Saturday, December 8, 2012

น้ำตา....สุกร...จุดจบ..ของชีวิต..


            สุกรหรือหมู ซึ่งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมของคนไทยมาก และตอนนี้ราคาสุกรสูงถึงกิโลกรัมละ 120 บาท ทำให้ราคาอาหารสูงตามไปด้วย ค่าครองชีพสูงทำให้กระทบต่อราคาอาหารที่จำเป็นเช่น ข้าวแกงราคาจานละ 25-30 บาท

          เพราะเหตุนี้เอง ทำให้ฟาร์มสุกรถึงตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงแต่สุกรหน้าฟาร์มถูกกว่าสุกรชำแหละตลาด จึงกดดันทำให้เกิดปัญหาเรื่องราคา จึงทำให้ทางกลุ่มผู้เลี้ยงแก้ปัญหา โดยการชำแหละหมูเองในฟาร์มเพื่อพยุงราคาให้อยู่รอด จุดนี้เองทำให้วันนี้ เห็นข่าวในทีวี มีการชำแหละหมูเองและที่น่าสงสารที่สุดเลยคือ สถานที่ชำแหละนั้นอยู่หน้าคอกที่เลี้ยงหมูนั่นเอง


          ภาพที่เห็นเพื่อนๆโดนตัดแขนตัดขา ลากไส้ มาชำแหละให้เห็น บรรดาเหล่าสุกรเหล่านั้น...น้ำตา..สุกร.. มันก็ไหลออกมาเอง มันยืนมองเพื่อนของมัน แล้วมันคงนึกถึงชะตากรรมของมันเหมือนกัน...

          อนิจจา..อาหารมนุษย์..จุดจบ..ของชีวิตหนึ่ง เพื่อต่ออีกชีวิตหนึ่ง รู้ทั้งรู้ว่า...เป็นธรรมดาของห่วงโซ่อาหาร แต่ก็อดสงสารไม่ได้   อนิจจาชีวิตที่เลือกเกิดไม่ได้ ..หลงไปกับอาหารที่เขาปรนเปรอ เพื่อที่จะได้เติบโตและเดินทางไปสู่จุดจบ...ของชีวิต.

การผสมเทียมสุกร

การผสมเทียมสุกร

ภาพ:Pas8.jpg
        การเลือกพ่อสุกรมารีดเชื้อ
        1. ต้องตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ
        2. พ่อพันธุ์ต้องมีอายุมากกว่า 9 เดือน หรือมีน้ำหนักมากกว่า 110 กิโลกรัม
        3. ความถี่ในการรีดเชื้อของพ่อสุกร แตกต่างกัน         - อายุ 8 – 10 เดือน รีดได้ทุก 15 วัน
        - อายุ 10 – 12 เดือน รีดได้ทุก 10 วัน
        - อายุ 1ปีขึ้นไป รีดได้ทุก 7 วัน
        4. งดรีดเชื้อพ่อพันธุ์ที่มีอาการขาเจ็บ ให้ทำการรักษาก่อน

การนำน้ำเชื้อไปผสมในแม่พันธุ์

        1. แม่พันธุ์ต้องเป็นสัดแล้วเต็มที่ มีอาการยืนนิ่งเมื่อกดหลัง
        2. ทำความสะอาดแม่พันธุ์
        3. ใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศ
        4. ใช้น้ำเกลือล้างอวัยวะเพศอีกครั้ง
        5. ล้าง catheter ด้วยน้ำเกลือทั้งภายนอกและภายใน
        6. ค่อยๆสอด catheter เข้าไปในอวัยวะเพศเมีย โดยค่อยๆหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนปลาย catheter ล็อคติดกับปากมดลูก (cervix) ทดลองดึงเบาๆจะไม่หลุดออก
        7. หยิบขวดน้ำเชื้อมา ตัดปลายหลอด แล้วใส่ปลายหลอดน้ำเชื้อในรู catheter
        8. ค่อยๆบีบน้ำเชื้อเข้าไปในมดลูกจนหมดหลอด (ประมาณ 5 นาที) รอสักครู่ค่อยๆดึง catheter ออกโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา
        9. อุปกรณ์ที่ใช้แล้วนำไปล้างและนึ่งฆ่าเชื้อก่อนนำมาใช้ใหม่

 ประโยชน์ของการผสมเทียมสุกร

        1. สามารถแพร่เลือดของพ่อพันธุ์ที่ดีเยี่ยมไปได้มากและกว้างขวางที่สุด
        2. การผสมเทียมเป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคต่างๆ อันอาจเกิดได้ง่ายจากการผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ เช่น แท้งติดต่อ วัณโรค
        3. การผสมเทียมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อพ่อพันธุ์สุกรซึ่งมีราคาแพงมากมาไว้ในฟาร์ม
        4. สามารถเก็บเชื้อพ่อพันธุ์ดีไว้ใช้ได้นานปี
        5. ช่วยขจัดปัญหาแตกต่างระหว่างขนาดของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้
        6. สัตว์ตัวเมียที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ ไม่อาจผสมพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ ก็อาจใช้วิธีการผสมเทียมติดได้
        7. เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาค้นคว้าทางวิชาพันธุศาสตร์

มาตรฐานการผลิตสุกร

มาตรฐานการผลิตสุกร เอกสาร คำแนะนำมาตรฐานการผลิตสุกรนี้นำเสนอค่าตัวเลขที่แสดงสมรรถภาพการผลิตของฝูง สุกร  ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยในการจัดทำงบประมาณ และการตั้งค่าเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสุกร ประสิทธิภาพของการผลิตสุกรรายตัวและของฝูงนั้น จะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม อาหาร สุขภาพ คอก โางเรือน และการจัดการเลี้ยงดู มาตรฐานการผลิตนี้ ควรดูค่าแต่ละรายการมาตรฐานอิสระต่อกัน โดยไม่ดูเป็นรายคอลัมน์ ตัวอย่างเช่น การตายก่อนหย่านม 8% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก แต่ในทางปฏิบัติครอกขนาดแล็ดที่ลูกสุกรตัวโต จะสามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ง่ายกว่าครอกขนาดใหญ่ที่ลูกสุกรตัวเล็ก ในทำนองเดียวกันอัตราการเจริญเติบโตต่อวันขึ้นอยู่กับน้ำหนักส่งตลาดด้วย ค่ามาตรฐานเหล่านี้เป็นค่าที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศ ออสเตรเลีย แถบตอนเหนือ ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นใกล้เคียงกับประเทศไทย วงการอุตสาหกรรมการผลิตสุกร   ของไทย สามารถนำค่ามาตรฐานเหล่านี้ไปเปรียบเทียบและใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง มาตรฐานการผลิตสุกรในประเทศไทยได้
                                            
 ลักษณะมาตรฐาน
 พอใช้
   ดี  ดีมาก
 ฝูงสุกรพ่อแม่พันธุ์   
 จำนวนลูกคลอดมีชีวิตต่อครอก (ตัว) 9.0 10.5 11.0
 จำนวนลูกตายก่อนคลอดต่อครอก (ตัว) 0.8 0.6 0.5
 อัตราการตายก่อนหย่านม (%) 13.0 11.0 8.0
 อัตราการคลอด (%) 82.0 87.0 89.0
 จำนวนครอกต่อแม่ต่อปี (ครอก) 2.1 2.2 2.3
 นำหนักแรกคลอด (กิโลกรัม) 1.2  1.4  1.45 
 น้ำหนักเมื่ออายุ 28 วัน (กิโลกรัม) 6.7  7.7  8.0
 ฝูงสุกรรุ่น
 อัตราการตายหลังหย่านม (%)
 อัตราการเปลี่ยนอาหารต่อน้ำหนักซาก (FCR) 3.6 3.3  2.8 
 อัตราการเจริญเติบโตตั้งแต่เกิดถึงซาก 100 กิโลกรัม (g/d) 440  490  560 
 รวมสุกรทั้งฝูง
 จำนวนลูกสุกรหย่านมต่อแม่ต่อปี (ตัว) 18  20  22 
 อัตราการเปลี่ยนอาหารต่อน้ำหนักซาก (FCR) 4.5  4.0  3.8 
                                              คำอธิบายการคำนวณมาตรฐาน
  อัตราการตายก่อนหย่านม = ((จำนวนลูกเกิดมีชีวิต - จำนวนลูกหย่านม) x 100) / จำนวนลูกเกิดมีชีวิต
  อัตราการคลอด = สัดส่วนเป็นร้อยละของแม่ที่คลอดต่อจำนวนครั้งที่ผสมพันธุ์ทั้งหมด
  จำนวนครอกต่อแม่ต่อปี =((จำนวนครอกที่คลอดในช่วงเวลาที่กำหนด / จำนวนแม่เฉลี่ยในช่วงเวลาที่กำหนด) x 12
                                    / จำนวนเดือน (ตามช่วงเวลาที่กำหนดนั้น)
  เมื่อคำนวณ "จำนวนแม่เฉลี่ย" ต้องรวมเอาแม่ที่มีอยู่ทุกตัว ทั้งแม่สาวที่ได้รับการผสมแล้ว และแม่ที่กำลังรอการผสมพันธุ์
หาค่าเฉลี่ยจำนวนแม่ตลอดช่วงระยะที่กำหนด
  FCR = จำนวนอาหารที่ต้องการ เพื่อผลิตเนื้อสุกร 1 กิโลกรัม อาจจะเป็นน้ำหนักซากตกแต่ง หรือน้ำหนักมีชีวิต ในระยะเวลาที่กำหนด อาจจะเป็นการวัดเฉพาะของสุกรรุ่นอย่างเดียว หรือของทังฝูงรวมสุกรพันธุ์และสุกรรุ่นด้วยกัน ประสิทธิภาพการใช้อาหารจะลดลง เมื่ออายุมากขึ้น
  น้ำหนักซาก (น้ำหนักซากอุ่นตามมาตรฐาน (HSCW)) = น้ำหนักมีชีวิต x เปอร์เซ็นต์ซาก
  เปอร์เซ็นต์ซาก = (น้ำหนักซาก / น้ำหนักมีชีวิต) x 100
โดยทั่วไปสุกรที่มีน้ำหนักมากกว่าจะมีเปอร์เซ้รต์ซากสูงกว่า จะมีค่าประมาณ 72 % ถึง 80 %

สุกรเปียแตรง

สุกรเปียแตรง

http://www.dld.go.th/breeding/small/image/pa%201.jpg

       รัฐบาลประเทศเบลเยี่ยมได้น้อมเกล้าฯ ถวายสุกรพันธุ์เปียแตรงสายใหม่ดังกล่าวเพื่อมอบให้แก่มูลนิธิโครงการหลวงและกรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบดูแลช่วงที่ดำเนินการกักโรคจนกระทั่งสามารถเป็นพ่อแม่พันธุ์และผลิตลูกสุกรได้ กรมฯจึงมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่เป็นผู้เลี้ยงสุกรดังกล่าวใน โดยใช้งบประมาณของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นสุกรพันธุ์เปียแตรง จำนวน 16 ตัว ( เพศผู้ 8 ตัว เพศเมีย 8 ตัว) อายุเฉลี่ย 92.69 วัน น้ำหนัก ณ วันที่มาถึง (16 ธันวาคม 2547) เฉลี่ย 26.81 กิโลกรัม สุกรที่มาถึงที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่  หลังจากพักฟื้นเป็นเวลา 7 วัน จะเริ่มทำการทดสอบพันธุ์ ข้อมูลจากการทดสอบพันธุ์ของสุกรชุดนี้พบว่ามีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีมากแต่จากการสังเกตุลักษณะภายนอกและข้อมูลของสุกรชุดนี้ยังมีความแปรปรวน ในลักษณะอัตราการเจริญเติบโต  ความหนาไขมันสันหลัง ความยาวความสูงของลำตัว


ลักษณะประจำพันธุ์


สุกรพันธุ์เปียแตรง ลำตัวมีสีขาวจุดดำ ใบหูขนาดกลางส่วนใหญ่ใบหูตั้ง หัวเรียวเล็ก ไหล่กว้าง แผ่นหลังกว้างเป็นร่อง สะโพกกลมใหญ่ มองเห็นเป็นกล้ามเนื้อเด่นชัด เจริญเติบโตเร็ว โตเต็มที่เพศผู้หนัก 250 กิโลกรัม เพศเมีย 200 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงมาก  นิยมใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้าย (Terminal boar) เพื่อผลิตลูกสุกรขุนสามสาย
  


ผลการเลี้ยงสุกร
1.การทดสอบพันธุ์สุกรเปียแตรงรุ่นที่นำเข้าจากประเทศเบลเยี่ยม
ตารางที่ 1  ผลการทดสอบพันธุ์สุกรเปียแตรงรุ่นที่นำเข้าจากประเทศเบลเยี่ยม

