Saturday, December 8, 2012

มาตรฐานการผลิตสุกร

มาตรฐานการผลิตสุกร เอกสาร คำแนะนำมาตรฐานการผลิตสุกรนี้นำเสนอค่าตัวเลขที่แสดงสมรรถภาพการผลิตของฝูง สุกร  ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยในการจัดทำงบประมาณ และการตั้งค่าเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสุกร ประสิทธิภาพของการผลิตสุกรรายตัวและของฝูงนั้น จะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม อาหาร สุขภาพ คอก โางเรือน และการจัดการเลี้ยงดู มาตรฐานการผลิตนี้ ควรดูค่าแต่ละรายการมาตรฐานอิสระต่อกัน โดยไม่ดูเป็นรายคอลัมน์ ตัวอย่างเช่น การตายก่อนหย่านม 8% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก แต่ในทางปฏิบัติครอกขนาดแล็ดที่ลูกสุกรตัวโต จะสามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ง่ายกว่าครอกขนาดใหญ่ที่ลูกสุกรตัวเล็ก ในทำนองเดียวกันอัตราการเจริญเติบโตต่อวันขึ้นอยู่กับน้ำหนักส่งตลาดด้วย ค่ามาตรฐานเหล่านี้เป็นค่าที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศ ออสเตรเลีย แถบตอนเหนือ ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นใกล้เคียงกับประเทศไทย วงการอุตสาหกรรมการผลิตสุกร   ของไทย สามารถนำค่ามาตรฐานเหล่านี้ไปเปรียบเทียบและใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง มาตรฐานการผลิตสุกรในประเทศไทยได้
                                            

 ลักษณะมาตรฐาน
 พอใช้
   ดี  ดีมาก
 ฝูงสุกรพ่อแม่พันธุ์   
 จำนวนลูกคลอดมีชีวิตต่อครอก (ตัว) 9.0 10.5 11.0
 จำนวนลูกตายก่อนคลอดต่อครอก (ตัว) 0.8 0.6 0.5
 อัตราการตายก่อนหย่านม (%) 13.0 11.0 8.0
 อัตราการคลอด (%) 82.0 87.0 89.0
 จำนวนครอกต่อแม่ต่อปี (ครอก) 2.1 2.2 2.3
 นำหนักแรกคลอด (กิโลกรัม) 1.2  1.4  1.45 
 น้ำหนักเมื่ออายุ 28 วัน (กิโลกรัม) 6.7  7.7  8.0
 ฝูงสุกรรุ่น
 อัตราการตายหลังหย่านม (%)
 อัตราการเปลี่ยนอาหารต่อน้ำหนักซาก (FCR) 3.6 3.3  2.8 
 อัตราการเจริญเติบโตตั้งแต่เกิดถึงซาก 100 กิโลกรัม (g/d) 440  490  560 
 รวมสุกรทั้งฝูง
 จำนวนลูกสุกรหย่านมต่อแม่ต่อปี (ตัว) 18  20  22 
 อัตราการเปลี่ยนอาหารต่อน้ำหนักซาก (FCR) 4.5  4.0  3.8 
                                              คำอธิบายการคำนวณมาตรฐาน
  อัตราการตายก่อนหย่านม = ((จำนวนลูกเกิดมีชีวิต - จำนวนลูกหย่านม) x 100) / จำนวนลูกเกิดมีชีวิต
  อัตราการคลอด = สัดส่วนเป็นร้อยละของแม่ที่คลอดต่อจำนวนครั้งที่ผสมพันธุ์ทั้งหมด
  จำนวนครอกต่อแม่ต่อปี =((จำนวนครอกที่คลอดในช่วงเวลาที่กำหนด / จำนวนแม่เฉลี่ยในช่วงเวลาที่กำหนด) x 12
                                    / จำนวนเดือน (ตามช่วงเวลาที่กำหนดนั้น)
  เมื่อคำนวณ "จำนวนแม่เฉลี่ย" ต้องรวมเอาแม่ที่มีอยู่ทุกตัว ทั้งแม่สาวที่ได้รับการผสมแล้ว และแม่ที่กำลังรอการผสมพันธุ์
หาค่าเฉลี่ยจำนวนแม่ตลอดช่วงระยะที่กำหนด
  FCR = จำนวนอาหารที่ต้องการ เพื่อผลิตเนื้อสุกร 1 กิโลกรัม อาจจะเป็นน้ำหนักซากตกแต่ง หรือน้ำหนักมีชีวิต ในระยะเวลาที่กำหนด อาจจะเป็นการวัดเฉพาะของสุกรรุ่นอย่างเดียว หรือของทังฝูงรวมสุกรพันธุ์และสุกรรุ่นด้วยกัน ประสิทธิภาพการใช้อาหารจะลดลง เมื่ออายุมากขึ้น
  น้ำหนักซาก (น้ำหนักซากอุ่นตามมาตรฐาน (HSCW)) = น้ำหนักมีชีวิต x เปอร์เซ็นต์ซาก
  เปอร์เซ็นต์ซาก = (น้ำหนักซาก / น้ำหนักมีชีวิต) x 100
โดยทั่วไปสุกรที่มีน้ำหนักมากกว่าจะมีเปอร์เซ้รต์ซากสูงกว่า จะมีค่าประมาณ 72 % ถึง 80 %

0 comments:

Post a Comment