Saturday, December 8, 2012

น้ำตา....สุกร...จุดจบ..ของชีวิต..


            สุกรหรือหมู ซึ่งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมของคนไทยมาก และตอนนี้ราคาสุกรสูงถึงกิโลกรัมละ 120 บาท ทำให้ราคาอาหารสูงตามไปด้วย ค่าครองชีพสูงทำให้กระทบต่อราคาอาหารที่จำเป็นเช่น ข้าวแกงราคาจานละ 25-30 บาท

          เพราะเหตุนี้เอง ทำให้ฟาร์มสุกรถึงตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงแต่สุกรหน้าฟาร์มถูกกว่าสุกรชำแหละตลาด จึงกดดันทำให้เกิดปัญหาเรื่องราคา จึงทำให้ทางกลุ่มผู้เลี้ยงแก้ปัญหา โดยการชำแหละหมูเองในฟาร์มเพื่อพยุงราคาให้อยู่รอด จุดนี้เองทำให้วันนี้ เห็นข่าวในทีวี มีการชำแหละหมูเองและที่น่าสงสารที่สุดเลยคือ สถานที่ชำแหละนั้นอยู่หน้าคอกที่เลี้ยงหมูนั่นเอง


          ภาพที่เห็นเพื่อนๆโดนตัดแขนตัดขา ลากไส้ มาชำแหละให้เห็น บรรดาเหล่าสุกรเหล่านั้น...น้ำตา..สุกร.. มันก็ไหลออกมาเอง มันยืนมองเพื่อนของมัน แล้วมันคงนึกถึงชะตากรรมของมันเหมือนกัน...

          อนิจจา..อาหารมนุษย์..จุดจบ..ของชีวิตหนึ่ง เพื่อต่ออีกชีวิตหนึ่ง รู้ทั้งรู้ว่า...เป็นธรรมดาของห่วงโซ่อาหาร แต่ก็อดสงสารไม่ได้   อนิจจาชีวิตที่เลือกเกิดไม่ได้ ..หลงไปกับอาหารที่เขาปรนเปรอ เพื่อที่จะได้เติบโตและเดินทางไปสู่จุดจบ...ของชีวิต.

การผสมเทียมสุกร

การผสมเทียมสุกร

ภาพ:Pas8.jpg
        การเลือกพ่อสุกรมารีดเชื้อ
        1. ต้องตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ
        2. พ่อพันธุ์ต้องมีอายุมากกว่า 9 เดือน หรือมีน้ำหนักมากกว่า 110 กิโลกรัม
        3. ความถี่ในการรีดเชื้อของพ่อสุกร แตกต่างกัน         - อายุ 8 – 10 เดือน รีดได้ทุก 15 วัน
        - อายุ 10 – 12 เดือน รีดได้ทุก 10 วัน
        - อายุ 1ปีขึ้นไป รีดได้ทุก 7 วัน
        4. งดรีดเชื้อพ่อพันธุ์ที่มีอาการขาเจ็บ ให้ทำการรักษาก่อน

การนำน้ำเชื้อไปผสมในแม่พันธุ์

        1. แม่พันธุ์ต้องเป็นสัดแล้วเต็มที่ มีอาการยืนนิ่งเมื่อกดหลัง
        2. ทำความสะอาดแม่พันธุ์
        3. ใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศ
        4. ใช้น้ำเกลือล้างอวัยวะเพศอีกครั้ง
        5. ล้าง catheter ด้วยน้ำเกลือทั้งภายนอกและภายใน
        6. ค่อยๆสอด catheter เข้าไปในอวัยวะเพศเมีย โดยค่อยๆหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนปลาย catheter ล็อคติดกับปากมดลูก (cervix) ทดลองดึงเบาๆจะไม่หลุดออก
        7. หยิบขวดน้ำเชื้อมา ตัดปลายหลอด แล้วใส่ปลายหลอดน้ำเชื้อในรู catheter
        8. ค่อยๆบีบน้ำเชื้อเข้าไปในมดลูกจนหมดหลอด (ประมาณ 5 นาที) รอสักครู่ค่อยๆดึง catheter ออกโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา
        9. อุปกรณ์ที่ใช้แล้วนำไปล้างและนึ่งฆ่าเชื้อก่อนนำมาใช้ใหม่

