต โดยตัดหัวและเอาเครื่องในออกแล้ว มี 75 - 80 % ของน้ำหนักตัวที่มีชีวิต)
ข้อเสีย
  • การเลี้ยงมีการสูญเสียมากมีสาเหตุมาจาก โรค พยาธิ และการจัดการฟาร์ม ทำให้เกิดภาระการขาดทุน(มีความเสี่ยงมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นยกเว้นสัตว์ปีก)การให้วัคซีนจะแตกต่างกันไปตาม พื้นที่ระบาดของโรคพ่อแม่พันธุ์อาจต้องให้วัคซีนเกี่ยวกับโครงจมูกและการสืบพันธุ์มาก
  • อาหารที่ให้เป็นอาหารข้น ใช้อาหารหยาบน้อย ต้นทุนในการเลี้ยงจึงสูง อาหารข้นราคา อาหารข้นราคาแพง มีระดับเยื่อใยสูงกว่า 18 (อาหารหยาบ) และมีโภชนาการต่ำ
  • เนื่องจากสุกรใช้อาหารข้น อาหารข้นมีราคาแพงจึงทำให้อาหารมีการปลอมปน การจัดหาก็ต้องมีความสม่ำเสมอ โรงเรือนขนาดใหญ่จะมีโกดังเก็บอาหารไว้ 1 - 2 เดือน ในการเลี้ยงสุกรไม่ควรยึดติดกับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ถ้าอาหารชนิดนั้นแพงก็ควรเลือกใช้สิ่งอื่นทดแทนแต่ก็ต้องคำนึงถึงราคาและคุณภาพวัตถุดิบด้วย
  • ความผันแปรของราคาสุกรในตลาดถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค ความผันแปรมีมากในสุกรมีชีวิต ความผันแปรของอาหารสัตว์จะสูงช่วงต้นฤดู เนื่องมาจากต้นฤดูและปลายฤดูคุณภาพอาหารสัตว์มีความแต่งต่างกันจึงทำให้ราคาไม่เท่ากัน ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือส่วนมากนำเข้าจากต่างประเทศ
  • ความต้องการด้านแรงงานสำหรับสุกรต้องการมากช่วงใกล้คลอดจนถึงเลี้ยงลูก ลูกสุกรขณะคลอดและขณะตัวเล็กมักมีอัตราการตายสูง อัตราค่าจ้างจะขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่ทำ
  • กลิ่น แมลง ยุง โดยเฉพาะกลิ่นเป็นปัญหาที่รุนแรงและเป็นที่รังเกียจของคนและยังเป็นมลภาวะน้ำเสียเป็นปัญหาใหญ่