ที่
เบอร์สุกร
เพศ
ผลยีน
อัตราการเจริญเติบโต (กรัมต่อวัน)
ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร
ความหนาไขมัน
(ซม.)
พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน
(ตร.ซม.)
เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง
(%)
1
239
M
Nn
1087.72
1.702
1.02
41.96
57.35
2
240
M
Nn
982.46
1.786
0.92
39.10
56.93
3
246
M
NN
906.25
2.014
0.89
36.41
56.07
4
244
M
NN
895.52
1.933
0.96
33.23
54.73
5
229
M
NN
773.33
2.121
1.16
35.77
55.03
6
253
M
Nn
746.48
2.136
0.92
37.04
56.19
7
223
M
NN
743.90
2.138
1.06
34.66
54.94
8
216
M
Nn
565.22
2.410
0.79
32.12
54.84
9
242
F
Nn
1087.72
1.855
0.89
36.88
56.24
10
200
F
NN
929.69
1.913
1.16
36.41
55.26
11
207
F
Nn
842.11
2.275
1.32
42.27
56.86
12
243
F
NN
828.13
2.177
1.39
39.10
55.52
13
251
F
NN
808.22
2.122
1.45
37.36
54.69
14
220
F
Nn
803.28
2.367
1.32
37.52
55.15
15
183
F
Nn
750.00
2.413
1.39
38.31
55.23
16
249
F
NN
693.18
2.333
1.16
34.19
54.46
ค่าเฉลี่ย  
840.20
2.106
1.12
37.02
55.59
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  
138.72
0.223
0.21
2.79
0.90
2.ผลการทดสอบพันธุ์สุกรเปียแตรงรุ่นลูกที่เกิดในประเทศ
เบอร์สุกร
เพศ
ผลยีน
อัตราการเจริญเติบโต
(กรัมต่อวัน)
ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร
ความหนาไขมัน
(ซม.)
พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน
(ตร.ซม.)
0442
M
NN
886.79
2.17
0.65
38.74
1319
M
Nn
841.27
2.02
0.55
39.38
2150
M
NN
835.82
2.14
0.65
43.82
1146
M
NN
818.20
2.11
0.60
43.82
1138
M
NN
808.82
1.94
0.70
42.54
2156
M
Nn
796.88
2.09
0.57
37.47
2149
M
NN
780.80
2.32
0.70
40.64
1307
M
NN
761.90
1.99
1.00
38.10
1137
M
Nn
728.40
1.99
0.55
41.91
2103
M
Nn
723.68
2.00
0.50
46.36
1241
M
Nn
720.00
2.12
0.75
43.18
1298
M
NN
714.29
2.29
0.65
38.74

การเลี้ยงสุกร เป็น อาชีพเสิรม

การเลี้ยงสุกร เป็น อาชีพเสิรม


เงินลงทุน

ค่าพันธุ์สุกรประมาณตัวละ 1,000 บาทขึ้นไป (ค่าโรงเรือน ค่าอาหาร ขึ้นอยู่กับสุกรที่เลี้ยง)

รายได้
ขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่เลี้ยง

อุปกรณ์
พันธุ์สุกร โรงเรือนหรือเล้า รางน้ำ รางอาหาร อาหารสุกร (เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว ข้าวฟ่าง

รำละเอียด เป็นต้น)

แหล่งจำหน่ายพันธุ์สุกร
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทุกแห่งของกรมปศุสัตว์

วิธีการดำเนินงาน
พันธุ์ สุกรที่นิยมเลี้ยงมี 3 พันธุ์ คือ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซและดูรอก เริ่มจากซื้อลูกสุกรช่วงอายุที่หย่านมแล้ว คือ ประมาณ 28 วันขึ้นไป มาเลี้ยง เมื่อนำสุกรมาถึงโรงเรือน ควรแยกสุกรใหม่เลี้ยงไว้ต่างหากจากสุกรเดิม ประมาณ 15 วัน เพื่อป้องกันการนำโรคมาติดต่อ แล้วฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ โรคปากและเท้าเปื่อยให้สุกรใหม่

- สุกรพ่อพันธุ์ นิยมเลี้ยงพันธุ์ลาร์จไวท์และดูรอก เมื่อน้ำหนัก 50 กิโลกรัม แยกเลี้ยง ไว้คอกละ 1 ตัว ให้อาหารวันละ 1.5 กิโลกรัม (ไม่ควรเลี้ยงให้มีน้ำหนักมากเกินไป) เพราะจะทำให้ใช้งานไม่ได้นานและผสมพันธุ์ยาก) เมื่ออายุ 6 เดือนครึ่ง หัดให้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย อายุ 8 เดือน จึงใช้เป็นพ่อพันธุ์

- สุกรแม่พันธุ์ นิยมเลี้ยงพันธุ์ลาร์จไวท์และแลนด์เรซ ควรแยกเลี้ยงจากตัวผู้ เมื่อน้ำหนัก 50 กิโลกรัม และเลี้ยงร่วมกันเฉพาะตัวเมียคอกละไม่เกิน 6 ตัว เพื่อลดปัญหาไม่เป็นสัด (ไม่ควรเลี้ยงให้น้ำหนักมากเกินไป) สุกรตัวเมียจะเริ่มเป็นสัดเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน และเป็นครั้งต่อไปประมาณ 21 วัน/ครั้ง อาการที่สังเกตได้คือ เบื่ออาหาร อวัยวะเพศบวมแดง ปากช่องคลอดจะมีน้ำเมือกชุ่ม กระวนกระวายหรือซึม เริ่มให้ผสมพันธุ์ควรมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 90 กิโลกรัม (อายุประมาณ 8 เดือน)

การผสมพันธุ์ควรทำในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 24 วัน หากแม่สุกรไม่เป็นสัด
อีก แสดงว่าผสมพันธุ์ติดและอุ้มท้อง จึงควรระวังไม่ให้ได้รับการกระทบกระเทือน โดยแยกไปเลี้ยงเดี่ยว และอย่าให้แม่สุกรท้องผูก โดยผสมรำหรือผักสดให้กินทุกวัน
เมื่อแม่สุกรจะคลอดลูก จะนอนหายใจถี่ มีเมือกและน้ำคล่ำไหลออกมา หลังจากนั้นจึงคลอด ควรมีน้ำสะอาดตั้งไว้ให้ลูกสุกรกินตั้งแต่อายุได้ 2-3 วัน เมื่ออายุ 5-7 วัน ควรตั้งรางใส่อาหารให้หัดกิน อายุ 28-35 วัน ให้ทำการหย่านมลูกสุกร อายุ 42 วัน ถ่ายพยาธิ หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์
- การเลี้ยงสุกรขุน ควรเลี้ยงสุกรลูกผสมสองสายเลือดหรือสามสายเลือดเพราะเลี้ยงง่าย โตเร็วและแข็งแรงกว่าสุกรพันธุ์แท้ เลี้ยงจนอายุประมาณ 6 เดือน และน้ำหนักได้ตามความต้องการของตลาด จึงจำหน่าย

ข้อแนะนำ
1. ควรเลือกซื้อสุกรจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะจะได้ลูกจากพ่อแม่พันธุ์ที่ดี มีการดูแลป้องกันโรคระบาด

2. มีปัญหาด้านการเลี้ยงสุกร ขอคำปรึกษาได้ที่

- กรมปศุสัตว์ พญาไท กรุงเทพฯ โทร. 653-4550-7 ต่อ 3241-2

- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และอำเภอ

ขอบคุณที่มาของบทความอาชีพเสิรม http://lib-krabi.tripod.com/income/p18.htm

Monday, October 29, 2012

ขั้นตอนและวิธีการเคลื่อนย้ายสุกร

ขั้นตอนและวิธีการเคลื่อนย้ายสุกร

1.การเตรียมรถยนต์ ปูพื้นรถยนต์ด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง หรือต้นกล้วยหรือดินทราย เพื่อป้องกันสุกรลื่น ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควรจัดเตรียมกรง ถ้าขนย้ายสุกรจำนวนมากให้จัดเตรียมแผงกั้นเป็นล็อค เพื่อป้องกันสุกรไหลทับกันตาย และต้องมีแผงกั้นท้ายรถยนต์ด้วย รถยนต์ต้องมีหลังคาผ้าใบหรือตาข่ายกรองแสง เพื่อป้องกันแดดและฝน
2.การจัดการสุกรเมื่อขึ้นรถยนต์แล้ว ในระหว่างการเคลื่อนย้ายระวังอย่าให้สุกรร้อน ควรฉีดน้ำให้สุกรเมื่อขึ้นรถยนต์ให้ชุ่มทั้งตัว หรือใช้น้ำแข็งก้อนใหญ่ (เป็นมือ) ทุบ วางบนฟางพื้นรถยนต์เพื่อช่วยทำให้เย็นขึ้นและให้สุกรเลียเพื่อลดความเครียด ขณะเดินทางไม่ควรหยุดพักรถยนต์โดยไม่จำเป็น ถ้าสังเกตุดูว่าสุกรมีอาการบ่งบอกว่าร้อน เช่น หายใจหอบ ให้แวะฉีดน้ำให้แก่สุกร โดยราดน้ำที่บริเวณหัวสุกรก่อน จากนั้นจึงราดบริเวณลำตัว และควรเลือกเดินทางในขณะที่อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนมากนัก เช่น ตอนบ่ายใกล้ค่ำ หรือตอนกลางคืน เป็นต้
3. การจัดการเมื่อสุกรถึงปลายทาง เมื่อถึงฟาร์มปลายทางหลังจากนำสุกรลงจากรถแล้ว ควรให้สุกรพักผ่อนสักระยะหนึ่ง ไม่ควรรีบร้อนให้น้ำและอาหารทันที จากนั้นให้หาน้ำสะอาดให้กิน ควรละลายเกลือแร่ (อีเลคโตรไลท์) หรือวิตามินกับน้ำสะอาดให้สุกรกินในช่วง 3-5 วันแรก และให้ทำการกักโรคสุกรโดยแยกสุกรเลี้ยงต่างหาก เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน (ในกรณีที่สามารถปฏิบัติได้)
การฉีดยาและการจับสุกรตัวโตฉีดยา
การฉีดยา ในที่นี่ จะกล่าวถึงเน้นเฉพาะการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดยาเข้าใต้ผิว หนังเท่านั้น การฉีดยาหรือฉีดวัคซีนในสุกรตัวเล็กคงจะไม่มีปัญหา เพราะ สามารถจับสุกรได้ง่าย ส่วนสุกรตัวโตคงจะต้องมีวิธีการจับสุกรให้ยืน นิ่ง เพื่อสะดวกในการฉีดยา

การฉีดยาและการจับสุกรตัวโตฉีดยา
1. การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular injection)
ตำแหน่งที่ฉีดยา สุกรตัวโตฉีดตรงกล้ามเนื้อบริเวณคอ ห่างจากโคนหูประมาณ 2 นิ้ว ใช้เข็มเบอร์ 18 ยาว 1.5 นิ้ว โดยแทงเข็มในลักษณะตั้งฉากกับจุดที่แทงเข็ม สุกรตัวเล็กควรฉีดที่บริเวณกล้ามเนื้อขาหลังด้านในโดยใช้เข็มขนาดและความยาว ลดลงตามขนาดสุกร
2. การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneous ingection)
ตำแหน่งที่ฉีด นิยมฉีดใต้ผิวหนังห่างจากโคนหูประมาณ 2-3 นิ้ว โดยดึงหนังขึ้นแทงเข็มให้ผ่านชั้นผิวหนังเข้าไปในระหว่างชั้นผิวหนังกับชั้น กล้ามเนื้อ โดยแทงเข็มเฉียง ๆ ต้องใช้เข็มที่แหลมคม ตำแหน่งที่ฉีดอื่น ๆ เช่น บริเวณกึ่งกลางของขาหน้า โดยแทงเข็มขนานกับลำตัว หรือฉีดตรงบริเวณซอกรักแร้ขาหน้าก็ได้ เข็มควรมีความคมมาก
3.การฉีดยาเข้าบริเวณเส้นเลือด
ตำแหน่งที่ฉีดส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณเส้นเลือดที่ใบหูของสุกร ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ต้องการให้ออกฤทธิ์เร็วและเข็มที่ฉีดควรจะเป็นเข็มที่มี ขนาดเล็กเพาะป้องกันการแตกของเส้นเลือดและควรจะมีปลอกพลาสติกหุ้มอีกชั้น หนึ่ง
การจับสุกรตัวโตฉีดยา
ใช้เชือกหรือลวดผูกปาก โดยทำเป็นบ่วงรัดเหนือเขี้ยวในปากสุกร รัดเชือกให้แน่น นำปลายเชือกอีกด้านหนึ่งไปผูกไว้กับเสา ปกติธรรมชาติของสุกรเมื่อโดนเชือกผูกปากสุกรจะถอยหลังเต็มที่ ทำให้สามารถจับสุกรฉีดยาได้ง่าย (บางคนชำนาญอาจจะฉีดได้โดยไม่ต้องมัดปาก)
การใช้ยาป้องกันและรักษาสุกร
การใช้ยาป้องกัน และรักษาสุกรเจ็บป่วยในการป้องกันและรักษาสุกรเจ็บป่วยด้วยยาชนิดต่างๆ เป็น เรื่องละเอียดและจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงพอสังเขปเท่า นั้น

