Friday, June 13, 2014

การเลี้ยงสุกรขุน


1.การเลี้ยงสุกรขุน แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่องสุกรขุน
โรงเรือน การทำโรงเรือนพอประมาณ คือ ยาว 5 เมตร กว้าง 3.5 เมตร จะเลี้ยงได้ประมาณคอกละ 20 ตัว แล้วก่ออิฐ 1 ก้อน ล้อมคอกบองสุกร และเราต้องตีไม้ล้อมรอบสูงจากอิฐขึ้นไปประมาณ 1 เมตร บริเวณที่ตั้ง กลางที่โล่งให้อากาศถ่ายเทสะดวก เพราะสุกรจะเย็นทำให้สุกรเลี้ยงง่าย และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ถ้าเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ คอกยาว 3 เมตร กว้าง 1.5 เมตร อาหารจะเป็นรำอ่อน และหัวอาหารชนิดแม่พันธุ์
อุปกรณ์การเลี้ยง 1. ถังอาหารประมาณ 2 ถัง 2. ก๊อกน้ำ 3. เครื่องปั้มน้ำ 4. แถ้งน้ำ หรือ ที่เก็บน้ำ 5. สายยาง 6. ไม้กวาด ระบบระบายน้ำ ขุดคลองระบายลงสู่ทุ่งนา
อาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร 1. อาหารที่ใช้เลี้ยง คือ ท็อปฟิต ชนิดน้ำนม วิธีการใช้อาหารน้ำนม ให้แก่สุกรตอนออกจากแม่ใหม่ๆ 15 วัน วัตถุดิบประสมได้แก่ น้ำนมสัตว์ ปลาป่น และเนื้อ และกระดูกป่น กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองอบ ข้าวโพดป่น แคลเซียม รำละเอียด ไขมันสัตว์ เกลือ วิตามิน กรดอะมิโน สามารถถนอมคุณภาพอาหารสัตว์
2. อาหารเบอร์ 1 ชื่ออาหารแหลมมอง วิธีการใช้อาหารแหลมทองจาก 15 วัน หรือครึ่งเดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง น้ำหนักสุกรประมาณ 30-60 กิโลกรัม วัตถุดิบส่วนผสม คือ ปลาป่น และเนื้อ และกระดูกป่น กากถั่วเหลือง หรือถั่วเหลืองอบ ข้าวโพดป่นหรือปลายข้าว และมัน สำปะหลัง รำละเอียด และรำสกัดน้ำมัน ไขมันสัตว์ และน้ำมันพืช แคลเซียมคาร์บอเนต และไดแคลเซียม ฟอสเฟต และโมโนแคลเซียมฟอสเฟต เกลือ วิตามิน กรดอะมิโน สามารถถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ คำเตือน ห้ามนำไปใช้เลี้ยงเคี้ยวเอี้ยง
3. อาหารเบอร์ 2 ชื่ออาหารแหลมมอง วิธีการใช้อาหารแหลมทองจาก 15 วัน หรือครึ่งเดือน ถึงอีก 1 เดือนครึ่ง น้ำหนักสุกรประมาณ 30-60 กิโลกรัม วัตถุดิบส่วนผสม คือ ปลาป่น และเนื้อ และกระดูกป่น กากถั่วเหลือง หรือถั่วเหลืองอบ ข้าวโพดป่นหรือปลายข้าว และมัน สำปะหลัง รำละเอียด และรำสกัดน้ำมัน ไขมันสัตว์ และน้ำมันพืช แคลเซียมคาร์บอเนต และไดแคลเซียม ฟอสเฟต และโมโนแคลเซียมฟอสเฟต เกลือ วิตามิน กรดอะมิโน สามารถถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ คำเตือน ห้ามนำไปใช้เลี้ยงเคี้ยวเอี้ยง
4. อาหารเบอร์ 3 ชื่ออาหารแหลมมอง อาหารรวม วิธีการใช้อาหารแหลมทองจาก 3-4 เดือน น้ำหนักสุกรประมาณ 70-100 กิโลกรัม วัตถุดิบส่วนผสม คือ ปลาป่น และเนื้อ และกระดูกป่น กากถั่วเหลืองหรือถั่วเหลืองอบ ข้าวโพดป่นหรือปลายข้าว และมันสำปะหลัง รำละเอียด และรำสกัดน้ำมัน ไขมันสัตว์และน้ำมันพืช แคลเซียมคาร์บอเนต และไดแคลเซียมฟอสเฟต และโมโนแคลเซียมฟอสเฟต เกลือ วิตามิน กรดอะมิโน สามารถถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ คำเตือน ห้ามนำไปใช้เลี้ยงเคี้ยวเอี้ยง
คุณภาพของอาหารสัตว์ทางเคมี โปรตีนไม่น้อยกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน ไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ กากไม่มากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นไม่มากกว่า 13 เปอร์เซ็นต์
การเลี้ยงสุกรขุน พอเราเอาออกจากแม่ 30 วัน ขั้นตอนที่ 1 ล้างคอกที่เราจะเอาสุกรไปเลี้ยงให้สะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้ออโรค
ขั้นตอนที่ 2 เราก็เอาสุกรที่เราจะเลี้ยงไปใส่คอกอนุบาลก่อนโดยประมาณ 15 วันเพื่อให้สุกรชินกับอาหารและตอนที่อยู่ในคอกอนุบาลอย่าทำให้สุกรเปียกน้ำ เพราะจะทำให้สุกรป่วยหรือเป็นอันตรายได้
ขั้นตอนที่ 3 พอถึง 15 วันแล้วเราก็ต้องฉีดยาฆ่าพยาธิ
ขั้นตอนที่ 4 เราก็ต้องนำเอาสุกรลงสู่คอกใหญ่
ขั้นตอนที่ 6 พอถึง 2 เดือนเราต้องเปลี่ยนอาหารเป็นเบอร์ 2
ขั้นตอนที่ 5 พอสุกรได้ 1 เดือนเราก็เปลี่ยนอาหารจากน้ำนมเป็นอาหารเบอร์ 1
ขั้นตอนที่ 7 พอ 2 เดือนผ่านไปพอถึง 3 เดือนเปลี่ยนอาหารรอมจนถึง 4 เดือนเราก็ขายได้
ข้อควรปฏิบัติ 1. เราต้องทำความสะอาดคอกทุกวันเพื่อไม่ให้สุกรสกปรกมากจนเกินไป 2. เวลาสุกรป่วยเราต้องไปปรึกษาปตุสัตย์
สมาชิกในกลุ่ม 1. นายโกวิทย์ มุละสิวะ เลขที่ 7 2. นายสิรภพ กาหลิบ เลขที่ 5 3. นายศรัญ พสุจันทร์ เลขที่ 10 4. นายศักดิ์ภานุมาส อาจหาญ เลขที่ 11 5. นายภาษิต อินทนาม เลขที่ 4 6. นายปัญจพล เศิกศิริ เลขที่ 8 7. นายศราวุฒิ มุละสิวะ เลขที่ 16 8. นายกฤษณะ เวชกามา เลขที่ 3