 ประโยชน์ของการผสมเทียมสุกร

        1. สามารถแพร่เลือดของพ่อพันธุ์ที่ดีเยี่ยมไปได้มากและกว้างขวางที่สุด
        2. การผสมเทียมเป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคต่างๆ อันอาจเกิดได้ง่ายจากการผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ เช่น แท้งติดต่อ วัณโรค
        3. การผสมเทียมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อพ่อพันธุ์สุกรซึ่งมีราคาแพงมากมาไว้ในฟาร์ม
        4. สามารถเก็บเชื้อพ่อพันธุ์ดีไว้ใช้ได้นานปี
        5. ช่วยขจัดปัญหาแตกต่างระหว่างขนาดของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้
        6. สัตว์ตัวเมียที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ ไม่อาจผสมพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ ก็อาจใช้วิธีการผสมเทียมติดได้
        7. เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาค้นคว้าทางวิชาพันธุศาสตร์

มาตรฐานการผลิตสุกร

มาตรฐานการผลิตสุกร เอกสาร คำแนะนำมาตรฐานการผลิตสุกรนี้นำเสนอค่าตัวเลขที่แสดงสมรรถภาพการผลิตของฝูง สุกร  ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยในการจัดทำงบประมาณ และการตั้งค่าเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสุกร ประสิทธิภาพของการผลิตสุกรรายตัวและของฝูงนั้น จะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม อาหาร สุขภาพ คอก โางเรือน และการจัดการเลี้ยงดู มาตรฐานการผลิตนี้ ควรดูค่าแต่ละรายการมาตรฐานอิสระต่อกัน โดยไม่ดูเป็นรายคอลัมน์ ตัวอย่างเช่น การตายก่อนหย่านม 8% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก แต่ในทางปฏิบัติครอกขนาดแล็ดที่ลูกสุกรตัวโต จะสามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ง่ายกว่าครอกขนาดใหญ่ที่ลูกสุกรตัวเล็ก ในทำนองเดียวกันอัตราการเจริญเติบโตต่อวันขึ้นอยู่กับน้ำหนักส่งตลาดด้วย ค่ามาตรฐานเหล่านี้เป็นค่าที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศ ออสเตรเลีย แถบตอนเหนือ ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นใกล้เคียงกับประเทศไทย วงการอุตสาหกรรมการผลิตสุกร   ของไทย สามารถนำค่ามาตรฐานเหล่านี้ไปเปรียบเทียบและใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง มาตรฐานการผลิตสุกรในประเทศไทยได้
                                            