การใช้ยาป้องกันและรักษาสุกร
1. ยาปฏิชีวนะ เป็นสารที่สกัดจากจุลชีพบางชนิด ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค หรือทำให้เชื้อโรคนั้น ๆ ถูกทำลายได้ ยาปฏิชีวนะ ใช้ในการป้องกันและรักษาโรค เช่น โรคปอดบวม หลอดลมอักเสบ การอักเสบต่าง ๆ มีแผลหนอง โรคทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มดลูกอักเสบ โลหิตเป็นพิษ เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้ เช่น เพนนิซิลิน สเตรปโตมัยซิน เพนสเตรปโตมัยซิน แอมพิซิลิน กาน่ามัยซิน เทตร้าไซคลีน อ็อกซี่เทตร้า คลอเทตร้าไซคลีน นีโอมัยซิน ลินโคสเปคโตมัยซิน เป็นต้น
2.ยาซัลฟา เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรค ยาในกลุ่มนี้ เช่น สโตรเมซ ไบรีน่า ไตรซัลฟาน ไตรเวทตริน เวซูลอง ซัลเมท ซัลฟาเมอราซีน ซัลฟาควิน็อกซาลีน ซัลฟาเมทาซีน ซัลฟาไดอาซีน ซัลฟานิลาไมต์ ซัลฟาไทอาโซน เป็นต้น
3.ยาบำรุง ส่วนใหญ่เป็นยาเข้าในรูปฟอสฟอรัส แคลเซี่ยม แมกนีเซียม น้ำตาลกลูโคส ตลอดจนวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ช่วยกระตุ้น ให้การดุดซึมของระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ยาในกลุ่มนี้ เช่น โทโนฟอสฟาน อาริซิล คาโตซาล ไวตาเล็กซ์ อมิโนไลท์ คาลมาเด็ก (แคลเซียมโบโรกลูโคเนท) ไวตามินเอ ชนิดฉีด วิตามินบี – คอมเพล็กซ์ มัลติวิตามิน เป็นต้น
4.ยาฆ่าเชื้อโรค ใช้ล้างคอกโดยทั่วไป เช่น ไอซาล ซานิตัสเซฟล่อน ไอโอดีน ฟอร์มาลีน จุนสี น้ำยาไลโซน โซดาไฟ คลอรีน ปูนขาว วันคลีน แบทเทิลส์ ไบโอเทน ไบโอซึฃิค ไบโอคลีน ฟาร์มฟลูอิดเอส เป็นต้น ซึ่งมีวิธีการและข้อจำกัดในการใช้แตกต่างกัน ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนใช้งาน
5. ยาฆ่าพยาธิภายนอก ใช้ฆ่าพวกเห็บ ไร ขี้เรื้อน ขี้เรื้อนแห้งในสุกร เช่น เอ็นโก้ เย็นโก้ ไฟสเปรย์ มาลาเฟช มาลาไธออน เซฟวินส์ เยอร์เม็ก อาซุนโทน เนกูวอน ยาฉีดไอโวเม็ก โพเร็ค เป็นต้น
6. ยาถ่ายพยาธิ ยาฆ่าพยาธิในลำไส้ของสัตว์ที่ใช้กันมากที่สุด คือ ตัวยาปิพเพอร์ราซีน คาร์บอนเตตราคลอไรด์ ไพแรนเทลทาร์เทรด ไทอะเบนดาโซล เป็นต้น ชื่อการค้าได้แก่ เวอร์บาน ดาวซีน ฮอกโทซาน วอร์ม-เอ็กซ์ แบนมินซ์ ไอโวเม็ก (สำหรับฉีด) เลมิโซล 10% เลวาไซด์ ลีวาลิน 10% เป็นต้น
7. ยาที่ใช้กรอกปากลูกสุกร เพื่อป้องกันและรักษาลูกสุกรท้องเสีย เช่น ฟาร์โมซินป้ายลื้น (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาคลอเทตร้าไซคลีน ไฮโดรคลอไรด์) โคไล-การ์ด (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาสเตรปโตมัยซินซัลเฟต ซัลฟาไธอาโซน อะโทรฟีนซัลเฟต) ไดอะตรีมชนิดน้ำ (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาไตรเมโธปรีมซัลฟาไดอาซีน) โนโรดีนชนิดน้ำ (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาซัลฟาไดอาซีนไตรเมโธพริม) เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะใช้ยาผงละลายน้ำให้ลูกสุกรกิน หรือกรอกปากลูกสุกรก็ได้ เช่น นีโอมิกซ์ 325 เคดี-นีโอเป็นต้น
8. ยาใส่แผล ใช้ใส่แผลสดและแผลเรื้อรัง เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน ยาเหลือง เจนเชียนไวโอเลต (ยาสีม่วง) ซัลฟานิลาไมด์ เนกาซันท์ ลูกเหม็น (ใช้ฆ่าหนอนในแผลเรื้อรัง) สครูวอร์ม ขี้ผึ้งซัลฟานิลาไมด์ ขี้ผึ้งกำมะถัน แอลกอฮอล์ เป็นต้น
9. ฮอร์โมน ฮอร์โมนทีใช้ในการกระตุ้นลมเบ่งในแม่สุกร เช่น ฮอร์โมน อ็อกซี่โตซิน ส่วนฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน เอฟ 2 อัลฟา (ชื่อการค้า ลูทาไลส์) เป็นฮอร์โมนที่ใช้ฉีดในแม่สุกร เพื่อใช้กำหนดช่วงระยะเวลาคลอดให้แม่สุกร ทำให้สะดวกในการจัดการ หรือใช้ในกรณีที่แม่สุกรครบกำหนดคลอดแล้ว (114 วัน) แต่ไม่คลอดหลังจากฉีดแล้วจะช่วยให้แม่สุกรคลอดลูกภายใน 36 ชั่วโมง ในการใช้ฮอร์โมนให้ศึกษาวิธีการใช้ให้ละเอียด และควรปรึกษาสัตวแพทย์เพราะอาจส่งผลเสียต่อสัตว์และผู้ใช้ได้
10. ธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันโรคโลหิตจางในลูกสุกร เช่น ไฟเด็กซ์ ไมโอเฟอร์ พิกซ์เดร็ก ไอรอน-เดร็กทราน โรนาเด็ก เป็นต้น
โรคที่สำคัญในสุกร
โรคที่สำคัญในสุกรที่มักจะเกิดและต้องทำวัคซีนป้องกันโรคเพื่อการระบาดและการเสียหาย

โรคที่สำคัญในสุกร
1.โรคอหิวาต์สุกร เป็นโรคที่ระบาดรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัส พบว่าเป็นได้กับสุกรทุกอายุ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหาร กินน้ำ หายใจ หรือโดยทางบาดแผลที่ ผิวหนัง ใช้เวลาฟักตัว 3 วัน ถึง 3 สัปดาห์ แต่โดยทั่วไปประมาณ 7 วัน อาการที่พบคือ มีไข้สูง 105-108 องศาฟาเรนไฮต์ สุกรจะเบื่ออาหาร ซึม เยื่อตาอักเสบ (มีขี้ตา) ท้องผูก (ขี้เป็นเม็ด) และท้องร่วง (ขี้เป็นน้ำ) อาจพบอาการอาเจียนร่วมด้วย ผิวหนังบริเวณ หู คอ ท้อง และด้านในของขาหนีบ จะพบจุดเลือดออกเล็ก ๆ ทำให้ผิวหนังมีสีแดง และต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง ในแม่สุกรท้องอาจจะเกิดการแท้งลูก ติดต่อจากสุกรตัวหนึ่งไปยังตัวอื่น ได้รวดเร็วมาก ภายใน 7 วัน อาจเกิดโรคอหิวาต์ได้ทั้งฟาร์มเมื่อสุกรเป็นโรคอหิวาต์แล้ว อัตราการตายสูงถึง 90% และไม่มีทางรักษา
การป้องกัน ทำวัคซีนเมื่อลูกสุกรอายุประมาณ 6 สัปดาห์ และสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ควรทำวัคซีนทุก 6 เดือน ห้ามทำวัคซีนกับสุกรที่อ่อนแอหรือ สัตว์ป่วย หรือในสุกรตั้งท้องแก่ใกล้คลอด
2.โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคติดต่อที่รุนแรง ติดต่อได้อย่างรวดเร็วในสัตว์กีบคู่ (โค, กระบือ , แพะ ,แกะ, สุกร) โรคนี้เป็นได้กับสุกรทุกอายุ อัตราการเกิดโรคสูง แต่อัตราการตายต่ำ เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งในเมืองไทยขณะนี่พบอยู่ 3 ชนิด คือ โอ เอ และเอเชียวัน (ชนิดโอรุนแรงที่สุด) เมื่อเชื้อ โรคเข้าสู่ร่างกายสุกรแล้วจะใช้เวลาในการฟักโรคประมาณ 3-6 วัน สุกรจะเริ่มแสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น อาหารที่พบได้คือ มีตุ่มน้ำใสที่บริเวณ ปลายจมูก ปาก ลิ้น ริมฝีปาก เหงือก และผิวหนังบริเวณไรกีบ ต่อมาตุ่มน้ำใสจะแตก นอกจากนี้ยังพบอาการไข้สูง เบื่ออาหาร น้ำลายยืด ขาเจ็บ กีบลอกหลุด และน้ำหนักลด
การป้องกัน ทำวัคซีนเมื่อลูกสุกรอายุประมาณ 7 สัปดาห์ และทำวัคซีนอีกครั้ง ในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา และสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ทำวัคซีนทุก ๆ 4-6 เดือน
3. นอกจากนี้ก็มีโรคติดต่อในสุกรชนิดอื่นซื่งมีความสำคัญ ต้องอาศัยวิธีป้องกันโรค เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคโพรงจมูกอักเสบ โรค ที.จี.อี. ( โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบติดต่อ) โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไฟลามทุ่ง โรค พี .อา .อา .เอส โรคบิดมูกเลือด โรคปอด และโรคที่สำคัญอื่นๆ เป็นต้น
สุกรพันธุ์พื้นเมือง
สุกร พันธุ์พื้นเมืองเป็นสุกรที่เลี้ยงอยู่ตามหมู่บ้านชนบทพวกชาวเขา ลักษณะโดย ทั่วไป จะมีขนสีดำ ท้องยาน หลังแอ่น การเจริญเติบโตช้า ให้ลูกดก และเลี้ยง ลูกเก่ง จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น สุกรพันธุ์ไหหลำ พันธุ์ ควาย พันธุ์ราด พันธุ์พวง สุกรป่า เป็นต้น

สุกรพันธุ์ไหหลำ
เลี้ยงตามภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย มีสีดำปนขาว ตามลำตัวจะมีสีดำ ท้องมักมีสีขาว จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อย ไหล่กว้าง หลังแอ่น สะโพกเล็ก มีอัตราการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองอื่น ๆ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม

สุกรพันธุ์ราดหรือพวง
เลี้ยงตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มีขนสีดำตลอดตัว มีสีขาวปนแซมบ้างเล็กน้อย จมูกยาว ลำตัวสั้นป้อม หลังแอ่น ใบหูตั้งเล็ก ผิวหนังหยาบ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม

สุกรพันธุ์ควาย
เลี้ยงตามภาคเหนือและภาคกลาง มีลักษณะคล้ายสุกรไหหลำ แตกต่างกันที่พันธุ์ควายจะมีสีดำ สุกรพันธุ์ควายมีหูใหญ่ ปรกเล็กน้อย มีรอยย่นตามตัว เป็นสุกรที่มีขนาดใหญ่ กว่าสุกรพื้นเมืองพันธุ์อื่น แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม

สุกรป่า
เลี้ยงตามภาคต่าง ๆ ทั่วไป มีขนหยาบแข็ง สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเข้ม หรือสีดอกเลา หนังหนา หน้ายาว จมูกยาวและแหลมกว่าสุกรพื้นเมือง ขาเล็กและเรียว ดูปราดเปรียว ที่พบมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แม่สุกรโตเต็มที่หนักประมาณ 80 กิโลกรัม
การสุขาภิบาล
การ สุขาภิบาล     หมายถึง   การจัดการเพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบาย ปลอดภัยจาก เชื้อโรคต่าง ๆ การทำคอกให้สะอาด การให้อาหารที่ดี และการจัดการที่ เป็น ประโยชน์ต่อการผลิตสุกร
การทำความสะอาดคอกสุกร ควรทำความสะอาดคอกสุกรทุกวัน (โดยการกวาด แห้งด้วยไมักวาด ตักเอามูลสุกรออก) และล้างคอกด้วยน้ำอย่าง น้อยสัปดาห์ละ ครั้ง ควรล้างคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเดือนละครั้ง นอกจากนี้ควรทำบ่อเก็บ มูลสุกร เพื่อป้องกันกลิ่นและของเสียจากมูลสุกรไปรบกวน เพื่อนบ้าน

วิธีการป้องกันกำจัดกลิ่น และของเสียจากฟาร์มสุกร
เนื่องจากปัญหามลภาวะกลิ่นมูลสุกรจากฟาร์มสุกร ไปรบกวนชาวบ้านใกล้เคียงให้รำคาญ ตลอดจนการระบายน้ำเสียจากฟาร์มสุกรลงสู่แม่น้ำ ดังนั้น ผู้เลี้ยงสุกรควรจะต้องคำนึงถึงการป้องกันกำจัดกลิ่น และการเก็บของเสียจากฟาร์มสุกร ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการจัดการ ดังนี้
1. บ่อไอโอแก๊ส ฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่เลี้ยงสุกรหนึ่งพันตัวขึ้นไป ควรสร้างบ่อไอโอแก๊ส เพื่อเก็บมูลสุกร และนำพลังงานจากบ่อไอโอแก๊ส ซึ่งอยู่ ในรูปของแก๊สเปลี่ยนเป็นเป็นพลังงานไฟฟ้า ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานในฟาร์มสุกร หรือนำแก๊สที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาหารและกกลูกสุกร เป็นต้น
2. บ่อกำจัดน้ำเสีย
การทำฟาร์มสุกรควรมีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะฟาร์มสุกรที่เลี้ยงสุกร ใกล้กับแม่น้ำ บ่อบำบัดน้ำเสียประกอบไปด้วยบ่อตกตะกอน บ่อหมักและบ่อผึ่ง น้ำล้างคอกสุกรที่ผ่านการบำบัดแล้ว จะลดความสกปรกลงและลดกลิ่นเน่าเหม็นของมูลสุกร
3. บ่อเกรอะ ในฟาร์มสุกรของเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถสร้างบ่อไบโอแก๊สหรือบ่อบำบัดน้ำ เสีย ควรสร้างบ่อเกรอะไว้เก็บมูลสุกร ขนาดของบ่อ เกรอะขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่เลี้ยง ลักษณะของบ่อเกรอะก็เหมือนกันส้วมซึมที่ใช้ตามบ้านคน ประกอบด้วย 2 บ่อ บ่อแรกจะเป็นบ่อตกตะกอน ของแข็งจะตก ตะกอนลงที่บ่อแรก ส่วนที่เป็นของเหลวจะไหลต่ออกไปยังบ่อที่สองและของเหลวจากบ่อที่สองจะซึมลง ไปในดินหรือต่อท่อระบายสู่ข้างนอกต่อไป ของเหลวที่ระบายออกไปก็จะได้รับการบำบัดบ้างแล้ว
4. การใช้สารจุลินทรีย์ เช่น สารอี.เอ็ม (Effective Microorganisms) ราดพ่นตามโรงเรือน ตามกองมูลสุกร หรือราดตามบ่อน้ำเสียที่รองรับมูลสุกร สารอี.เอ็ม จะช่วยในการลดกลิ่นในฟาร์มสุกร (สารอี.เอ็ม นี้เท่าที่ทราบสามารถติดต่อขอซื้อได้ในราคาถูก ที่ศูนย์โยเร ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี) สารอี.เอ็ม มีวิธีการเก็บ และหมักเชื้อ (ต่อเชื้อได้เอง) เพื่อนำไปใช้ได้เป็นระยะเวลานาน
ชนิดของโรงเรือนสุกร
โรงเรือนสุกรมีหลายประเภทและหลายชนิดขึ้นอยู่กับชนิดประเภทสุกรที่เราต้องการจะเลี้ยง

ชนิดของโรงเรือน
โรงเรือนสุกรพันธุ์ มีคอกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ท้องว่าง แม่พันธุ์อุ้มท้องและคอกคลอด
- คอกพ่อพันธุ์ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1.2 เมตร (กว้างx ยาว x สูง)
- คอกแม่พันธุ์ท้องว่างขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
- คอกแม่พันธุ์อุ้มท้องขนาด 1.2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
- คอกคลอด ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร (ซองแม่คลอดขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร ที่เหลือจะเป็นบริเวณสำหรับลูกสุกร)
- สำหรับเกษตรกรรายย่อยคอกแม่พันธุ์ที่เหมาะสม ควรมีขนาด 1.5 x 2.0 เมตร สามารถใช้เป็นคอกเลี้ยงขังเดี่ยว และใช้เป็นคอกคลอดได้ด้วย ถ้าใช้เป็นคอกคลอดให้ทำซองไม้ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 2.0 เมตร ให้แม่สุกรอยู่ในซองคลอด ส่วนลูกสุกรปล่อยอยู่รอบ ๆ ซองคลอด (ภายในคอกคลอด)
โรงเรือนสุกรเล็กและสุกรรุ่น
- คอกสุกรเล็ก (ลูกสุกรหย่านมหรือน้ำหนักประมาณ 6-20 กิโลกรัม) ขนาด 1.5 x 2 เมตร สูง
0.8 เมตร
- คอกสุกรรุ่น (สุกรขนาด 20-35 กิโลกรัม) ขนาด 2×3 เมตร สูง 1 เมตร
โรงเรือนสุกรขุน
คอกสุกรขุนนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารออยู่ด้านหน้า ก็อกน้ำอัตโนมัติอยู่ด้านหลังคอก ก็อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดของคอก 4×3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขุนขนาด 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนก็ขึ้น อยู่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรขุนถ้าเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว
โรงเรือนสุกร
โรงเรือนที่ดีจะสะดวกในการจัดการฟาร์ม สุกรจะอยู่ภายในคอกอย่างสบาย ขั้นตอนในการสร้างโรงเรือนสุกรมีดังนี้
1. สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนสุกร ควรเป็นที่ตอนน้ำไม่ท่วม มีที่ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมนุมชน ตลาด และผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น
2. สร้างโรงเรือนสุกรตามแนวตะวันออก-ตะวันตก และระยะห่างของแต่ละโรง เรือน ประมาณ 20-25 เมตร เพื่อแยกโรงเรือนออกจากกันเป็นสัดส่วน
3. ลักษณะของหลังคาโรงเรือนสุกรม 5 แบบ ด้วยกัน

ประเภทของโรงเรือน
1. แบบเพิงหมาแหงน
โรงเรือนแบบนี้สร้างง่าย ราคาก่อสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ แสงแดดจะส่องมากเกินไปในฤดูร้อน ทำใหอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง ในฤดูฝนน้ำฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ง่าย ทำให้ภายในโรงเรือนชื้นแฉะ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง หากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก และจาก จะต้องให้มี ความลาดเอียงของหลังคาในระดับลาดชันสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงจากหัวคอกไปท้ายคอกได้สะดวก มิฉะนั้นจะทำให้ฝนรั่วลงในตัวโรงเรือน
2. แบบเพิงหมาแหงนกลาย
จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าแบบเพิงหมาแหงน แต่มีข้อดีสามารถใช้บังแสงแดด ป้องกันฝนสาดได้ดีขึ้น
3.แบบหน้าจั่ว
ราคาก่อสร้างจะสูงกว่าสองแบบแรก แต่ดีกว่ามาก ในแง่การป้องกันแสงแดดและฝนสาด โรงเรือนแบบนี้ถ้าสร้างสูงจะดีเนื่องจาก อากาศภายในโรงเรือนจะเย็นสบาย แต่ถ้าสร้างต่ำหรือเตี้ยเกินไปจะทำให้อากาศภายในโดยฌฉพาะตอนบ่ายร้อนอบอ้าว อากาศร้อนจะไม่ช่องระบายออก ด้านบนหลังคา
4. แบบจั่วสองชั้น
เป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไป มีความปลอดภัยจากแสงแดดและฝนมาก อากาศภายในโรงเรือนมีการระบายถ่ายเทได้ดี แต่ราคาค่า ก่อสร้างจะสูงกว่าสามแบบแรก แต่ก็นับว่าคุ้มค่า ข้อแนะนำก็คือ ตรงจั่วบนสุด ควรให้ปีกหลังคาบนยื่นยาวลงมาพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาดเข้า ในช่องจั่ว ในกรณีที่ฝนตกแรง ทำให้คอกภายในชื้นแฉะ โดยเฉพาะลูกสุกรจะเจ็บป่วย เนื่องจากฝนสาดและทำให้อากาศภายในดรงเรือนมีความชื้นสูง
5.แบบจั่วสองชั้นกลาย
มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแบบจั่วสองชั้น หลังคาโรงเรือนแบบนี้ เพื่อต้องการขยายเนื้อที่ในโรงเรือนให้กว้างใหญ่ขึ้น และจะดี ในแง่ป้องกันฝนสาดเข้าในช่องจั่วของโรงเรือน
วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างโรงเรือน
1. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน วัสดูที่ใช้ เช่น กระเบื้อง อะลูมิเนียม สังกะสี แฝก และจาก เป็นต้น
2. ความสูงและความกว้างของโรงเรือน ถ้าโรงเรือนสูงและกว้างจะมีส่วนช่วยให้โรงเรือนเย็นสบาย ถ้าเลี้ยงสุกรขุนมักจะสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดิน อยู่ตรงกลาง ขนาดของคอก ด้านหน้ากว้าง 4 เมตร ยาวไปด้านท้ายคอก 3.5 เมตร (ขังสุกรขุนคอกละ 8-10 ตัว) หลังคาจั่ว 2 ชั้น ควรสูงประมาณ 8 เมตร ความยาวของโรงเรือนตามความเหมาะสม 20-100 เมตร
3. พื้นคอก โดยทั่วไปสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรดวยพื้นคอนกรีต ซึ่งจะประหยัดเงินลงทุน ยกเว้นถ้าจะสร้างโรงเรือนสุกรพ่อแม่พันธุ์ อาจจะเป็นพื้นสองชั้น หรือเรียกว่าพื้นสแล็ต (พื้นสแล็ตสำเร็จรูปเป็นแผ่นมีรูเป็นช่อง ๆ สำหรับให้น้ำไหลจากพื้นชั้นบนลงไปพื้นชั้นล่าง) ใช้งบลงทุนมาก แต่จะสะดวกในการ จัดการดูแลสุกรพ่อแม่พันธุ์ และแม่สุกรเลี้ยงลูก
4. ผนังคอก ทั่วๆ ไป มักใช้อิฐบล๊อค แป๊บน้ำ ลวดถัก ไม้ขนาด 1.5 นิ้วx 3 นิ้ว ความสูงของผนังคอกจะสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควร สูง 1.2 เมตร
การจัดการพันธุ์สุกร
หมูแต่ละรุ่นแต่ละช่วงอายุมีการจัดการที่แตกต่างกันออกไปจึงควรศึกษาให้เข้าใจเพื่อผลสำเร็จสูงสุดของการเลี้ยงหมู

