Tuesday, June 4, 2013

ระบบการสืบพันธุ์สุกร เพศผู้

ระบบการสืบพันธุ์สุกร
เพศผู้
แบ่งเป็น 3 ส่วน
1. ลักษณะภายนอก
  • ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ปกป้องอันตราย ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม อัณฑะมีอุณหภูมิต่ำกว่าร่างกาย 2 - 3 องศา ถุงอัณฑะประกอบด้วย ชั้นผิวหนัง,ชั้นกล้ามเนื้อที่มี 2 ชั้น คือ Tumica Dartos และ Tumica vaqinalis ชั้นแรกติดกับผิวหนัง การถ่ายเทอุณหภูมิโดยการระเหยน้ำ และควบคุมโดยการยืดหรือหด ของชั้นแรก การปรับตัวทางด้านการหมุนเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยง
  • อัณฑะ (Testis) หน้าที่หลักคือการสร้างตัวอสุจิ และฮอร์โมนเพศผู้ภายในแต่ละ Tubules จะมีท่อ Seminiferous Tubules อยู่และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบ่งเป็น Tubulesในแต่ละ Tubules แบ่งออกเป็น Basement Membrane และ Epithelium Cell ในอย่างที่ 2 นี้ยังแบ่งเป็น Germ Cell ทำหน้าที่ผลิตอสุจิ และ Sertoti Cell ทำหน้าที่ผลิตอาหารให้กับตัวอสุจิ และมีหน้าที่คอยค้ำจุนตัวอสุจิอยู่ จะถูกควบคุมโดย FSH และLH (ควบคุมการค้ำจุน) มีเส้นเลือดเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยงทำหน้าที่ ในการผลิตฮอร์โมนเพศผู้ คือ Leydig Cell (พวก Androgen) Testosterone เป็นตัวหนึ่งใน Androgen และมีอนุพันธุ์คือ Androsterone แต่ละ Tubules จะมีท่อต่อกับ Rete Testis
2. ระบบท่อต่าง ๆ
  • Epididymidis ก่อนที่จะมาถึงส่วนนี้จะมีส่วนของ Vasa Efferent ,Efferent Duct Epiddymis มีหน้าที่หลักเป็นที่เก็บตัวอสุจิทำให้ตัวอสุจิมีความสมบูรณ์และเข้มข้นมาก ขึ้น(ไม่เข้มข้นเพราะมีของเหลวผสมอยู่) Epididymis แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หัว กลาง ท้าย
  • Vas Deferens ท่อน้ำเชื้อทำหน้าที่นำน้ำเชื้อเข้ามาในลำตัว
3. ระบบต่อมต่าง ๆ
  • Seminal Vesicle (เซมินัล เวลซิเคิล) หรือบางทีเรียก Vescicular Glands เป็นต่อมใหญ่สุด หนัก 200 กรัม กว้าง 7 ซ.ม. ยาว 13 ซ.ม. หน้าที่ผลิตของเหลวใสสีเทาประกอบด้วย ฟอสเฟต ,ไบร์คาร์บอเนต เพื่อปรับ pH ของน้ำเชื้อ
  • ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) หน้าที่หลั่งของเหลวประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียม ฯลฯ เรียกพวก Inorganic ion
  • ต่อมบัลโบยูรีทรัล (BolBourethal Glands) ทำหน้าที่ในการหลั่งช่วงสุดท้ายของการผสมพันธุ์ ผลิตสิ่งที่เป็นเม็ดวุ้น และสิ่งนี้จะอุดอยู่ที่ปากคอมดลูกเพื่อไม่ให้น้ำเชื้อไหลออกมา
  • Urethra หลั่งน้ำเชื่อโดยผ่านท่อนี้ โดยผ่านมาจาก Ductus Defferen Vescicular Glands
  • Penis ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่มีความยืดหยุ่นเรียกว่า Fibroelastic เป็นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อการตอบสนอง โตเต็มที่กว้าง 1.5 ซ.ม. ยาว 50 ซ.ม. และมีกล้ามเนื้ออยู่หนึ่งชนิดหนึ่งเรียกว่า Retractor ยืด Penis ไม่ให้ยืดผิดปกติ กล้ามเนื้อมีลักษณะเป็นรูปตัว S เรียก Sigmoid Flexure
เพศเมีย
1.รังไข่ หน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือผลิตเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมีย(ova) และผลิตฮอร์โมนเพศเมีย(Progesterone และ Estrogen) มีความสำคัญต่อไข่ที่ปฏิสนธิแล้วโดยเฉพาะ Estrogen รังไข่จะห้อยอยู่ที่ช่องท้องโดยมีเนื้อเยื่อที่เรียกว่า Broad Ligament ที่ทำหน้าที่ยึดรังไข่เรียก Mesevarium รังไข่ของสุกรมีรูปคล้ายพวกองุ่น มีไข่ตกประมาณ 10 - 20 ฟอง Graffion Follicle โตเต็มที่พร้อมที่จะตกไข่ LH เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ตกไข่ เมื่อตกไข่ แล้วจะเกิดการเปลื่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในเราเรียกว่า Corpus Luteum (คอร์ปัส ลูเทียม)แล้วจึงผลิตฮอร์โมน Progesteron เพื่อที่จะเตรียมพร้อมการตั้งท้อง Corpus Albicans ถุงหุ้มไข่ที่ฝ่อไป
2. ท่อนำไข่ (Oviduct )ยาวประมาณ 20 ซม. จะถูกด้วย Broad Ligament เรียกว่า Mesosalprinx สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน
  • Fimbriae รูปร่างเป็นปากกรวยที่รองรับการตกไข่
  • Infumdibullum เป็นท่อแคบ ๆ
  • Ampulla ท่อที่พองขึ้นเล็กน้อย และตัวอสุจิจะมาผสมกับไข่
  • Isthmus เป็นคอคอดตรงไปจนถึงปีกมดลูกและรอยต่อที่ต่อกับปีกมดลูกจะพองเมื่อตกไข่
3. มดลูก (Uterus) ขนาดเล็กแต่ปีกมดลูกจะมีขนาดใหญ่ มดลูกจะถูกยึดด้วย Broad Ligament ที่เรียกว่า Mesometrium ปีกมดลูกจะเป็นที่ที่ Embryo (คัมภะ)เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน มดลูกมีหน้าที่เป็นแหล่งของอาหารโดยที่อาหารจะผ่านทางรก และปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเติบโตของคัมภะ
4. ปากมดลูก (Cervix)หรือเรียกว่าคอมดลูกยาวประมาณ 10 ซ.ม. ลักษณะเป็นลอนผนังหนา คอมดลูกจะป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าระบบสืบพันธุ์ และจะทำหน้าที่บีบรัด Penis เพื่อกระตุ้นให้หลั่งน้ำเชื้อ
5. ช่องคลอด (Vagina) ยาวประมาณ 10 - 24 ซ.ม. รูเปิดของช่องปัสสาวะคือจุดที่แยกช่องคลอดกับปากช่องคลอด(Valva)
สุกรอายุ 8 เดือนจึงเหมาะที่จะผสมพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่ให้ดีควรมีอายุ 1 ปีขึ้นไป และสุกรสาวควรมีน้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 100 กก. เพราะสุกรที่ให้ลูกก่อนอายุ 1 ปี จะมีขนาดของคอกน้อยและช่วงของการสืบพันธุ์จะสั้น เพราะร่างกายชะงักไม่พัฒนา และจะมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกเพราะอายุยังน้อย

0 comments:

Post a Comment