 ลักษณะมาตรฐาน
 พอใช้
   ดี  ดีมาก
 ฝูงสุกรพ่อแม่พันธุ์   
 จำนวนลูกคลอดมีชีวิตต่อครอก (ตัว) 9.0 10.5 11.0
 จำนวนลูกตายก่อนคลอดต่อครอก (ตัว) 0.8 0.6 0.5
 อัตราการตายก่อนหย่านม (%) 13.0 11.0 8.0
 อัตราการคลอด (%) 82.0 87.0 89.0
 จำนวนครอกต่อแม่ต่อปี (ครอก) 2.1 2.2 2.3
 นำหนักแรกคลอด (กิโลกรัม) 1.2  1.4  1.45 
 น้ำหนักเมื่ออายุ 28 วัน (กิโลกรัม) 6.7  7.7  8.0
 ฝูงสุกรรุ่น
 อัตราการตายหลังหย่านม (%)
 อัตราการเปลี่ยนอาหารต่อน้ำหนักซาก (FCR) 3.6 3.3  2.8 
 อัตราการเจริญเติบโตตั้งแต่เกิดถึงซาก 100 กิโลกรัม (g/d) 440  490  560 
 รวมสุกรทั้งฝูง
 จำนวนลูกสุกรหย่านมต่อแม่ต่อปี (ตัว) 18  20  22 
 อัตราการเปลี่ยนอาหารต่อน้ำหนักซาก (FCR) 4.5  4.0  3.8 
                                              คำอธิบายการคำนวณมาตรฐาน
  อัตราการตายก่อนหย่านม = ((จำนวนลูกเกิดมีชีวิต - จำนวนลูกหย่านม) x 100) / จำนวนลูกเกิดมีชีวิต
  อัตราการคลอด = สัดส่วนเป็นร้อยละของแม่ที่คลอดต่อจำนวนครั้งที่ผสมพันธุ์ทั้งหมด
  จำนวนครอกต่อแม่ต่อปี =((จำนวนครอกที่คลอดในช่วงเวลาที่กำหนด / จำนวนแม่เฉลี่ยในช่วงเวลาที่กำหนด) x 12
                                    / จำนวนเดือน (ตามช่วงเวลาที่กำหนดนั้น)
  เมื่อคำนวณ "จำนวนแม่เฉลี่ย" ต้องรวมเอาแม่ที่มีอยู่ทุกตัว ทั้งแม่สาวที่ได้รับการผสมแล้ว และแม่ที่กำลังรอการผสมพันธุ์
หาค่าเฉลี่ยจำนวนแม่ตลอดช่วงระยะที่กำหนด
  FCR = จำนวนอาหารที่ต้องการ เพื่อผลิตเนื้อสุกร 1 กิโลกรัม อาจจะเป็นน้ำหนักซากตกแต่ง หรือน้ำหนักมีชีวิต ในระยะเวลาที่กำหนด อาจจะเป็นการวัดเฉพาะของสุกรรุ่นอย่างเดียว หรือของทังฝูงรวมสุกรพันธุ์และสุกรรุ่นด้วยกัน ประสิทธิภาพการใช้อาหารจะลดลง เมื่ออายุมากขึ้น
  น้ำหนักซาก (น้ำหนักซากอุ่นตามมาตรฐาน (HSCW)) = น้ำหนักมีชีวิต x เปอร์เซ็นต์ซาก
  เปอร์เซ็นต์ซาก = (น้ำหนักซาก / น้ำหนักมีชีวิต) x 100
โดยทั่วไปสุกรที่มีน้ำหนักมากกว่าจะมีเปอร์เซ้รต์ซากสูงกว่า จะมีค่าประมาณ 72 % ถึง 80 %

สุกรเปียแตรง

สุกรเปียแตรง

http://www.dld.go.th/breeding/small/image/pa%201.jpg

       รัฐบาลประเทศเบลเยี่ยมได้น้อมเกล้าฯ ถวายสุกรพันธุ์เปียแตรงสายใหม่ดังกล่าวเพื่อมอบให้แก่มูลนิธิโครงการหลวงและกรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบดูแลช่วงที่ดำเนินการกักโรคจนกระทั่งสามารถเป็นพ่อแม่พันธุ์และผลิตลูกสุกรได้ กรมฯจึงมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่เป็นผู้เลี้ยงสุกรดังกล่าวใน โดยใช้งบประมาณของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นสุกรพันธุ์เปียแตรง จำนวน 16 ตัว ( เพศผู้ 8 ตัว เพศเมีย 8 ตัว) อายุเฉลี่ย 92.69 วัน น้ำหนัก ณ วันที่มาถึง (16 ธันวาคม 2547) เฉลี่ย 26.81 กิโลกรัม สุกรที่มาถึงที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่  หลังจากพักฟื้นเป็นเวลา 7 วัน จะเริ่มทำการทดสอบพันธุ์ ข้อมูลจากการทดสอบพันธุ์ของสุกรชุดนี้พบว่ามีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีมากแต่จากการสังเกตุลักษณะภายนอกและข้อมูลของสุกรชุดนี้ยังมีความแปรปรวน ในลักษณะอัตราการเจริญเติบโต  ความหนาไขมันสันหลัง ความยาวความสูงของลำตัว