การจัดการพ่อสุกร

พ่อสุกรที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ให้อาหารโปรตีน 16 % ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพของพ่อสุกรด้วยว่าไม่อ้วนและผอมเกินไป
การจัดการแม่สุกร
ให้อาหารโปรตีน 16% ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม แม่สุกรสาวควรมีอายุ 7-8 เดือน น้ำหนัก 100-120 กิโลกรัม จึงนำมาผสมพันธุ์ (เป็นสัดครั้งที่ 2-3) ผสมพันธุ์ 2 ครั้ง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น) เมื่อผสมพันธุ์แล้วควรลดอาหารให้เหลือ 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อตั้งท้องได้ 90-108 วัน ควรเพิ่มอาหารเป็น 2-2.5 กิโลกรัม และเมื่อตั้งท้องได้ 108 วันคลอดลูก ให้ลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม (ปกติสุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน) แม่สุกรควรอยู่ในสภาพปานกลาง คือ ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป แม่สุกรจะให้ลูกดีที่สุดในครอกที่ 3-5 และควรคัดแม่สุกรออกในครอกที่ 7 หรือ8 (แม่สุกรให้ลูกเกินกว่าครอก ที่ 7 ขึ้นไป มักจะให้จำนวนลูกสุกรแรกคลอด มีชีวิต และจำนวนสุกรหย่านมลดลง)
การจัดการแม่สุกรก่อนคลอด ระวังอย่าให้แม่สุกรเจ็บป่วยหรือท้องผูก ควรจัดการ ดังนี้
1.แม่สุกรก่อนคลอด 7 วัน ให้อาบน้ำด้วยสบู่ทำความสะอาดแม่สุกร โดยเฉพาะราวนม บั้นท้าย อวัยวะเพศ แล้วพ่นอาบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (ละลายน้ำ ตามอัตราส่วน) และพ่นยาพยาธิภายนอก แล้วนำเข้าคอกคลอด
2.ก่อนแม่สุกรคลอด 4 วัน ควรลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม/วัน ควรผสมรำละเอียดเพิ่มอีก 20 % ในอาหาร โดยให้แม่สุกรกิน 4-6 วันก่อนคลอด หรือผสมแม็กนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) ประมาณ 10 กรัม โดยคลุกอาหารให้ทั่วให้แม่สุกรกินวันละครั้ง 1-3 วันก่อนคลอด เพื่อป้องกันแม่สุกรท้องผูก ช่วยลดปัญหาแม่สุกรคลอดยาก
3.ดูแลแม่สุกรอย่างใกล้ชิด อย่าให้แม่สุกรป่วย เช่น สังเกตรางอาหารว่าแม่สุกรกินอาหารหมดหรือไม่ ถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดกระสุน ท้องเสีย หอบแรง เป็นต้น ถ้าแม่สุกรป่วยก็ควรรักษาตามอาการ
คอกคลอด ก่อนนำแม่สุกรเข้าคอกคลอด คอกคลอดต้องสะอาด ราดหรือพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และโรยปูนขาว ต้องมีอาการพักคอกไว้อย่างน้อย 7 วัน ซึ่งจะเป็นการตัดวงจรของเชื้อโรค
การจัดการลูกสุกรเมื่อคลอด
แม่สุกรก่อนคลอด 24 ชั่วโมง จะมีน้ำนมไหลออกมาจากเต้านม ลูกสุกรแรกคลอดควรดูแลปฏิบัติ ดังนี้
-ใช้ผ้าที่สะอาดหรือฟางเช็ดตัวลูกสุกรให้แห้ง ควักเอาน้ำเมือกในปากและในจมูกออก
-การตัดสายสะดือ ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 1-2 นิ้ว ตัดสายสะดือด้วยกรรไกร
-ทารอยแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค
-ตัดเขี้ยวออกให้หมด (เขี้ยวมี 8 ซี่ ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ) เพื่อป้องกันลูกสุกรกัดเต้านมแม่สุกรเป็นแผลในขณะแย่งดูดนม
-รีบนำลูกสุกรกินนมน้ำเหลืองจากเต้านมแม่สุกรในนมน้ำเหลืองจะมีสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรค ปกตินมน้ำเหลืองจะมีอยู่ประมาณ 36 ชั่วโมง หลังคลอด จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมธรรมดา
การจัดการลูกสุกรแรกคลอด-หย่านม
-ลูกสุกรในระยะ 15 วันแรก ต้องการความอบอุ่น ต้องจัดหา ไฟกกลูกสุกร กล่องกระสอบ
-ลูกสุกรอายุ 1-3 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็กเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 2 ซี.ซี เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง
-ลูกสุกรอายุ 10 วัน เริ่มให้อาหารสุกรนมหรืออาหารสุกรอ่อน (อาหารเลียราง) เพื่อฝึกให้ลูกสุกรกินอาหาร โดยให้กินทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
ลูกสุกรทั่วไปหย่านมเมื่ออายุ 28 วัน (4 สัปดาห์)
การจัดการลูกสุกรเมื่อหย่านม
1.หย่านมลูกสุกรเมื่ออายุ 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ควรย้ายแม่สุกรออกไปก่อนให้ลูกสุกรอยู่ในคอกเดิมสัก 3-5 วัน แล้วจึงย้ายลูกออกไปคอกอนุบาล เพื่อป้องกันลูกสุกรเครียด และควรใช้วิตามินหรือยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้ลูกสุกรกินหลังจากหย่านมประมาณ 3-5 วัน
2.ลูกสุกรอายุ 6 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรและฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์(วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 6-12 เดือน)
3.ลูกสุกรอายุ 7 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย่ และฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 4-6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ (วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 4-6 เดือน)
4.ลูกสุกรอายุ 2 เดือนครึ่ง ควรให้ยาถ่ายพยาธิ และให้ซ้ำหลักจากให้ครั้งแรก 21 วัน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ควรถ่ายพยาธิทุก ๆ 6 เดือน
การจัดการแม่สุกรหลังคลอด
1.ฉีดยาปฏิชีวนะ ให้แม่สุกรหลังคลอดทันทีติดต่อกันเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อป้องกันมดลูกอักเสบ (ยาเพนสเตร็ป, แอมพิซิลิน, เทอร์รามัยซิน เป็นต้น
2.หลังคลอด 1-3 วัน ควรให้อาหารแม่สุกรน้อยลง(วันละ 1-2 กิโลกรัม) และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนให้อาหารเต็มที่เมื่อหลังคลอด 14 วัน (ให้อาหารวันละ 4-6 กิโลกรัม) จนกระทั่งแม่สุกรหย่านม ระวังอย่าให้แม่สุกรผอมเมื่อหย่านม ซึ่งจะมีผลทำให้แม่สุกรไม่สมบูรณ์พันธุ์ และโทรมมาก แม่สุกรหลังหย่านมควรขังรวมกันคอกละประมาณ 2-5 ตัว (ขนาดใกล้เคียงกัน) เพื่อให้เกิดความเครียดจะเป็นสัดง่ายและจะเป็นสัดภายใน 3-10 วัน ถ้าแม่สุกรเป็นสัดทำให้การผสมพันธุ์ได้เลย
ปัญหาแม่สุกรไม่เป็นสัด สุกรสาวหรือเม่สุกรหลังจากหย่านมแล้วไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ จะพบเห็นได้บ่อย ๆ มีวิธีแก้ไข ดังนี้
1. ต้อนแม่สุกรมาขังรวมกัน เพื่อให้เกิดความเครียด
2. เลี้ยงพ่อสุกรอยู่ใกล้ ๆ หรือให้พ่อสุกรเข้ามาสัมผัสแม่สุกรบ้าง .
การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกดก
1. คัดเลือกสายแม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ลาร์จไวท์ แม่พันธุ์แลนด์เรซ หรือลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์
2. ผสมเมื่อแม่สุกรเป็นสัดเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ไข่ตกมากจะอยู่ช่วงวันที่ 2-3 ของการะเป็นสัด ผสม 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชี่วโมง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น)
3. ถ้ามีพ่อสุกรหลายตัว และผลิตสุกรขุนเป็นการค้าควรใช้พ่อสุกร
4. แม่สุกรหลังจากหย่านมแล้ว 1 วัน ควรเพิ่มอาหารให้จนกระทั่งเป็นสัด โดยให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม (ไม่เกิน 15 วัน) เพื่อทำให้ไข่ตกมากขึ้น และเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ให้ลดอาหารแม่สุกรลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม ตามปกติ
การผสมพันธุ์สุกรสองสายพันธุ์และสามสายพันธุ์
การผสมพันธุ์สุกร หรือการทำการผสมข้ามสายพันธุ์นั้นเพื่อให้ได้สุกรที่มีประสิทธิภาพดีเลิศใน การผลิต เพื่อการเจริญที่ดีและได้หมูตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

การผสมพันธุ์สุกรสามสายพันธุ์
 

การผสมสุกรสองสายพันธุ์หรือสุกรสามสายพันธุ์ การเจริญเติบโต ความแข็งแรง ดีกว่าค่าเฉลี่ยของการให้ผลผลิตจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิด สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์ สามสายพันธุ์ หรือสี่สายพันธุ์ สามารถนำมาใช้เป็นสุกรขุนได้เช่นกัน แต่สากลนิยมทั่วไปมักใช้สุกรลูกผสมสามสายพันธุ์เป็นสุกรขุน คือ ดูร็อคเจอร์ซี่ x แลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ โดยใช้แม่สองสายพันธุ์ คือ แลนด์เรซ x ลาร์จไวท์ หรือ ลาร์จไวท์ x แลนด์เรซ ซึ่งถือว่าเป็นนสายแม่พันธุ์ที่มีคุณสมบัติการผลิตลูกดีที่สุด ส่วนพ่อสุดท้ายจะใช้พ่อพันธุ์แท้เป็นพันธู์ดูร็อคเจอร์ซี่ หรือ อีกทางให้เลือกคือ ใช้พ่อพันธุ์แท้เป็นพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ หรืออีกทางให้เลือก คือ ใช้พ่อพันธุ์แท้ เช่น ดูร็อคเจอร์ซี่ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ ผสมกับแม่พันธุ์แท้ เช่น พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ ดูร็อคเจอร์ซี่ จะได้ลูกผสมสองสายพันธุ์ใช้เป็นสุกรขุนได้ตามแผนผังด้านล่าง
การผสมพันธุ์สุกรสองสายพันธุ์
การใช้สุกรขุนสองสายพันธุ์ ใช้ในกรณีที่เรามีแม่พันธุ์แท้อยู่แล้ว สุกรสองสายพันธุ์สามารถใช้เป็นสุกรขุนได้เป็นอย่างดี จะขึ้นอยู่กับพ่อสุดท้าย ถ้าเป็นพ่อพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ มักจะให้ลูกสองสายพันธุ์ที่แข็งแรงกว่า อย่างไรก็ตามการผลิตสุกรขุนสองสายพันธุ์ จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าสุกรลูกผสมสามสายพันธุ์ เนื่องจากแม่สุกรพันธุ์แท้จัดหาซื้อมาในราคาที่แพงและมักจะอ่อนแอกว่าแม่ สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์
ปัจจัยในการเลี้ยงสุกร
ปัจจุบันการ เลี้ยงสุกรในประเทศไทยได้มีการพัฒนาการด้านพันธุ์อาหารสัตว์ การจัดการและ การสุขาภิบาล จนทัดเทียมกับต่างประเทศ การเลี้ยงสุกรภายในประเทศ แม้จะมี ฟาร์มใหญ่ ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตาม หมู่บ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เกตรกรรายย่อยดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้รับความรู้ ในด้านการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรอย่างถูก ต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำ รายได้ให้กับครอบครัว และยังจะได้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรให้ได้ผลดีด้วย

ปัจจัยที่จะทำให้การเลี้ยงสุกรประสบความสำเร็จประกอบด้วย
1. สุกรพันธุ์ดี
2. อาหารดี
3.โรงเรือนดี
4. การจัดการเลี้ยงดูดี
5. การป้องกันโรคดี
เหตุผลในการเลี้ยงสุกร
สุกรสามารถเลี้ยงได้ในจำนวนน้อย เป็นฟาร์มเล็ก ๆ ในการเลี้ยงสุกรต้องการพื้นที่เพียงเล็กน้อย การเลี้ยงสุกรใช้แรงงานน้อย เลี้ยงง่าย ใช้เศษอาหารและของเหลือต่าง ๆ เป็นอาหารสุกรได้ มูลสุกรใช้เป็นปุ๋ยอย่างดี และใช้กับบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มผลผลิตของการเลี้ยงปลา สุกรให้ลูกดกขยายพันธุ์ได้เร็ว การเลี้ยงสุกรเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี สามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 6 เดือน
การจัดการการเลี้ยงสุกรเบื้องต้น
การจัดการเลี้ยงดูสุกร