Wednesday, June 5, 2013

การฆ่าและตัดแต่งซากสุกร

การฆ่าสุกร
ก่อนการฆ่าต้องมีการเตรียมตัวสัตว์ สุกรควรมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรค ผ่านการสุขาภิบาลที่ดี
การเตรียมสัตว์
  • สุกรต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรค
  • สัตว์ที่จะนำมาฆ่าไม่ควรทำให้ตกใจหรือกดดันเพราะเลือดจะไปคั่งตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้เป็นแหล่งของจุลินทรีย์การเก็บรักษาจะเก็บได้ระยะเวลาที่สั้นลง
  • ให้สุกรอดอาหารไม่น้อยกว่า 1 วัน(ทำให้สุกรมีการย่อยอาหารได้หมด)แต่ต้องให้น้ำตลอด
  • หลีกเลี่ยงการให้สุกรอยู่กันอย่างหนาแน่นในระหว่างการขนส่ง
  • ชั่งน้ำหนักสุกรขณะมีชีวิตก่อนทำการฆ่า
ขั้นตอนการฆ่า
1. ทำให้สุกรสลบ (Stunning)
  • ใช้เครื่องมือกล เช่น ใช้ปืนยิง(Captive Blot Stunner)โดยยิงที่หน้าผาก
  • ใช้วิธีทางเคมี ให้สุกรสูดก๊าซ Co2
  • แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือการใช้ไฟฟ้า โดยใช้เครื่องช็อตไฟฟ้า (250 - 500 MA ) ความดันของกระแสไฟฟ้า 70 - 85 Volt ใช้เวลา 1 - 4 นาทีในการช็อต ช็อตที่บริเวณโคนหลังหู
2) การเอาเลือดออก(Bleeding) ทำทันทีที่สุกรสลบไปแล้ว
  • ผูกขาสุกรด้วยโซ่แล้วดึงขึ้นให้สุกรห้อยหัวลงมาสูงจากพื้น 1 เมตร
  • ใช้มีดปลายแหลมยาวประมาณ 6 - 7 นิ้ว(ใช้มือที่ไม่ถนัดจับบริเวณไหล่สุกร)
  • ใช้มีดแทงบริเวณใต้คางอย่างรวดเร็ว โดยแทงเฉียงปลายมีดไปทางโคนหาง
  • ดันมีดเข้าไปให้ถึงแนวกระดูกสันหลัง บิดปลายมีดเล็กน้อยเพื่อให้ปลายมีดไปติดกับเส้นเลือดดำใหญ่ (Jugular Vein) และตัดเส้นเลือดแดง (Carotid Artery)
  • ปล่อยให้เลือดไหลออกมามากที่สุด (ออกได้ประมาณ 50 % ของปริมาณเลือด)
3) การลวกน้ำร้อน(Scalding)
  • หย่อนสุกรลงไปในถัง
  • อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ลวก ประมาณ 60 - 65 องสาเซลเซียส
  • แช่ซากสุกรนาน 2 - 4 นาที
  • ทดสอบการขูดขนดูว่าแช่นานพอหรือยัง
  • ในระหว่างการแช่ควรให้ซากสุกรเคลื่อนไปมา เพื่อให้น้ำร้อนแทรกเข้าไปในรูขุมขนได้มากขึ้น
  • อย่าแช่นานเกินเพราะจะทำให้โปรตีนแข็งตัวขึ้นขนจะยึดติดกับผิวหนังทำให้ถอนออกยาก
4) การถอนขนและการขูดขนออก(Dehairing)
  • ดึงสุกรขึ้นมาจากถังลวกน้ำร้อน แล้วนำมาหย่อนลงในเครื่องขูดขน
  • อาจจะตรวจดูอีกรอบเพราะเครื่องไม่สามารถขูดขนตามซอกต่าง ๆ ออกได้หมด
5) เลาะเอากีบเท้าทั้ง 4 ออก แล้วใช้มีดขูดขนตามซอกต่าง ๆ
6) การเปิดเอ็นขาหลัง(เอ็นร้อยหวาย)
  • ใช้มีดกรีดบริเวณท้องแข้งของขาหลัง และสอดเหล็กเข้าไปในในท้องของแข็งขาหลัง
  • ดึงซากสุกรให้อยู่เหนือพื้นใช้น้ำฉีดทำความสะอาด
7) การตัดแยกเอาหัวออก ใช้มีดเลาะกระดูกแทงเข้าไปบริเวณท้ายทอยตรงรอยต่อของกระโหลกศรีษะกับกระดูกคอ
8) ใช้มีดเลาะบริเวณช่องขับถ่าย ใช้ฉีดทำความสะอาดก่อนผ่าซาก
9) ผ่าท้องเป็นแนวยาวจนถึงอก ดึงเอาเครื่องในโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารออกมาก่อน แล้วจึงดึงเครื่องในส่วนระบบหายใจออกมา อาจมีการเช็คเครื่องในและวินิจฉัยซาก
10) ผ่าซากออกเป็น 2 ซีก (ซ้าย - ขวา )โดยใช้เลื่อย
11) นำไปแช่ในห้องเย็น 4 องศาเซลเซียส นาน 24 ชม.แล้วนำไปชั่ง จะได้เป็น %ซาก(ซากเย็น) = (น้ำหนัก ซากเย็น / น้ำหนัก เมื่อมีชีวิต)*100 แต่ถ้าชั่งหลังจากผ่าซากแล้วโดยยังไม่นำเข้าห้องเย็นจะได้ เป็น% ซาก(ซากอุ่น)
การตัดแต่งซาก ใช้ตรวจสอบคุณภาพซากได้ เช่นวัดความหนาของไขมันสันหลังได้
การตัดแต่งซากที่นิยมมีอยู่ 2 แบบ
1) การตัดแต่งซากแบบไทย เแยกเป็นเนื้อแดง,ไขมัน ,เนื้อ 3 ชั้น ,กระดูกซี่โครง
2) การตัดแต่งซากแบบยุโรป & อเมริกา
2.1 ตัดชิ้นใหญ่ ๆ (Whole Sale Cut ) จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน
  • ขาหลัง , (Ham) ได้แก่ส่วนสะโพก
  • สัน (Loin) ที่อยู่ต่ำกว่ากระดูกสันหลัง
  • ไหล่ (Boston Shoulder )
  • สามชั้น (Belly) ท้อง
  • ขาหน้า (Picnic Shoulder)
ซึ่ง ขาหลัง,สันและไหล่จะมีราคาแพง ต่างจากสามชั้นและขาหน้าที่มีราคาถูกมาก
2.2 ชิ้นเล็ก ๆ (Retail Cut )

การบันทึกข้อมูล(Record Keeping)