ลักษณะประจำพันธุ์


สุกรพันธุ์เปียแตรง ลำตัวมีสีขาวจุดดำ ใบหูขนาดกลางส่วนใหญ่ใบหูตั้ง หัวเรียวเล็ก ไหล่กว้าง แผ่นหลังกว้างเป็นร่อง สะโพกกลมใหญ่ มองเห็นเป็นกล้ามเนื้อเด่นชัด เจริญเติบโตเร็ว โตเต็มที่เพศผู้หนัก 250 กิโลกรัม เพศเมีย 200 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงมาก  นิยมใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้าย (Terminal boar) เพื่อผลิตลูกสุกรขุนสามสาย
  


ผลการเลี้ยงสุกร
1.การทดสอบพันธุ์สุกรเปียแตรงรุ่นที่นำเข้าจากประเทศเบลเยี่ยม
ตารางที่ 1  ผลการทดสอบพันธุ์สุกรเปียแตรงรุ่นที่นำเข้าจากประเทศเบลเยี่ยม

ที่
เบอร์สุกร
เพศ
ผลยีน
อัตราการเจริญเติบโต (กรัมต่อวัน)
ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร
ความหนาไขมัน
(ซม.)
พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน
(ตร.ซม.)
เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง
(%)
1
239
M
Nn
1087.72
1.702
1.02
41.96
57.35
2
240
M
Nn
982.46
1.786
0.92
39.10
56.93
3
246
M
NN
906.25
2.014
0.89
36.41
56.07
4
244
M
NN
895.52
1.933
0.96
33.23
54.73
5
229
M
NN
773.33
2.121
1.16
35.77
55.03
6
253
M
Nn
746.48
2.136
0.92
37.04
56.19
7
223
M
NN
743.90
2.138
1.06
34.66
54.94
8
216
M
Nn
565.22
2.410
0.79
32.12
54.84
9
242
F
Nn
1087.72
1.855
0.89
36.88
56.24
10
200
F
NN
929.69
1.913
1.16
36.41
55.26
11
207
F
Nn
842.11
2.275
1.32
42.27
56.86
12
243
F
NN
828.13
2.177
1.39
39.10
55.52
13
251
F
NN
808.22
2.122
1.45
37.36
54.69
14
220
F
Nn
803.28
2.367
1.32
37.52
55.15
15
183
F
Nn
750.00
2.413
1.39
38.31
55.23
16
249
F
NN
693.18
2.333
1.16
34.19
54.46
ค่าเฉลี่ย  
840.20
2.106
1.12
37.02
55.59
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  
138.72
0.223
0.21
2.79
0.90
2.ผลการทดสอบพันธุ์สุกรเปียแตรงรุ่นลูกที่เกิดในประเทศ
เบอร์สุกร
เพศ
ผลยีน
อัตราการเจริญเติบโต
(กรัมต่อวัน)
ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร
ความหนาไขมัน
(ซม.)
พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน
(ตร.ซม.)
0442
M
NN
886.79
2.17
0.65
38.74
1319
M
Nn
841.27
2.02
0.55
39.38
2150
M
NN
835.82
2.14
0.65
43.82
1146
M
NN
818.20
2.11
0.60
43.82
1138
M
NN
808.82
1.94
0.70
42.54
2156
M
Nn
796.88
2.09
0.57
37.47
2149
M
NN
780.80
2.32
0.70
40.64
1307
M
NN
761.90
1.99
1.00
38.10
1137
M
Nn
728.40
1.99
0.55
41.91
2103
M
Nn
723.68
2.00
0.50
46.36
1241
M
Nn
720.00
2.12
0.75
43.18
1298
M
NN
714.29
2.29
0.65
38.74

การเลี้ยงสุกร เป็น อาชีพเสิรม

การเลี้ยงสุกร เป็น อาชีพเสิรม


เงินลงทุน

ค่าพันธุ์สุกรประมาณตัวละ 1,000 บาทขึ้นไป (ค่าโรงเรือน ค่าอาหาร ขึ้นอยู่กับสุกรที่เลี้ยง)