การเลี้ยงสุกรในประเทศไทยมีการพัฒนาการเลี้ยงที่ทันสมัย สามารถ พัฒนาจนทัดเทียมกับต่างประเทศ คนไทยสามารถทำการปรับปรุงพันธุ์จนได้สุกรสาย พันธุ์ที่เติบโตเร็ว ให้เนื้อมาก และมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็น เนื้อดี มีการนำเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรเครื่องมือมาใช้ในกิจการเลี้ยงสุกร ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบโรงเรือนที่ทันสมัยเป็นโรงเรือนระบบปิด ทั้งนี้การ จะเลี้ยงสุกรให้ได้ผลดีนั้นปัจจัยสำคัญก็คือ ผู้เลี้ยงสุกรเองต้องหมั่น ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์เพื่อนำมาปรับใช้ในฟาร์มตนเองอยู่เสมอ ซึ่งการ จัดการเลี้ยงดูสุกรนั้นมีข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. การจัดหาพันธุ์สุกรมาเลี้ยง
พันธุ์สุกรที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 สาย พันธุ์ คือ พันธุ์วาจไวท์ พันธุ์แลนเรซ และพันธุ์ดูร็อค เจอร์ซี โดยที่นิยม นำสุกรทั้ง 3 สายพันธุ์มาผสมข้ามกันให้ได้ลูก 2 สาย และ 3 สาย ซึ่งการจัดหา พันธุ์สุกรมาเลี้ยงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1.1มาจากฟาร์มที่เชื่อถือได้
1.2 ซื้อมาจากแหล่งที่ปลอดโรค
1.3 หากต้องการซื้อไว้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์จะต้องเป็นสุกรที่มีความ สมบูรณ์พันธุ์ ตัวเมียต้องมีเต้านมไม่น้อย กว่า 6 คู่
1.4ขนย้ายสุกรอย่างระมัดระวัง
1.5 กักแยกสุกรใหม่ไว้ต่างหาก 15 วัน ก่อนนำเข้าฝูง
2. การจัดการเลี้ยงดูสุกรพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ จัดการได้ดังนี้
การจัดการเลี้ยงดูสุกรพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นั้นมีความสำคัญ มาก ทั้งนี้เพราะถ้าหากเราต้องการจะได้ลูกต่อคอกในอัตราสูงและได้ลูกที่มี สุขภาพดีนั้น จะต้องมีการจัดการดูแลพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ดีด้วย ทั้งใน ช่วงก่อน ระหว่างการผสมพันธุ์ และหลังการผสมพันธุ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
2.1 การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ ปฏิบัติได้ดังนี้
- พ่อสุกรที่มีน้ำหนักได้ประมาณ 50 กิโลกรัม ต้องนำไปแยกไว้เลี้ยงต่างหาก คอกละ 1 ตัว
- พ่อสุกรต้องได้รับการออกกำลังกายบ้าง โดยให้พ่อสุกรออกเดินรอบ ๆ โรงเรือน
- อย่าให้พ่อสุกรอ้วนเกินไป
- เมื่อพ่อสุกรอายุได้ 6 เดือน ให้จูงพ่อสุกรไปหาตัวเมียบ้างเพื่อความคุ้นเคย
- เมื่อพ่อสุกรอายุได้ 8 เดือน ก็ใช้ผสมพันธุ์ได้ พ่อสุกร 1 ตัว จะผสมกับตัวเมียได้ 20
- พ่อพันธุ์ที่โตเต็มที่แล้วมีอายุเกินกว่า 15 เดือน ไม่ควรใช้ผสมพันธุ์มากกว่าวันละ 2 ครั้ง เดือนละไม่เกิน 30 ครั้ง
-เวลาที่นำพ่อสุกรเข้าผสมที่เหมาะคือ เวลาเช้า 05.00 – 07.00 น. และเย็น 17.00 – 19.00 น.
2.2 การจัดการสุกรแม่พันธุ์ ปฏิบัติได้ดังนี้
- แยกแม่สุกรออกเลี้ยงในคอกต่างหากเมื่อมีน้ำหนักได้ 50 กิโลกรัม หรือ เลี้ยงรวมกันเฉพาะแม่พันธุ์คอก ละ 6 ตัว
- อย่าให้แม่พันธุ์อ้วนเกินไป
-แม่สุกรจะเริ่มเป็นสัดเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน และจะเป็นสัด ทุก ๆ 21 วัน ควรจะผสมเมื่อเป็นสัดครั้งที่ 3 หรือเมื่ออายุไม่น้อย กว่า 7 เดือน
2.3 โปรแกรมวัคซีนและถ่ายพยาธิ ในพ่อแม่สุกรพันธุ์ปฏิบัติดังนี้
- โรคแท้งติดต่อ ตรวจปีละ 1 ครั้ง
- โรคอหิวาต์สุกร ให้วัคซีน 2 ครั้ง/ปี ครั้งแรกอายุ 2 เดือน ครั้งที่ 2 อายุ 6.5 เดือน และต่อไปทุก 6 เดือน
-โรคปากและเท้าเปื่อยให้วัคซีน 2 ครั้ง/ปี ครั้งแรกอายุ 10 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 อายุ 7 เดือน และต่อไปทุก 6 เดือน
- พยาธิภายในและภายนอกควรกำจัดทุก ๆ 6 เดือน
2.4 การให้อาหารพ่อ – แม่สุกรพันธุ์ มีการจัดการให้อาหารดังนี้
- พ่อพันธุ์ ให้ปฏิบัติดังนี้
- ให้อาหารข้นโปรตีน 14 – 15 เปอร์เซ็นต์ วันละ 2.5 กิโลกรัม
- ถ้าผสมบ่อยๆ เพิ่มอาหารข้นเป็นวันละ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของ น้ำหนักตัว
2.4.2 แม่พันธุ์ ให้ปฏิบัติดังนี้
- ระยะก่อนผสมหรือท้องว่างให้อาหารข้น โปรตีน 14 – 15 เปอร์เซ็นต์ วัน ละ 2 กิโลกรัม ก่อนผสม 10 – 14 วัน ควรให้อาหารพลังงานเพิ่มหรือที่เรียกว่า ปรนอาหาร (flushing) เพื่อกระตุ้นการตกไข่ให้มากขึ้น โดยเพิ่มเป็นวัน ละ 2.5 – 3 กิโลกรัม หรือเพิ่มไขมันใน อาหาร 10 เปอร์เซ็นต์
- ระยะหลังผสมพันธุ์ ระยะ 84 วันแรกของการอุ้มท้องหลังผสมช่วง 1 เดือน แรก ควรลดอาหารข้น เหลือวันละ 1.5 – 1.8 กิโลกรัม (ป้องกันแท้งลูก) หลังจาก นั้นค่อยๆ เพิ่มอาหารข้นเป็น 2 กิโลกรัม ระยะ 30 วันก่อนคลอด เพิ่มอาหารข้น เป็น 2.5 – 3 กิโลกรัม ก่อนคลอด 2 – 3 วัน ให้อาหารเยื่อใย เช่น รำอ่อน ผัก สด หญ้าสด ลดปริมาณอาหารข้นเหลือ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ จากที่ให้กิน งดให้ อาหารในวันคลอด
2.5 การจัดการผสมพันธุ์สุกร มีวิธีปฏิบัติดังนี้
- อาการแม่สุกรเป็นสัด จะแสดงอาการดังนี้
- อวัยวะเพศบวมแดง
-ไม่ยอมกินอาหาร
-ส่งเสียงร้อง กระวนกระวาย
การผสมทำได้ 2 วิธี คือ
- จูงพ่อพันธุ์ไปผสมกับตัวเมียที่เป็นสัด
- ผสมเทียม ปัจจุบันนิยมทำกันมาก ให้ผสมในวันที่ 2 ของการเป็นสัด และทำการ ผสมซ้ำอีกครั้งโดยให้มีระยะห่างกัน 8 – 16 ชั่วโมง เช่น ผสมครั้งแรกตอนเช้า ให้ผสมซ้ำอีกครั้งในตอนเย็น
2.6 การดูแลแม่สุกรอุ้มท้อง ปฏิบัติดังนี้
- ตรวจการกลับสัด ถ้าแม่สุกรไม่กลับมาเป็นสัดอีกหลังจาก ผสม 21 และ 42 วัน ให้มั่นใจว่าสุกรตั้ง ท้อง
- ตรวจการตั้งท้องโดยใช้เครื่องอุลตร้าโซนิคในท้อง 30 และ 45 วัน ของการตั้งท้อง
- โรงเรือนต้องแห้ง ป้องกันแม่สุกรลื่นล้ม
- ก่อนกำหนดคลอด 10 – 14 วัน ให้ถ่ายพยาธิแม่สุกร
-ก่อนคลอด 5 – 7 วัน ให้ย้ายแม่สุกรเข้าคอกคลอด
- ป้องกันไม่ให้แม่สุกรท้องผูกโดยผสมรำละเอียดลงในอาหาร 1 ใน 3 ของอาหารที่ให้สุกรในช่วง 3 – 5 วันก่อนคลอด
-ให้อาหารเส้นใย เช่น หญ้าและผักสดกับแม่สุกร
- หาฟางแห้งมาปูรองพื้นคอกก่อนคลอด 1 – 2 วัน
2.7 การจัดการแม่สุกรและลูกหลังคลอด ทำได้ดังนี้
2.7.1 แม่สุกร ให้ปฏิบัติดังนี้
-คลอดลูกได้ 3 – 4 ตัว จะหยุดเบ่งประมาณ 1 ชม. ถ้านานกว่านี้ต้องฉีดฮอร์โมนออกซีโตซิน 3 – 5 ซี.ซี.
-เบ่งแล้วลูกไม่ออก ต้องใช้มือล้วงช่วยเอาออกท่าคลอดปกติ ลูกสุกรจะเอาจมูก ออกก่อนตามด้วยหัว ลำตัว ส่วนท้าย ปกติจะคลอดทุก ๆ 15 นาที
- คลอดลูกออกหมดแล้ว รกจะถูกขับออกมา
- ฉีดยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันมดลูกอักเสบ เต้านมอักเสบ เช่น ยาเพ็นสเต รป (Penstrep) ฉีดวัคซีนกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาห์สุกร
- หลังคลอด 7 วัน แม่สุกรจะเป็นสัดเทียมแต่ไม่มีการตกไข่ ผสมไม่ได้ผล
-ก่อนหย่าลูก ควรฉีดวิตามินให้กับแม่สุกรจะทำให้เป็นสัดเร็วขึ้น
2.7.2 ลูกสุกรเกิดใหม่ ให้ปฏิบัติดังนี้
- ใช้ผ้าสะอาดเช็ดเยื่อและเมือกที่ห่อหุ้มลูกโดยเฉพาะบริเวณจมูกและปาก ทำให้ลูกสุกรร้อง ปอดทำงานเร็ว
- ใช้กรรไกรตัดสายสะดือห่างจากพื้นท้อง 1.5 – 2 นิ้ว ใช้ด้ายชุบน้ำยา ผูก ห่างจากพื้นท้อง 1 – 1.5 นิ้ว รัดให้แน่น แต้ม ทิงเจอร์
- ใช้กรรไกรตัดฟันเขี้ยว ล่าง 4 ซี่ บน 4 ซี่ ตัดให้สูงกว่าเหงือกเล็กน้อย
- ใช้กรรไกรตัดหาง ถ้าเป็นสุกรพันธุ์ตัดกึ่งกลาง ถ้าเป็นสุกรขุน ตัดออก 2 ใน 3 พร้อมตัดเบอร์หู
- ให้ลูกสุกรได้กินน้ำนมเหลืองหลังคลอด 6 ชั่งโมง
- ให้ความอบอุ่นลูกสุกรที่ต้องการอุณหภูมิ 35 – 40 องศาเซลเซียส ด้วยสปอร์ต ไลท์กก แขวนสูง 1 – 1.5 ฟุต นาน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นแขวน สูง 3 ฟุต หลัง 5 สัปดาห์ จึงเลิก    -หลังคลอด 1 – 3 วัน ฉีดธาตุ เหล็ก 200 มก. ต่อตัว ที่โคนขาหลังหรือคอ เพื่อป้องกันโรคโลหิต จาง
-เมื่ออายุครบ 1 สัปดาห์เลือกขนาดใกล้เคียงกันมาไว้คอกเดียวกัน
- อย่าให้ลูกสุกรเปียกน้ำ
- ตอนตัวผู้เมื่ออายุ 2 – 3 สัปดาห์ คัดตัวไม่ดีออก
-ช่วยเหลือลูกสุกรที่ไม่ได้กินนม โดยนำไปฝากแม่ตัวอื่น ๆ หรือใช้นม เทียม + น้ำอุ่น + ยา ปฏิชีวนะป้อนให้ลูกสุกรกิน
- ดูแลความสะอาด ความอบอุ่น และน้ำดื่ม
- หากแม่สุกรตัวใดมีลูกเกิน 12 ตัว ต้องนำไปฝากให้แม่สุกรที่มีลูกน้อยช่วยเลี้ยง
-เมื่อลูกสุกรอายุได้ 5 – 7 วัน ควรหัดให้ลูกสุกรกินอาหาร
-หย่านมลูกสุกรได้ตั้งแต่อายุ 3 – 5 สัปดาห์
2.8 การจัดการแม่สุกรหลังหย่านมลูกถึงผสมใหม่ สุกรแม่พันธุ์หลังหย่านม ลูกแล้วต้องจัดการให้เป็นสัดให้เร็วที่สุด มีข้อปฏิบัติไว้ดังนี้
-การให้อาหาร ทำได้โดย
-ก่อนหย่าลูก 3 – 4 วัน ลดอาหารข้นลงเหลือวันละ 2 กิโลกรัม ป้องกันนมคัด เต้า ให้หญ้าขนเพียง พอ
-เร่งอาหารพลังงานโดยวิธีปรนอาหารให้วันละ 3 – 4 กิโลกรัม ก่อน ผสม 3 – 7 วัน ทำให้ตกไข่มาก ขึ้น
-การจัดการทั่วไป ทำได้ดังนี้
- หลังหย่าลูก 2 วัน ทำการถ่ายพยาธิ
-หลังหย่าลูก ให้วัคซีนก่อนผสมอย่างน้อย 7 วัน
-หลังหย่าลูก 4 – 7 วัน แม่สุกรจะเป็นสัดจริงมีการตกไข่ ทำการผสมได้ เลย เพื่อให้สุกรผสมติดได้เร็วที่ สุด
2.9 การจัดการลูกสุกรหลังหย่านม ให้ปฏิบัติดังนี้
- ให้สุกรกินอาหารสุกรอ่อน โดยโรยให้ในรางทีละน้อย
- เมื่อสุกรมีอายุ 8 – 10 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนเป็นอาหารที่มี โปรตีน 17 – 18 เปอร์เซ็นต์ โดยโรยให้ในรางหรือใส่ในที่ให้อาหาร อัตโนมัติ ให้กินทั้งวัน
-ถ่ายพยาธิลูกสุกรเมื่ออายุ 6 สัปดาห์
-ให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาห์ครั้งแรกอายุ 2 เดือน ให้วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยครั้งแรกอายุ 10 สัปดาห์
2.10 การเลี้ยงดูสุกรรุ่น ให้ปฏิบัติดังนี้
- ให้อาหารอย่างเพียงพอ อย่าให้อ้วนเกินไป
-คัดเลือกสุกรรุ่นไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ทดแทน เมื่ออายุ 6 – 7 เดือน
-อาจจะขังสุกรรวมกันคอกละ 3 – 4 ตัว
-กระตุ้นให้เป็นสัดโดยนำพ่อพันธุ์มาขังไว้ในคอกใกล้ ๆ
-ควรผสมเมื่อสุกรเป็นสัดครั้งที่ 2 – 3
2.11 การเลี้ยงดูสุกรขุน สุกรขุน คือ สุกรเพศผู้ที่ตอนแล้ว เอาเพศเมีย ที่ไม่ได้คัดไว้ ทำพันธุ์เลี้ยงจนมีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม ก็จับส่ง ตลาดได้ ให้ปฏิบัติดังนี้
- การให้อาหาร ทำได้ 2 แบบ คือ
- ให้กินตลอดเวลาโดยใส่อาหารไว้ในถังอัตโนมัติตั้งให้สุกรกินตลอดเวลา
- ให้เป็นเวลา ส่วนมากจะให้เวลาเช้าและเย็น 2.11.2 อย่างเปลี่ยนสูตรอาหารโดยกระทันหัน
- พื้นโรงเรือนต้องสะอาดอยู่เสมอ