การบันทึกข้อมูล(Record Keeping)

http://scoop.mthai.com/wp-content/uploads/2009/04/02062_002.jpg
หัวหน้างานจะเป็นผู้ที่อ่านผลและแปรผล ประสิทธิภาพงานฟาร์มจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจดบันทึกข้อมูล ซึ่งในแต่ละฟาร์มจะมีการเก็บข้อมูลต่างกัน ได้แก่
1) บันทึกจำนวนปศุสัตว์
  • บ่งบอกว่ามีสุกรมากน้อยขนาดไหน
  • มีการแยกแยะขนาดของสุกรด้วย เช่น มีแม่พันธุ์ที่อุ้มท้องอยู่กี่ตัว,มีแม่พันธุ์ที่รอผสมอยู่กี่ตัว ,มีพ่อสุกรหนุ่มอยู่กี่ตัว ฯลฯ
  • มักจะทำเป็นรายเดือน
  • มีการจดบันทึกว่ามีสุกรเพิ่มเท่าไร ,ตายเท่าไร
  • สามารถคาดการณ์การเตรียมล่วงหน้าได้ เช่น เดือนนี้มีสุกรมีสุกรเล็ก x ตัวต่อไปควรจะได้ x ตัว
2) บันทึกการผสมพันธุ์,การคลอด,การหย่านม
  • เป็นการจดบันทึกประจำวันแล้วสรุปเป็นรอบเดือน
  • บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะต้องทำต่อไปว่าควรจะเตรียมการอย่างไร เช่นอัตราการคลอดของเดือนนี้ก็คืออัตราการผสมติดของ 3 เดือนที่ผ่านมา(อัตราการคลอดจะน้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราการผสมติด)จึงจำต้องดูข้อมูลจาก 3 เดือนที่ผ่านมาด้วย
  • แม่สุกรที่มีการแท้งลูกก็ต้องนำข้อมูลใส่บันทึกลงไปด้วย
3) บันทึกเกี่ยวกับสมรรถภาพของลูกสุกรภายในคอกนั้น ๆ (เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกสุกร)
  • ต้องมีการบันทึกว่ามาจากพ่อ - แม่ พันธุ์ตัวไหน
  • บันทึกว่ามีลูกสุกรเกิดมากี่ตัวในคลอกนั้น ๆ
  • บันทึกว่าเกิดวันไหน
  • บันทึกว่า มีเพศผู้ - เมีย กี่ตัว
  • บันทึกน้ำหนักแรกเกิด และ หย่านม
  • บันทึกการย้ายลูกสุกรไปอีกคอกหนึ่ง
  • บันทึกอัตราการตายแรกคลอดเท่าไร(มีมัมมี่กี่ตัว)
4) บันทึกเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสุกร
  • ใช้กับแม่สุกรตัวที่บันทึกตัวเดียว(บันทึกประจำตัว)
  • เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ทั้งหมด(อาจมีบันทึกพิเศษเพิ่มก็ได้)
  • บันทึกว่าเบอร์อะไร,มาจากพ่อแม่เบอร์ไหน,เป็นพันธุ์ผสมหรือ พันธุ์แท้,วันที่เกิด,วันที่ทำการผสมพันธุ์,ผสมกับพ่อพันธุ์ตัวไหน,กำหนด คลอด,วันคลอดจริง,จำนวนลูกที่เกิดมาตอนคลอด,ตายกี่ตัว,มีชีวิตกี่ตัว, จำนวนลูกตอนที่หย่านม
  • บันทึกการให้ยา,ให้วัคซีน
5) บันทึกเกี่ยวกับพ่อพันธุ์สุกร
  • เกี่ยวข้องกับพ่อพันธุ์เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกพ่อพันธุ์
  • บันทึกวันที่เกิด,เบอร์พ่อแม่,ลักษณะผิดปกติของลูกสุกรและจำนวนลูกสุกรที่ใช้พ่อพันธุ์ตัวนั้นผสม
  • อัตราการผสมติด(สังเกตที่แม่สุกร)
  • ผลที่เกิดจากการบันทึกจะไปวัดที่ลูกสุกร
  • บันทึกการใช้งานของพ่อสุกร,บันทึกข้อมูลประจำตัว,ให้ยาเมื่อไร
6) บันทึกอัตราการตาย
  • ระบุสาเหตุการตายแล้วนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง
  • ระบุว่าเป็นสุกรที่อยู่ในช่วงใดเป็นสุกรเล็ก,สุกรรุ่น,หรืออื่น ๆ
  • บันทึกเป็นรายวัน,สัปดาห์,เดือน
7) บันทึกเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่กิน
  • บันทึกปริมาณอาหารที่ใช้ไปของแต่ละคอก
  • บันทึกเป็นลักษณะรวม ๆ เป็นคอก ๆ ไปว่าสัปดาห์หนึ่งสุกรคอกนี้ใช้อาหารไปเท่าไร
  • ใช้ประเมินประสิทธิภาพการกินอาหาร
8) บันทึกรายรับ - รายจ่าย ของฟาร์ม
  • ทำบันทึกเป็นรายวันแล้วสรุปเป็นรายเดือน
  • แต่ละที่จะทำการบันทึกแตกต่างกันไป

การจัดการฟาร์มทั่วๆไป

การจัดการฟาร์มทั่วๆไป
การจัดการเลี้ยงดูสุกรจะเป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก เพื่อต้องการผลิตลูกสุกร
1) การจัดการพ่อสุกร (Boar Management)
  • เมื่อสุกรที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ อายุ 5 เดือน ต้องแยกออกมาเลี้ยงต่างหากเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต,ควบคุมน้ำหนัก
  • ฝึกให้สุกรที่แยกออกมาได้เห็นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุกรตัวอื่น ๆ
  • อายุ 8 เดือน เริ่มใช้งานพ่อสุกรได้ (ต้องใช้ให้เหมาะสม)
  • อายุ 8 เดือน - 1ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 1- 2ครั้ง
  • อายุ มากกว่า 1 ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 3- 5ครั้ง
  • ไม่ควรให้สุกรทำงานหนักเกินไป
  • อายุการใช้งานของพ่อสุกร มีประมาณ 2ปี ครึ่ง
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 15 ตัว (แบบผสมจริง)
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 60-100 ตัว (แบบผสมเทียม)
  • ต้องมีการตรวจเช็คน้ำเชื้อพ่อสุกรเป็นระยะเพื่อดูปริมาณความ เข้มข้นของตัวอสุจิว่ามีเท่าไร,ดูตัวเป็นตัวตายของตัวอสุจิ,ดูการพัฒนาของ ตัวอสุจิ,ดูความแข็งแรงของตัวอสุจิ
  • เวลาในการผสมพันธุ์ ควรมีอากาศเย็น อาจเป็นช่วงเช้า 6-8 โมง หรือตอนเย็น ตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป
  • การให้อาหารพ่อสุกร ควรให้ในปริมาณ 2 - 2 กิโลครึ่ง/ตัว/วัน
  • ให้วัคซีนกับพ่อสุกรโดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นโรคสำคัญ
การตอนพ่อสุกร เมื่องดการใช้งานแล้ว เพื่อกำจัดกลิ่นของพ่อสุกร และก่อนทำการตอนต้องให้อดอาหาร24 ชั่วโมง ให้กินแต่น้ำ เพื่อที่จะสะดวกในการมัดสุกร,เลือดไหลน้อย
ขั้นตอนการตอนพ่อสุกร
  1. ฉีดยาสลบ(ต้องมัดสุกรก่อนโดยมัดที่ปากก่อนแล้วจึงมัดเท้าทั้ง4เท้า)
  2. ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  3. ใช้มีดกรีดอัณฑะ(กรีดตามแนวยาว)ความยาวของแผลให้เหมาะสมที่จะบีบลูกอัณฑะออกมา
  4. บีบลูกอัณฑะออกมา
  5. ใช้เชือกรัดส่วนที่เป็นท่อนำน้ำเชื้อ(Spermatic Cord) แล้วจึงตัดออกมา
  6. ทำความสะอาดบาดแผล ใส่ทิงเจอร์ โรยด้วยยากันแมลง(ลูกเหม็นบดก็ได้)
  7. เย็บบาดแผล
  8. ฉีดยาปฎิชีวนะให้แก่พ่อสุกรเพื่อป้องกันการอักเสบ
  9. แก้มัดพ่อสุกร
การจัดการสุกรแม่พันธุ์ (ตั้งแต่เริ่ม)
  • สุกรสาวที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์ เมื่ออายุประมาณ 5เดือน น้ำหนักตัว 80-90 กิโลกรัม ให้แยกออกมาเลี้ยงต่างหาก เพื่อที่ต้องทำการควบคุมน้ำหนัก อายุที่จะเริ่มใช้งานต้องไม่ต่ำกว่า 7 เดือน
  • ช่วงใกล้เป็นสัดจะมีการเพิ่มอาหาร(Flushing/การปรนอาหาร)ให้สุกรโดยเฉพาะอาหารที่ให้ค่าพลังงานเพื่อให้มีอัตราการตกไข่มากขึ้น โดยให้เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยให้ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน จากปกติ 2 กิโลกรัม ให้ก่อนเป็นสัด 1-2 สัปดาห์
  • อายุการใช้งานของแม่สุกรนั้น จะให้ลูก 5.5 คลอก/ตัว
  • สำหรับสุกรที่รอผสมพันธุ์ ต้องตรวจเช็คการเป็นสัดทุกวัน(เช้า - เย็น) สุกรที่รอผสมพันธุ์มักเลี้ยงรวมกัน
  • ผสมพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 2 ของการเป็นสัด
  • หลังจากผสมแล้วทำการแยกสุกรไปอยู่ในคอกเดี่ยว ลดอาหารลงให้อยู่ในระดับปกติโดยประมาณ 1.8 - 2.2 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือนของการอุ้มท้อง และเพิ่มอาหาร(Flushing)ในเดือนที่ 3 จนถึงคลอด (เพิ่ม ครึ่ง - 1 กิโลกรัม)
  • หลังจากผสมแล้ว ต้องตรวจเช็คการผสมติด โดยตรวจเมื่อใกล้กำหนดเป็นสัดอีกครั้ง
  • การเข้าซองอุ้มท้องเข้าโดยการเรียงตามลำดับก่อน - หลัง(ผสมก่อนเข้าก่อน)
  • ก่อนครบกำหนดคลอด 1 สัปดาห์ให้ย้ายสุกรไปที่ซองคลอด และให้อาหารเป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น รำ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
การจัดการแม่สุกรระหว่างคลอด
  • ถ้ามีนมน้ำเหลืองไหลแสดงว่าแม่สุกรจะคลอดภายใน 24 ชม.
  • ต้องดูว่าแม่สุกรคลอดปกติหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาต้องทำการช่วยแม่สุกรคลอด
  • ลูกสุกรที่เกิดมา แล้วให้ทำการเช็ดเมือกบริเวณตัว,ปาก,จมูก ด้วยผ้า