พันธุ์สุกรต่างประเทศที่เลี้ยงในประเทศไทย

พันธุ์สุกรต่างประเทศที่เลี้ยงในประเทศไทย-พันธุ์เปียแตรง
พันธุ์หมที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์แล้วแต่ความต้องการของตลาดและสภาพพื้นที่แต่ละที่

พันธุ์เปียแตรง
มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม มีสีดำขาวเหลือง ลายสลับ เป็นสุกรที่มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด โตเต็มที่ 150-200 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงมาก มีข้อเสีย คือ ตื่นตกใจช็อคตายง่าย และโตช้า ปัจจุบันนิยมใช้ผสมข้ามพันธุ์ในการผลิตสุกรขุน
พันธุ์สุกรต่างประเทศที่เลี้ยงในประเทศไทย-พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่
สุกรที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์แล้วแต่ความนิยมของตลาดและพื้นที่การเลี้ยง

พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่
มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกา มีสีแดง หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัวหนา หลังโค้ง โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม เป็นสุกรที่ให้ลูกไม่ดกเฉลี่ย 8-9 ตัว เลี้ยงลูกไม่เก่ง หย่านมเฉลี่ย 6-7 ตัว ลูกสุกรหลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว เจริญเติบโตเร็ว มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศทุกชนิด นิยมใช้เป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมที่สวยงาม แผ่นหลังกว้าง เจริญเติบโตเร็ว
สายพันธุ์สุกรตามการใช้ประโยชน์
การเลี้ยงหมูในประเทศไทยมีหลายรูปแบบและหลายสายพันธุ์ตามพื้นที่การเลี้ยงและความต้องการของตลาด
ประเภทสุกรแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการใช้ประโยชน์ คือ
1.ประเภทมัน เป็นสุกรรูปร่างตัวสั้น อ้วนกลม มีมันมาก สะโพกเล็ก โตช้า เช่น สุกรพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย
2.ประเภทเนื้อ รูปร่างจะสั้นกว่าพันธุ์เบคอน ไหล่และสะโพกใหญ่ เด่นชัด ลำตัวหนาและลึก ได้แก่ พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เบอร์กเชียร์ แฮมเเชียร์ เป็นต้น
3.ประเภทเบคอน รูปร่างใหญ่ ลำตัวยาว มีเนื้อมาก ไขมันน้อย ความหนาและความลึกของลำตัวน้อยกว่าประเภทเนื้อ ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ เป็นต้น
พันธุ์สุกรจากต่างประเทศ และพันธุ์สุกรพื้นเมืองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ตามรายละเอียด ดังนี้
พันธุ์สุกรต่างประเทศ-พันธุ์แลนด์เรซ
การเลี้ยงสุกรในประเทศไทยมีการนำสุกรหลายสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

พันธุ์แลนด์เรซ
มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ค นำเข้ามาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2506 มีสีขาว หูปรก ลำตัวยาว มีซี่โครงมากถึง 16-17 คู่ (สุกรปกติมีกระดูกซี่โครง 15-16 คู่) หน้ายาว โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีข้อเสียคือ อ่อนแอ มักจะมีปัญหาเรื่องขาอ่อน ขาไม่ค่อยแข็งแรง แก้ไขโดยต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพดี พันธุ์แลนด์เรซเหมาะที่ใช้เป็นสายแม่พันธ
พันธุ์สุกรต่างประเทศ-พันธุ์ลาร์จไวท์
พันธุ์ลาร์จ ไวท์  เป็นสุกรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อนำมาเลี้ยงและผลิตเนื้อให้ตรง ตามความต้องการของตลาดและนำมาทำการปรับปรุงพันธุ์

พันธุ์ลาร์จไวท์
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 มีสีขาว หูตั้ง ลำตัวยาว กระดูกใหญ่ โครงใหญ่ หน้าสั้น หัวใหญ่ โตเต็มที่น้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว คุณภาพซากดี พันธุ์ลาร์จไวท์ เหมาะที่ใช้เป็นทั้งสายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
การเคลื่อนย้ายสุกร
การเคลื่อนย้ายสุกรเพื่อป้องกันสุกรตายในระหว่างขนย้ายให้ควรปฏิบัติ ดังนี้

การเลี้ยงหมูหลุม

การเลี้ยงหมูหลุม

โรงเรือน
-โรงเรือนหมูหลุม ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น โครงไม้ไผ่ หลังคา มุงหญ้าคา ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 1.8 เมตร เลี้ยงสุกร ได้ 20 ตัว หรืออัตราส่วน สุกร 1 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร
-การเตรียมพื้นคอก (หลุม)
ขุดดินพื้นคอก กว้าง 4 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 90 เซนติเมตร แล้วก่อกำแพงอิฐบล็อค รอบภายในหลุมทั้งสี่ด้าน
-วัสดุที่ใช้ในการเตรียมพื้นคอก
แกลบ,มูลโค-กระบือ,รำข้าว และสารจุลินทรีย์ อี.เอ็ม
-วิธีทำ (ในแต่ละชั้นๆละ 30 เซนติเมตร)
1. ใส่แกลบให้ได้ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร
2. ใส่มูลโค-กระบือ 8 ถุงปุ๋ย และ รำข้าว 8 ถุงปุ๋ย(192 กิโลกรัม) ให้ทั่ว
3. ผสมสารจุลินทรีย์ อี.เอ็ม ขนาด 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 10 ลิตร รดให้ทั่วพอชุ่ม
ชั้นต่อไปทำเหมือนเดิมจนครบ 3 ชั้น แล้วทิ้งไว้ 7 วัน จึงนำสุกรลงเลี้ยง
-พันธุ์สุกร
เป็นลูกสุกร 3 สายเลือด ควรเป็นสุกรสายพันธุ์ดี จากฟาร์มไว้ใจได้ หย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 เดือน
-อาหารและวิธีการเลี้ยง
1. การเลี้ยงในระยะ 1 เดือนแรก
อาหารเป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด ผสมกับรำข้าว ในอัตรา ส่วน อาหาร 1 ส่วน รำ 3 ส่วน ให้กินเป็นเวลา เช้า กลางวัน เย็น โดยอัตรา ส่วนนี้ ให้อยู่ในระยะ 15 วันแรก ที่เลี้ยง หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จรูป ลง จนถึงครบ 1 เดือน ไม่ต้องใช้อาหารสำเร็จรูปต่อไป
2. การเลี้ยงระยะเดือนที่สองจนถึงจำหน่าย
งดการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป ใช้เฉพาะรำข้าวผสมกับน้ำปลาร้าต้ม และเศษพืชผัก เป็นอาหารเสริมโดยระยะการเลี้ยงนับแต่วันที่เริ่มนำสุกรลงเลี้ยงจนถึง จำหน่าย ใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือนถึง 5 เดือน ได้น้ำหนักประมาณ ตัว ละ 80-100 กิโลกรัม

เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม
เทคนิคการเลี้ยงสุกรโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ ประเทศเกาหลี
(อ้างโดย ดร.อานัติ ตันโช 2547 จากหนังสือ เกษตรกรรมธรรมชาติ )
สถาบันเกษตรธรรมชาติเกาหลี Janong ได้แนะนำให้เกษตรกรเลี้ยงแม่สุกรครั้งละ 30 แม่เพื่อผลิตลูก 600 ตัว/ปี การจัดการฟาร์มแบบเกษตรธรรมชาติทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 40 % แม่บ้าน 1 คนสามารถเลี้ยงสุกรได้ 30 ตัว โดยใช้อาหารที่ทำเอง 60-70 % เป็นการผสมผสานการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มเดียวกัน ใช้สิ่งเหลือใช้จากการเกษตรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด คอกสุกรจากระบบนี้ ไม่ต้องทำความสะอาดและล้างออกไป เป็นระบบการจัดการหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในฟาร์มอย่างสมบรูณ์ มูลสุกรจะถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นอาหารชั้นดีของสุกรและปุ๋ยชั้นเยี่ยม จากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์
การเลี้ยงสุกรในคอกที่ไม่แออัด ปล่อยแบบธรรมชาติสัมผัสดิน แสงแดด อากาศบริสุทธิ์ มีหญ้าสด พืชผักเป็นอาหารธรรมชาติที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุธรรมชาติทำให้ลำใส้ สุกรมีสุขภาพที่ดี ย่อยและดูดซึมอาหารได้ดี สุกรแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรคโดยธรรมชาติ ทำให้ไม่ต้องใช้ยาเคมีในการป้องกันและรักษาโรคเหมือนการเลี้ยงสุกรในฟาร์ม การค้าทั่วๆไป ซึ่งตรงตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพสัตว์ล่วงหน้าดีกว่าการรักษา positive animal health and welfare นอกจากนี้คุณภาพเนื้อสุกรจะมีสีชมพู มีปริมาณไขมันในสัดส่วนที่พอเหมาะ ชุ่มน้ำและมีกลิ่นหอมเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
เทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม กรณีศึกษาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี
(อ้างอิงจากปศุสัตว์อำเภอสร้างคอม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี)
โดยมีข้อมูลพื้นฐานจากกลุ่มเลี้ยงหมูหลุมของผู้ใหญ่สุวรรณ ศรีสุพัฒน์ บ้านศรีชมชื่น หมู่ 6 ตำบลบ้านหินโงม อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มแปลงสาธิตเกษตรกรรมธรรมชาติ สนับสนุนจากมูลนิธิศุภนิมิตรแห่งประเทศไทย โดยการเรียนรู้จากจังหวัดเชียงราย จากการดำเนินงานในรูปกลุ่มเกษตรกรในการเลี้ยงหมูหลุมพบว่า สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในชนบทได้เป็นอย่างดี และเป็นการใช้ทรัพยากรอาหารสัตว์ในท้องถิ่น ลดการใช้อาหารสำเร็จรูปจากท้องตลาดได้เป็นอย่างดี ทำให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอในการผลิตและการบริโภคผลผลิตจากชุมชน ดังนั้นในปี งบประมาณ 2548 สำนักงานปศุสัตว์อุดรธานี จึงได้ของบประมาณสนับสนุนการเลี้ยงหมูหลุมในหมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณบูรณาการผู้ว่าราชการจังหวัด
ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยง
1.การสร้างโรงเรือน เลือกพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง อากาศถ่ายเทสะดวก ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น โครงไม้ไผ่ หลังคาหญ้าคา ขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 4 x5x1.8 เมตร เลี้ยงคอกละ 20 ตัว หลังคาควรมีแสงรอดผ่าน หรือมีพื้นที่รับแสงได้ 1/3 ของพื้นที่คอกตลอดทั้งวัน จะทำให้มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ทุกวัน
2.การเตรียมพื้นคอก
2.1ขุดหลุมลึก 90 ซม.ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนหมูที่จะเลี้ยง โดยมีพื้นที่ต่อตัว 1- 1.5
เมตรต่อตัว
2.2 ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้าน และให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร ไม่ต้องเทพื้น
2.3 วัสดุเตรียมพื้นคอก โดยจัดทำเป็น 3 ชั้นๆละ 30 ซม. โดยใช้วัตถุดิบดังนี้
- แกลบดิบ 4,300 กิโลกรัม
- มูลโคหรือกระบือ 320 กิโลกรัม
- รำอ่อน 185 กิโลกรัม
- น้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสีเขียว1 ลิตร ซึ่งจะได้แบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลคติค
วิธีทำพื้นคอก
1.ใส่แกลบสูง 30 ซม.
2.ใส่มูลโค-กระบือ 8 ถุงปุ๋ย และรำข้าว 8 ถุงปุ๋ย ให้ทั่ว
3.ผสมน้ำหมักจุลินทรีย์ ขนาด 2 ช้อนโต๊ะละลายน้ำ 10 ลิตรรดให้ทั่วพอชุ่ม
4.ชั้นต่อไปทำเหมือนเดิมจนครบ 3 ชั้น ทิ้งไว้ 7 วันปล่อยให้เกิดการหมักของ
จุลินทรีย์ จึงนำลูกหมูหย่านมมาเลี้ยงเมื่อเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งให้เติมวัสดุรองคอกด้วย
เสริมเดิมให้เต็มเสมอ
3. พันธุ์สุกร
ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่ไว้ใจได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี หย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 เดือน น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม
4. อาหารและวิธีการเลี้ยง
4.1 ในระยะเดือนแรก ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับสุกรหย่านมมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับรำโรงสีชาวบ้าน ในอัตรา 1: 3 ให้กิน 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น เป็นเวลา 15 วันแรก หลังจากนั้นลดอาหารสำเร็จรูปลงจนครบ 1 เดือน ไม่ต้องให้อาหารสำเร็จรูปอีกต่อไป โดยในกลางวันให้กินอาหารเสริมประเภทพืช ผัก และถ้ามีกากน้ำตาลให้หั่นพืชผักหมักกับกากาน้ำตาลทิ้งไว้ 1 วัน แล้วให้กินจะเป็นการดียิ่ง
4.2 ในระยะเดือนที่ 2 จนถึงจำหน่าย งดให้อาหารสำเร็จรูป เกษตรกรนำกากปลาร้าต้มกับรำข้าว หรือใช้ รำปลายข้าว ในอัตราส่วน 1:1 และเศษพืชผักเป็นอาหารเสริม โดยมีระยะเวลาเลี้ยง 3-3 เดือนครึ่ง ได้น้ำหนักประมาณ 80-100 กก.
คำแนะนำการให้อาหาร
น้ำหนักหมู ชนิดอาหาร ปริมาณ กก/ตัว/วัน อาหารเสริม
12-20 กก. อาหารสำเร็จรูป 1.0-1.5 หญ้าสดหรือเศษผัก
20-35 กก. รำ+ ปลายข้าว 1.7- 2.0 หญ้าสดหรือเศษผัก
35-60 กก. รำ+ ปลายข้าว 2.5- 3.0 หญ้าสดหรือเศษผัก
60-100 กก. รำ+ ปลายข้าว 3.5 -4.0 หญ้าสดหรือเศษผัก
5. การดูแลอื่นๆ การคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ด้วยการเลี้ยงปล่อยให้หมูได้มีโอกาสสัมผัสดิน สุกรได้แสดงออกตามพฤติกรรม ป้องกันแสงแดดมากเกินไป ลมโกรกพอดี สุมไฟไล่ยุงในฤดูฝน
6. ต้นทุนการผลิต
6.1 ค่าโรงเรือน รวมอุปกรณ์ การให้น้ำและอาหาร เงิน 3,000 บาท
6.2 ค่าก่อกำแพงอิฐบล็อกภายในหลุมทั้ง 4 ด้าน เงิน 1,050 บาท
6.3 ค่าพันธุ์หมู 20 ตัวๆละ 1.200 บาท เงิน 24,000 บาท
6.4 ค่าจัดทำวัสดุรองพื้น เงิน 2,080 บาท ได้แก่ แกลบ 1 คันรถ เงิน 300 บาท มูลโค-
กระบือ 24 กระสอบๆละ 10 บาท เงิน 240 บาท รำข้าว 576 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน
1,440 บาท สารจุลินทรีย์ 100 บาท
6.5 ค่าอาหารหมู เงิน 6,575 บาท
- อาหารสำเร็จรูป 150 กก. ๆละ 10 บาท เงิน 1,500 บาท
- รำข้าว 1,750 กก.ๆละ 2.50 บาท เงิน 4,375 บาท
- กากปลาร้า เงิน 100 บาท
- ปลายข้าว 120 กก. ๆละ 5.00 บาท เงิน 600 บาท
6.6 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่นในการจัดอาหารเสริม เงิน 2,000 บาท
6.7 ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงิน 400 บาท (ไม่ได้คิดค่าแรงงาน) รวมต้นทุน 39,105 บาท
7. รายรับ
7.1 จำหน่ายสุกร 20 ตัวๆละ 3,000 บาท เงิน 60,000 บาท
7.2 ปุ๋ยชีวภาพที่ได้ 10 ตันๆละ 2,000 บาท เงิน 20,000 บาท
รวมรับ 80,000 บาท
ผลลัพท์จากการเลี้ยงหมูหลุม
การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการผลิตที่เหมาะสมกับการทรัพยากรและการบริโภค ในท้องถิ่นทำให้เศรษฐกิจฐานล่างมีความเข้มแข็ง สนับสนุนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่
ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม พึ่งพาการผลิตการบริโภคในท้องถิ่นเกิดความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชน
ด้านสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ครอบครัวมีงานทำหมุนเวียนตลอด ก่อเกิดรายได้ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตผสมผสานปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ใช้ทรัพยากร ผืนดินให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต ใช้วงจรชีวภาพหมุนเวียนให้เกิดการผลิตหลายรอบ ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านสุขภาพ การเลี้ยงหมูที่ไม่เครียดทำให้มีสุขภาพดี และการเลี้ยงด้วยหญ้าจะทำให้เนื้อสัตว์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอไมก้า 3 ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง และไขมันอุดตันในหลอดเลือดสูง และผลผลิตปลอดภัยปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ มีผลทำให้สุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง Food Quality ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเช่นเดียวกับอาหาร อินทรีย์
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1) ความท้าทายของกระแสโลก ทำให้ต้องปรับวิธีคิดการผลิตการเกษตร เพื่อสร้างอาหารเลี้ยงมนุษย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่
1.1) การเสื่อมของดินจากกิจกรรมของมนุษย์
1.2) น้ำขาดแคลนและแหล่งน้ำเกิดมลพิษ มีเชื้อโรค จากการเกษตรเคมี และอุตสาหกรรม
1.3) ภาวะโรคร้อน
1.4) ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
1.5) แหล่งพลังงานจากฟอสซิลไกล้หมด บทบาทการเลี้ยงสัตว์ในโลกต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง สัตว์เป็นตัวใช้ทรัพยากร มนุษย์มีความต้องการอาหารผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพิ่มขึ้น หากมีการจัดการที่ดีปศุสัตว์จะเป็นสิ่งส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ความอุดมสมบรูณ์ของดิน ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
2) ระบบการเลี้ยงสัตว์ผสมผสานการปลูกพืช จะมีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและเป็นเกษตรกรรายย่อย การเลี้ยงสัตว์เป็นความจำเป็นต่อวิถีชีวิตของคนจน เนื่องจากมีข้อจำกัดคือมีพื้นที่ถือครองน้อย ทรัพยากรจำกัด
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับแนวคิดนักวิชาการ นักพัฒนา นักส่งเสริมเพื่อรับกับกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ( เรียบเรียงจาก Why the need to change the mind set หนังสือ Livestock and Wealth Creation) จำเป็นต้องปรับปรุงการจัดการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อยให้มีประสิทธิภาพ การผลิตสูงขึ้น โดย
2.1 ต้องมีการ” เขียนตำราการเลี้ยงสัตว์ใหม่” เรื่องวิธีการปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรรายย่อย ซึ่งปกติมีแต่ตำราที่เป็นการผลิตเชิงเดี่ยวจากการทำฟาร์มแบบตะวันตก ยังไม่มีตำราเกี่ยวกับการเกษตรองค์รวม ซึ่งหากเกษตรกรพัฒนาการเลี้ยงสัตว์จะเป็นการเพิ่มรายได้และแก้ปัญหาความยาก จน
2.2 ให้คุณค่า” การยอมรับทางวิชาการ” ในการศึกษาวิธีการที่จะปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อย ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ลองผิดลองถูกจนเห็นผลเชิงประจักษ์ ซึ่งบางอย่างวิทยาศาสตร์เชิงเดี่ยวไม่สามารถพิสูจน์ได้ มีความซับซ้อนของธรรมชาติที่มนุษย์เรียนรู้ไม่หมดต้องมีการศึกษาตลอดเวลาไม่ หยุดนิ่ง เพื่อสร้างความอยู่ดีกินดีและลดปัญหาความยากจนในชนบท
2.3 ให้ความสำคัญ” กระบวนการมีส่วนร่วม” ในการวิจัยและพัฒนา เช่นการให้เกษตรกรและผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียกำหนดแผนชุมชนในการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ของชุมชน เช่น กรณีการเลี้ยงหมูหลุม การทำเกษตรอินทรีย์ องค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านมีมากมายกระจัดกระจาย นักวิชาการจำเป็นต้องนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสนับสนุนต่อยอดให้เกิดเป็น นวัตกรรม ซึ่งเป็นการปฏิรูปแนวคิดการทำงานของนักวิชากาในยุคใหม่ ”การจัดการความรู้” โดยกระบวนการวิจัย เพื่อท้องถิ่นซึ่งรวมทั้งการสร้างความรู้และการถ่ายทอดความรู้ การเผยแพร่ความรู้ เป็นต้น
2.4 การปรับเปลี่ยนแนวคิด “การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม” ไม่แยกตามกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงาน เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเกษตรผสมผสาน การปรับปรุงการจัดการเลี้ยงสัตว์จะมีผลกระทบต่อทั้งระบบ
ดังนั้นจากแนวโน้มกระแสโลกที่เกิดขึ้น เกษตรกรรายย่อยจะอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และพัฒนาใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตแบบผสมผสานทำให้มีผลผลิตหลายอย่างออกสู่ตลาด ลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชและตลาดต่างประเทศ
3. การส่งเสริมสนับสนุนควรทำครบวงจร ตั้งแต่ ความต้องการเนื้อสุกรของชุมชน ปัจจัยการผลิต ได้แก่ พันธุ์ อาหารสัตว์ สารธรรมชาติจากการหมักจุลินทรีย์ สมุนไพร ระบบการผลิต การแปรรูปโรงฆ่าขนาดที่พอเหมาะและเหมาะสมกับวัฒนธรรมการบริโภคในท้องถิ่น การจัดการตลาดควรเป็นการบริโภคในท้องถิ่น รวมทั้งกระบวนการกลุ่ม เพื่อเชื่อมโยงการสนับสนุนปัจจัยการผลิตในชุมชน เช่นการปลูกพืช ข้าวและโรงสีชุมชน ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จในการปฏิบัติ เป็นต้น
ความรู้การเลี้ยงหมูหลุม มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากทุกขั้นตอน ดังนั้น กรมปศุสัตว์ควรเสริมสร้างศักยภาพของนักวิชาการและนักส่งเสริม ในด้านแนวทางการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการสร้างความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการ ปฏิบัติจริง แทนการอบรมแบบเดิมซึ่งเกษตรไม่นำไปปฏิบัติ โดยกระบวนการวิจัยจะอยู่ในเนื้องานปกติของนักพัฒนานั่นเอง