  • ผายปอด(บีบช่องอก)หากลูกสุกรทำท่าจะไม่รอด
  • ผูกสายสะดือลูกสุกรด้วยเชือกที่ฆ่าเชื้อแล้ว โดยห่างจากช่องท้อง 2 นิ้ว แล้วตัดสายสะดือออกให้สั้น
  • ตัดเขี้ยวหรือฟันน้ำนมของลูกสุกรทั้ง 8 เขี้ยว โดยตัดให้ขนานกับเหงือกอย่าตัดเฉียง
  • การตัดหาง นั้นจะตัดหรือไม่ตัดก็ได้แต่ถ้าจะตัดต้องตัด 1 ใน 3 ของหาง
  • ทาทิงเจอร์บริเวณที่ตัดสายสะดือและหางที่ตัด
  • ให้ลูกสุกรได้รับความอบอุ่น และรอจะกว่าแม่สุกรจะคลอดเสร็จ
  • ให้ลูกสุกรได้กินนมน้ำเหลือง( Colostrum มีประมาณ 1 - 2วันแรก)ซึ่งในน้ำนมนั้นจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ถ้าไม่ได้กินลูกสุกรอาจอ่อนแอ และตายได้ง่าย
การจัดการแม่สุกรหลังการคลอด
  • การให้อาหารนั้นไม่ต้องให้มาก ค่อย ๆ เพิ่มอาหารให้ทีละนิด
  • สังเกตว่าเต้านมของแม่สุกรนั้นว่าอักเสบหรือไม่อาการของเต้านมอักเสบจะมีลักษณะสีค่อนข้างแดง(ปกติจะสีชมพู) เต้านมจะแข็ง
  • สังเกตว่ามดลูกอักเสบหรือไม่ ถ้าอักเสบจะมีน้ำหนองไหล ต้องล้างมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทำการฉีดยา
  • การดูแลลูกสุกรนั้นต้องตรวจดูว่า มีน้ำนมให้ลูกสุกรพอกินหรือเปล่า ให้ลูกสุกรทุกตัวได้ดูดนม
  • ให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกรโดยการให้ไฟกกและมีวัสดุรองพื้นถ้าอากาศเย็น
  • ในสัปดาห์ที่แรกที่ลูกสุกรเกิด ต้องทำการฉีดธาตุเหล็ก 2 cc.ให้แก่ลูกสุกร เนื่องจากในน้ำนมมีธาตุเหล็กน้อย เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง,ขี้ไหล
  • ให้หมายเลขประจำตัวแก่ลูกสุกร โดยอาจสักที่ใบหู ,ป้ายหนีบที่ใบหู,แต่วิธีที่นิยมคือวิธีตัดใบหู
  • ในสัปดาห์ที่ 2 เริ่มให้อาหารลูกสุกรทีละนิดในรางอาหาร
  • ถ้าลูกสุกรตัวผู้ที่จะไม่นำมาทำพันธุ์แล้วให้ทำการตอนในช่วงสัปดาห์ที่ 2
  • ในช่วงสัปดาห์ ที่ 2 - 3 ให้แม่สุกรกินอาหารเต็มที่ (3 ครั้ง/วัน )และเริ่มลดอาหารก่อนหย่านม 3 -4วันในแม่สุกร
การจัดการสุกรขุน
  • สุกรนั้นอาจได้มาจากฟาร์มที่เราเลี้ยงหรือซื้อมาจากที่อื่นถ้าซื้อมาจากที่อื่นควรดูแหล่งที่ซื้อมาว่ามีโรคระบาดหรือไม่
  • ต้องเตรียมโรงเรือนให้เรียบร้อยก่อนที่สุกรจะมาถึง
  • ทำความสะอาดคอกก่อนนำสุกรเข้าคอก 3 วัน ด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อ
  • เตรียมยาปฎิชีวนะให้พร้อม
  • ถ้านำมาจากข้างนอกต้องแยกคอกหรือนำเข้าคอกพักประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนนำมารวมกับสุกรในฟาร์ม และเมื่อนำเข้าคอกพักยังไม่ต้องให้น้ำทันที รอประมาณ 15 - 20 นาทีให้สุกรพักก่อนแล้วจึงให้น้ำอาจผสมยาปฎิชีวนะด้วยก็ได้
  • ขณะที่สุกรอยู่ในคอกพักถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ทึบ แล้วต้องการจะให้สุกร ถ่ายตรงไหนให้นำมูลสุกรไปวางไว้ตรงนั้นหรือถ้าต้องการให้กินอาหารตรงไหน ก็ให้โรยอาหารลงบนบริเวณนั้น
  • ถ้านำสุกรมาจากที่อื่นต้องถามเจ้าของฟาร์มที่นำสุกรมาว่าให้ยาหรือวัคซีนสุกรบ้างแล้วหรือยัง
    วัคซีนสำหรับสุกรขุนจะเป็นประเภท วัคซีนป้องกันอหิวาห์สุกร,ปากและเท้าเปื่อย(เน้นอหิวาห์สุกรมากกว่า)
  • ต้องคัดสุกรขนาดไล่เรี่ยกันให้อยู่ในคอกเดียวกัน
  • สังเกตว่าสุกรกินอาหารหรือไม่ มีอาการท้องเสียหรือเปล่า
  • ระยะสุกรขุนมีการจำกัดอาหาร 10 - 15% ของอาหารที่กินได้เต็มที่
  • สังเกตมูลไม่ควรเหลว ความกระปี้กระเป่า,ผิวพันธุ์ของสุกร(เป็นมัน,ขนเงา)ปัสสาวะต้องใส
  • ในสุกรขุนอาจมีการใส่สารกระตุ้นเพื่อให้ได้เนื้อแดงมากขึ้นแต่ก็จะมีผลตกค้างในเนื้อสุกร
การทำเครื่องหมาย(Identification)
  1. สักที่ใบหู ยุ่งยาก
  2. ติดเบอร์พลาสติกที่ใบหู มีหมายเลขติดอยู่
  3. ตัดใบหู มีหลายแบบ (มีเบอร์ประจำตัวล้วน ๆ & เบอร์ประจำตัว + เบอร์ประจำคลอก)
  • สุกรพันธุ์มีทั้งเบอร์ประจำตัวและเบอร์ครอก
  • สุกรขุนและสุกรลูกผสมจะมีแต่เบอร์ตัว
  • สุกรที่ใบหูใหญ่ จะแบ่งหูเป็น 3 ส่วน เช่น พันธุ์ Large White
  • การตัดใบหูตัดจากหลักน้อย ๆ ก่อน เวลาอ่านอ่านหลักมาก ๆ ก่อน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรที่ใบหูเล็ก จะแบ่งหูเป็น 2 ส่วน เช่น Duroc แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรลูกผสมและสุกรขุน แบ่งหูออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง

Tuesday, June 4, 2013

ระบบการให้อาหารสุกร(Feeding System)

ระบบการให้อาหารสุกร(Feeding System)
1) การให้อาหารแห้ง-ให้อาหารเปียก (Dry&wet Feeding)
อาหารแห้ง นิยมให้มากกว่าอาหารเปียก เพราะเก็บไว้ได้นานและสุกรกินได้มาก
อาหารเปียก
  • ข้อเสีย คือชื้นและเสียได้ง่าย เก็บไว้ได้ไม่นาน
  • ข้อดีคือ ทำให้สัตว์ย่อยได้ดีขึ้น ลดการฟ่ามของอาหาร ใช้กันมากในผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
2) การให้อาหารใส่ในราง หรือพื้น (Floor & Trough Feeding )
2.1การให้ในรางอาหาร นิยมกันมากกว่าการให้ที่พื้น
  • ข้อเสีย คือต้องให้เพียงพอกับความต้องการของสุกรถ้าให้น้อยสุกรจะแย่งกันกินอาหาร
  • ข้อดีคือ ไม่สูญเสียอาหารเกินที่จำเป็น
2.2 การให้ที่พื้น
  • ข้อดี สุกรกินได้อย่างทั่วถึง สุกรไม่แย่งกันกินอาหาร
  • ข้อเสีย พื้นต้องเป็นพื้นทึบ ทำให้อาหารกระจัดกระจาย อาหารปนเปื้อนกับปัสสาวะและอุจจาระของสัตว์
3) การให้อาหารแบบกินเต็มที่หรือแบบจำกัด (Restricked & Full Feeding)(Ad Libitum)
  • ให้ตามช่วงระยะเวลาตามความต้องการของผู้เลี้ยงว่าจะจำกัดการให้เป็นเท่าใด ทำให้สุกรโตอย่างเต็มที่ โตได้เร็ว
  • ให้ตามความต้องการของสุกร ทำให้อัตราการไหลผ่านของอาหารเร็วขึ้น ย่อยได้ไม่ดี และการย่อยไม่สมบูรณ์
  • ควรจำกัดอาหาร 10-20% สุกรจะกินอาหารได้ 80-90% สุกรมีความสามารถในการย่อยได้ดีที่สุด,FCR ต่ำ และมีประสิทธิภาพในการใช้อาหารได้ดีที่สุด
  • จะเริ่มจำกัดอาหารเพื่อให้สุกรสะสมไขมันน้อย สำหรับสุกรขุน
  • ถ้าเป็นสุกรให้ลูกจะให้กินเต็มที่ เพราะแม่สุกรจะสูญเสียน้ำหนักตัวจากการคลอด
  • สุกรที่เป็นพ่อพันธ์และแม่พันธุ์ จะจำกัดอาหาร
4) การให้อาหารแบบกลุ่มหรือแยกเดี่ยว(Group & Individual Feeding )
  • สุกรแม่พันธุ์ให้เดี่ยว
  • แม่พันธุ์ตั้งแต่ลูกหย่านมจนถึงผสมใหม่ ให้แบบเป็นกลุ่ม
  • การให้แบบเป็นกลุ่ม นิยมให้กับสุกรเล็ก,สุกรขุน สุกรที่นำมาเลี้ยง ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน จะกี่ตัวก็ได้แล้วแต่ขนาดของคอก
  • การให้แบบแยกเดี่ยว เมื่อต้องการทดสอบสมรรถภาพของสุกร,ศึกษาข้อมูลสุกรในการคัดเลือกสุกร,งานวิจัยต่าง ๆ

ปัญหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธุ์ (Swine Breeding Problems)

ปัญหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธุ์ (Swine Breeding Problems)
ปัญหาความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของสุกรสาวและสุกรนาง (Reproduetive Failures In Gilts And Sows)
1) สุกรสาวไม่ยอมเป็นสัด สาเหตุ บางสายพันธุ์เป็นสัดช้าบางสายพันธุ์เร็ว เนื่องมาจาก
  • พันธุกรรม บางสายพันธุ์แสดงออกมาช้าบ้างเร็วบ้างบางครั้งก็เป็นสัดเงียบ สุกรที่ไม่เป็นสัดหลังผ่าน 10 เดือน จะมีการคัดทิ้ง ยกเว้นสุกรที่มีลักษณะพิเศษควรให้โอกาสแต่ไม่เกิน 1 ปี
  • สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้สัดแสดงความเป็นสัดไม่เด่นชัด
  • สภาพทางโภชนาการ สุกรสาวที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมทำให้การพัฒนาของร่างกายช้า จะส่งผลไปถึงระบบสืบพันธุ์ เช่นเป็นสัดช้าหรือเสียความสมดุลในการสืบพันธุ์สำหรับถ้าให้อาหารน้อย แต่ถ้าให้อาหารมากเกินไปทำให้อ้วนและเป็นสัดช้า
  • ปัญหาในด้านสังคม เพราะไม่เคยพบปะกับสุกรเพศผู้ หรือการได้ยินหรือได้กลิ่นสุกรเพศผู้ แก้ได้โดยให้สุกรสาวมีการพบปะเพศผู้
2) สุกรนางไม่เป็นสัด สาเหตุ
  • สภาพร่างกายทรุดโทรม เนื่องมาจากช่วงอุ้มท้องและเลี้ยงลูกถูกดูแลไม่ดีโดยเฉพาะช่วงท้องแก่จะต้อง การอาหารมากกว่าปกติ จึงต้องควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมและคุณภาพดี แม่สุกรทรุดโทรมหลังช่วงหย่านม มักจะเป็นบ่อยในสุกรที่ให้ลูกครอกแรก การแก้ปัญหานี้ต้องดูว่าสุกรอ้วนหรือผอมส่วนมากจะให้แม่สุกรอ้วนนิด ๆ ในช่วงอุ้มท้องเพราะจะได้นำมาใช้ในช่วงเลี้ยงลูก และจะให้อาหารเป็นจำนวนมากในช่วงเลี้ยงลูกจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกในทางปฎิบัต ิในการหย่านมจะลดอาหารประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อไม่ให้อาหารไปสร้างน้ำนม แต่หลังจากนั้นจะให้กินอาหารเต็มที่เพื่อพัฒนาร่างกายและการสืบพันธุ์ให้มี สุขภาพดี
  • เกิดการติดเชื้อโรคในมดลูก เป็นมดลูกอักเสบถ้าคลอดแล้วมดลูกจะกลับเข้าสภาวะปกติ แล้วไม่มีหนองไหลออกมา การติดเชื้ออาจมีสาเหตมาจากสุกรอาจคลอดยากทำให้ผู้เลี้ยงต้องทำคลอดโดยการ ใช้ครีมหรือใช้มือช่วยแต่อาจจะเป็นต้นเหตุให้นำเชื้อโรคเข้าไปได้ วิธีการแก้จะต้องสังเกตดู ถ้าช่องคลอดขยายใหญ่ในตอนคลอดจะเป็นเวลาที่เชื้อโรคเข้ายาก ถ้ามีอาการจะมีการฉีดยาปฎิชีวนะเพื่อล้างช่องคลอด ในกรณีที่เป็นมากจะใช้โปรแตสเซียมโครแมงกาเนต
  • ความเครียด(Stress) ส่งผลต่อความเป็นสัด เนื่องมาจากอากาศร้อน อยู่อย่างหนาแน่นเกินไป ได้รับอาหารช้าและน้อยเกินไป จะส่งผลไปยังสมองที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
3) แม่สุกรเป็นสัดแต่ผสมไม่ติด เป็นปัญหาของสุกรแต่ละตัวจะเกิดจากการจัดการและเทคนิคการผสม แก้ไขโดย
  • ตรวจสอบความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกร และเทคนิคการผสมด้วยว่าระยะเวลาเหมาะสม และน้ำเชื้อได้เข้าสู่ระบบสืบพันธุ์เพศเมียหรือไม่
  • การใช้งานพ่อสุกรหนักเกินไปหรือเปล่าจนไม่สามารถที่จะผลิตตัวอสุจิทัน
  • ตรวจสอบที่ตัวแม่สุกรว่าสาเหตุที่ผสมไม่ติดเพราะอะไร เป็นโรคในระบบสืบพันธุ์หรือไม่
  • ดูที่อาหาร ว่ามีสารพิษจากเชื้อราตัวไหนที่ส่งผลให้การผสมพันธุ์ไม่ติด เชื้อราที่พบมากที่สุด Aflatoxin หรือที่เรียก T2 Toxin, Vomitoxin เชื้อรานี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผสมไม่ติด
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ไม่นิยมทำการแก้ไขเพราะทำได้ยาก
  • โรคในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคแท้งติดต่อ
    
ความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของพ่อสุกร ความสามารถในการสืบพันธุ์แตกต่างกัน เนื่องมาจากผลทางพันธุกรรมและความสมบูรณ์พันธุ์อาจมีสาเหตุ เช่น
1) ปัญหาทางพันธุกรรม
  • พ่อสุกรอาจมีความต้องการทางเพศน้อยซึ่งเกิดจากการผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ของพ่อสุกร เช่น อัณฑะเล็กเกินไป หรืออัณฑะไม่ได้รับการพัฒนาไปตามการเจริญเติบโต
  • พ่อสุกรอาจมีอวัยวะเพศ (Penis) สั้นเกินไปหรือเล็กเกินไป แต่จะพองออกไม่ออก จะสังเกตได้จากช่วงผสมพันธ ุ์แต่ก็สังเกตได้อีกก็คือว่าน้ำเชื้ออยู่ปากช่องคลอดของเพศเมีย หรือเลยคอมดลูกไป หรือสังเกตช่วงการรีดน้ำเชื้อ เพศผู้จะมี Penis ยาว 25 - 40 ซ.ม. ในช่วงยืดตัว
  • อาจเนื่องจากไม่มีความสนใจเพศเมียแต่สนใจในเพศเดียวกัน เป็นลักษณะที่ยากต่อการแก้ไข
  • สภาพร่างกายของพ่อสุกร ความแข็งแรงของข้อเท้าหรือกระดูก เมื่อขึ้นผสมพันธุ์แล้วข้อเท้าเจ็บจะทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลง
  • ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกรแต่ละตัว ดูความเข้มข้นของตัวอสุจิ ตัวอสุจิมีความผิดปกติหรือไม่
  • ปริมาณน้ำเชื้อที่พ่อสุกรหลั่งออกมามากน้อยเพียงใด หรือเรียกอีกอย่างว่าการเป็นหมัน
2) การจัดการ อาจเนื่องมาจาก
  • อาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่เท้าและข้อเท้าอาจเกิดจากการได้รับบาดแผล อุบัติเหตุจากการขึ้นผสมพันธุ์(พื้นลื่นอาจทำให้ล้ม)
  • การใช้งานของพ่อสุกร ดูว่ามีการใช้งานถี่หรือหนักเกินไป ถ้าหนักเกินไปอาจทำให้ความต้องการทางเพศน้อยหรืออาจเกิดการเป็นหมันชั่วคราว สุกรที่โตเต็มที่อาจใช้ได้ 5 - 6 ครั้ง ต่อสัปดาห์ สุกรหนุ่ม 2 - 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
  • ไม่ค่อยได้ใช้งานก็ไม่ได้รับการกระตุ้นจึงทำให้มีความต้องการทางเพศน้อยลง ควรจัดระยะเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้พ่อสุกรที่ชอบเป็นพิเศษ
  • ด้านการจัดการและการจัดการฝึกหัด เมื่อสุกรโตเป็นหนุ่มควรให้ลองผสมพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ที่ไม่ดี
  • สภาพทางด้านโภชนาการหรืออาหาร อาจได้รับอาหารไม่ถูกส่วน หรือได้รับน้อยเกินไปจะมีผลต่อการผสมพันธุ์ เพราะจะมีผลต่อการสร้างน้ำเชื้อ
  • มาจากคนดูแลพ่อสุกร อาจมาจากการให้เวลาพ่อสุกรผสมพันธุ์น้อย หรือปล่อยให้พ่อสุกรและแม่สุกรผสมพันธุ์กันเองโดยไม่ช่วยเหลือ
3) สภาพทางสรีระวิทยา พ่อสุกรที่แก่หรืออ้วนเกินจำเป็นต้องคัดทิ้ง เพราะความกระฉับกระเฉง และการสร้างตัวอสุจิลดลง
4) สภาพแวดล้อม มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสมบูรณ์และความต้องการทางเพศ โดยเฉพาะถ้าอุณหภูมิสูงสุกรอาจเป็นหมันชั่วคราว การสร้างอสุจิก็จะได้รับผลกระทบด้วย

ช่วงเป็นสัดของสุกร (Heat Period)

ช่วงเป็นสัดของสุกร (Heat Period)
ช่วงเป็นสัดของสุกรคือช่วงที่สุกรมีอาการยอมรับการผสมพันธุ์ จะแสดงอาการ 2 - 3 วันบางตัวไม่มีการแสดงออกเรียกว่าเป็นสัดเงียบ บางตัวไม่มีแสดงออกเรียก เป็นสัดเงียบ(Silent Heat) ช่วงหนึ่งของการเป็นสัด(Estrus Cycle)ใช้เวลาประมาณ 17 - 24 วัน จะหยุดเมื่อสุกรตั้งท้องหรือเกิดอาการผิดปกติขึ้น
สิ่งที่บ่งบอกว่าสุกรเป็นสัดดูได้จาก
  1. อวัยวะเพศจะบวมแดงหรือสีชมพู ในสุกรสาวจะเห็นได้ชัด
  2. ชอบปีนป่ายตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นปีน
  3. มีอาการกระวนกระวาย
  4. กินอาหารน้อยลงกว่าปกติ หรือชอบเอาปากงัดแงะสิ่งอื่น
  5. ชอบปัสสาวะบ่อย แต่มีปริมาณน้อย
  6. เข้าไปสัมผัสโดยบีบหรือกดบริเวณตะโพกจะหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว
  7. ถ้าเจอสุกรเพศผู้จะไม่ยอมให้คนเลี้ยงต้อนไปที่ไหน
วิธีการตรวจสอบว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์หรือไม่
  1. กดบริเวณสะโพกแรง ๆ และดูการตอบสนอง
  2. ให้ขี่ด้านหลังของสุกร และดูการตอบสนอง
  3. ใช้น้ำเชื้อของสัตว์เพศผู้มาสัมผัสบริเวณจมูกของเพศเมียแล้วดูการตอบสนองคือ ยืนนิ่ง
  4. ใช้ตัวผู้เป็นตัวทดสอบ แต่ตัวผู้ที่ใช้จะต้องผ่านการตอนแล้ว
  5. ใช้เสียงโดยใช้เสียงของเทปจากสัตว์เพศผู้กับเพศเมีย แล้วสังเกตดูพฤติกรรมของเพศเมียว่ามีความสนใจหรือไม่ หรือนำตัวผู้มาเดินบริเวณคอกตัวเมีย
เมื่อผสมพันธุ์ครั้งแรกแล้วจะผสมพันธุ์ซ้ำครั้งที่ 2 ภายใน 12 - 24 ชั่วโมง
สาเหตุที่มีการผสมพันธุ์ซ้ำ
สุกรให้ลูกเป็นคอกมีการตกไข่ไม่พร้อมกัน ในการผสมซ้ำถ้าต้องการประเมินประสิทธิภาพของพ่อแม่พันธุ์จะต้องใช้พ่อพันธุ์ตัวเดิม แต่ถ้าไม่ต้องการประเมินก็ควรใช้ทีละตัว(พ่อพันธุ์คนละตัว)
อัตราการผสมติด(Conception Rate)ระหว่างสุกรสาว : สุกรนาง
สุกรนางจะสูงกว่าสุกรสาวอัตราการผสมติดที่อยู่ในเกณฑ์ดีไม่ควรต่ำกว่า 80 % สูงสุดอาจได้ถึง 95 % แต่ถ้าต่ำกว่า 70 %จะต้องหาทางแก้ไขเพราะอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก อัตราการตกไข่(Ovulation Rate)
สุกรนางที่โตเต็มที่มีอัตราการตกไข่ที่สูงกว่าสุกรสาว เพราะสุกรสาวเพิ่งเข้าวัฎจักรการสืบพันธุ์ สุกรสาวตกไข่ครั้งแรกจะต่ำกว่าการเป็นสัดครั้งที่ 1 ประมาณ 2 ฟอง และเป็นสัดครั้งที่ 3 จะสูงกว่าครั้งที่ 2 ไม่ต่ำกว่า 1.5 ฟอง อัตราการตกไข่ของสุกรในครั้งหนึ่ง ประมาณไม่ต่ำกว่า 18 - 20 ฟอง
วงรอบการเป็นสัด (Estrous Cycle) ใช้เวลา 17 - 24 วัน เฉลี่ย 21 วัน มีการแบ่งกันเป็นช่วง ๆ
  • ก่อนการเป็นสัด (Pro-estrus)
  • ระยะเป็นสัด (Estrus)
  • ระยะคลายการเป็นสัด (Met-estrus)
  • ระยะหมดการเป็นสัด (Di-estrus) ระยะนี้ยาวที่สุด
  • ช่วงการตั้งท้อง (Gestation Preiod)
ตั้งแต่การผสมถึงคลอด ใช้เวลา 109 - 120 วัน เฉลี่ยประมาณ 114 วัน สุกร 84 % มีการตั้งท้อง 112 - 115 วัน มีเพียง 7% ที่มากกว่า 115 วัน อีกประมาณ 9 % ระยะเวลาตั้งท้องน้อยกว่า 112 วัน ลูกสุกรที่คลอดก่อน 109 วัน มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวน้อยโอกาสเลี้ยงรอดยาก อวัยวะต่าง ๆ ยังเจริญพัฒนาไม่เต็มที่ของขั้นการเจริญเป็นตัวอ่อน แม่สุกรที่ตั้งท้องนานกว่า 120 วัน มีสาเหตุผิดปกติ คือ ลูกสุกรตัวใหญ่ผิดปกติ หรือ มีลูกสุกรตายในมดลูก และที่อุ้มท้องมากกว่าระยะเวลาเฉลี่ยจะมีจำนวนลูกเมื่อแรกเกิดน้อยกว่าแม่สุกรที่อุ้มท้องปกติ
การตั้งท้องเทียม(Pseudo Preqnant) แม่สุกรแสดงการตั้งท้องปกติ แต่ไม่มีการคลอดลูกเกิดจากการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ของสุกรเพศเมีย เป็นเหตุให้อัตราการผสมติดต่ำลง การตรวจสอบว่าตั้งท้องจริงหรือไม่ สังเกตได้จากสุกรไม่เป็นสัด ควรตรวจ 2 รอบเพราะรอบแรกอาจไม่แสดงออกถึงความเป็นสัด หรือวัดจากการกินอาหาร (เป็นช่วงปลาย ๆ ของการอุ้มท้อง) ถ้าผสมนานประมาณ 3 - 4 เดือนขึ้นไปแล้วสังเกต ดูบริเวณช่องท้องมีการขยายใหญ่ขึ้นหรือไม่ และมีลักษณะหลังแอ่นเล็กน้อย อีกวิธีหนึ่งในการตรวจคือตรวจดูว่ามดลูกมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งมีเครื่องที่ใช้ตรวจสอบโดยมีคลื่นความถี่สูง(Ultra Sound) แต่จะต้องใช้เมื่อผสมพันธุ์ไปแล้ว 20 วัน ถึงวันที่ 60 ก่อนหน้านั้นไม่สามารถตรวจสอบได้เพราะตัวคัมภะยังไม่พัฒนาถึงขั้นจึงตรวจสอบ ไม่ได้
ลักษณะของแม่สุกรใกล้คลอด
  1. การขยายความโปร่งพองของอวัยวะสืบพันธุ์(ปากช่องคลอด)มีสีแดงชมพู
  2. ลักษณะทางกิริยาของแม่สุกร กระวนกระวาย อัตราการหายใจจะถี่ขึ้น บางครั้งจะกัดแทะตามคอก ถ้าเลี้ยงบริเวณที่โล่งแม่สุกรจะเตรียมบริเวณที่จะคลอด
  3. เต้านมขยายใหญ่โดยเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อบีบหัวนมแล้วมีน้ำนมไหลแสดงว่าภายใน 24 ชม. แม่สุกรจะคลอด
แม่สุกรมักจะคลอดช่วงเที่ยงคืนถึงเช้าแต่ช่วงบ่ายจะมีการคลอดน้อยที่สุด
  • จำนวนลูกสุกรแรกเกิดมีประมาณ 8 - 14 ตัว ประมาณ 74 % น้อยกว่า 8 ตัว มี 9% มากกว่า 14 ตัวมี 6% ถ้าคลอดออกมามีลักษณะเป็นลูกกรอกแสดงว่าตายขณะตั้งท้อง ขนาดน้ำหนักตัวเมื่อแรกเกิดของลูกสุกรจะมีอัตราความสัมพันธ์กับการรอดตาย น้ำหนักต่ำกว่า 600 กรัม โอกาสตายมีสูงมากลูกสุกรต่ำสุด 400 กรัม ถึง 3.8 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยทีเหมาะกับลูกสุกร 1.35 กิโลกรัม ถ้าขนาดของคอกใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ยของลูกสุกรจะต่ำ แต่ถ้าขนาดของคอกน้อยก็จะมีน้ำหนักมาก แนวโน้มส่วนใหญ่ลูกสุกรเพศผู้จะมีน้ำหนักตัวมากกว่าเพศเมีย ลำดับที่การคลอดของลูกสุกรไม่มีผลต่ออัตราการรอดตาย
  • ลูกสุกรที่คลอดจากแม่สุกรนางมีแนวโน้มที่ น้ำหนักตัวสูงกว่าแม่สุกรสาวเพราะการเจริญเติบโตของแม่สุกรสาวยังไม่สมบูรณ์ เมื่อเทียบกับแม่สุกรนาง อัตราการตายของลูกสุกรที่มีแม่สุกรอายุน้อยจะมีอัตราการตายมากกว่า อัตราการตายจะสูงขึ้นอยู่กับการคลอดว่าตายมากน้อยเพียงใด อัตราการตายต่ำสุด 2.5% สูงสุด 5% อัตราการรอดตายช่วงที่เกิดแล้วนั้นจะขึ้นอยู่กับความดูแลเอาใจใส่ของเจ้าของ อัตราการรอดตายประมาณ 90 % (ตั้งแต่คลอด)
  • ขนาดของคอกเมื่อตอนหย่านม 3 - 5 สัปดาห์ จะมีการหย่านม ประมาณ 4 สัปดาห์ จะจับหย่านม อัตราการตายทั้งหมดก็มีสำหรับการหย่านม แต่รอดทั้งหมดก็มีลูกสุกรที่มีสุขภาพดี น้ำหนัก 7.5 กิโลกรัม/ตัว และ 8.2 ตัว/คอก เมื่ออายุ 35 วัน ประมาณ 66 % จะมีการหย่านมแล้วเหลือลูก 6 - 10 ตัว มี 14% ที่เหลือลูกน้อยกว่า 6 ตัว ประมาณ 14 - 15 %ที่ให้ลูกมากกว่า 10 ตัว
  • จำนวนคอกต่อแม่สุกรต่อปี มีประมาณ 1.8 - 2.3 คอก ต่อตัวต่อปี ช่วงเวลาหลังจากกลูกสุกรหย่านมถึงแม่สุกรผสมติดต้องพยายามลดช่วงนี้ให้สั้น ที่สุด
ปัญหาที่สำคัญคือแม่สุกรมีสุขภาพทรุดโทรมเกินไป จึงต้องใช้เวลานานในการเป็นสัดอีกครั้งเพราะแม่สุกรจะกินอาหารไม่เพียงพอกับ การเลี้ยงลูกจึงต้องดึงอาหารที่สะสมมาใช้ในการเลี้ยงลูก ตัววัดประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ก็คืออัตราการรอดตายของลูกสุกรหลังหย่านม และขนาดของคอก ถ้ามีการจัดการที่ดีจะได้ลูกสุกร 26 ตัวต่อปี แต่ส่วนมากจะได้ 10 - 24 ตัวต่อปี
ฟาร์มสุกรขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าฟาร์ม ขนาดใหญ่เพราะดูแลได้ทั่วถึง และเจ้าของดูแลฟาร์มเองจะมีประสิทธิภาพดีกว่าฟาร์มที่จ้างคนอื่นทำ และฟาร์มสุกรที่มีขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยเจ้าของจะมีประสิทธิภาพดีกว่า ฟาร์มขนาดเล็กที่จ้างคนอื่นดูแล และฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีช่วยจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ เทคโนโลยีที่ใช้และคนที่ดำเนินการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