รายได้
ขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่เลี้ยง

อุปกรณ์
พันธุ์สุกร โรงเรือนหรือเล้า รางน้ำ รางอาหาร อาหารสุกร (เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว ข้าวฟ่าง

รำละเอียด เป็นต้น)

แหล่งจำหน่ายพันธุ์สุกร
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทุกแห่งของกรมปศุสัตว์

วิธีการดำเนินงาน
พันธุ์ สุกรที่นิยมเลี้ยงมี 3 พันธุ์ คือ ลาร์จไวท์ แลนด์เรซและดูรอก เริ่มจากซื้อลูกสุกรช่วงอายุที่หย่านมแล้ว คือ ประมาณ 28 วันขึ้นไป มาเลี้ยง เมื่อนำสุกรมาถึงโรงเรือน ควรแยกสุกรใหม่เลี้ยงไว้ต่างหากจากสุกรเดิม ประมาณ 15 วัน เพื่อป้องกันการนำโรคมาติดต่อ แล้วฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ โรคปากและเท้าเปื่อยให้สุกรใหม่

- สุกรพ่อพันธุ์ นิยมเลี้ยงพันธุ์ลาร์จไวท์และดูรอก เมื่อน้ำหนัก 50 กิโลกรัม แยกเลี้ยง ไว้คอกละ 1 ตัว ให้อาหารวันละ 1.5 กิโลกรัม (ไม่ควรเลี้ยงให้มีน้ำหนักมากเกินไป) เพราะจะทำให้ใช้งานไม่ได้นานและผสมพันธุ์ยาก) เมื่ออายุ 6 เดือนครึ่ง หัดให้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย อายุ 8 เดือน จึงใช้เป็นพ่อพันธุ์

- สุกรแม่พันธุ์ นิยมเลี้ยงพันธุ์ลาร์จไวท์และแลนด์เรซ ควรแยกเลี้ยงจากตัวผู้ เมื่อน้ำหนัก 50 กิโลกรัม และเลี้ยงร่วมกันเฉพาะตัวเมียคอกละไม่เกิน 6 ตัว เพื่อลดปัญหาไม่เป็นสัด (ไม่ควรเลี้ยงให้น้ำหนักมากเกินไป) สุกรตัวเมียจะเริ่มเป็นสัดเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน และเป็นครั้งต่อไปประมาณ 21 วัน/ครั้ง อาการที่สังเกตได้คือ เบื่ออาหาร อวัยวะเพศบวมแดง ปากช่องคลอดจะมีน้ำเมือกชุ่ม กระวนกระวายหรือซึม เริ่มให้ผสมพันธุ์ควรมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 90 กิโลกรัม (อายุประมาณ 8 เดือน)

การผสมพันธุ์ควรทำในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 24 วัน หากแม่สุกรไม่เป็นสัด
อีก แสดงว่าผสมพันธุ์ติดและอุ้มท้อง จึงควรระวังไม่ให้ได้รับการกระทบกระเทือน โดยแยกไปเลี้ยงเดี่ยว และอย่าให้แม่สุกรท้องผูก โดยผสมรำหรือผักสดให้กินทุกวัน
เมื่อแม่สุกรจะคลอดลูก จะนอนหายใจถี่ มีเมือกและน้ำคล่ำไหลออกมา หลังจากนั้นจึงคลอด ควรมีน้ำสะอาดตั้งไว้ให้ลูกสุกรกินตั้งแต่อายุได้ 2-3 วัน เมื่ออายุ 5-7 วัน ควรตั้งรางใส่อาหารให้หัดกิน อายุ 28-35 วัน ให้ทำการหย่านมลูกสุกร อายุ 42 วัน ถ่ายพยาธิ หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์
- การเลี้ยงสุกรขุน ควรเลี้ยงสุกรลูกผสมสองสายเลือดหรือสามสายเลือดเพราะเลี้ยงง่าย โตเร็วและแข็งแรงกว่าสุกรพันธุ์แท้ เลี้ยงจนอายุประมาณ 6 เดือน และน้ำหนักได้ตามความต้องการของตลาด จึงจำหน่าย

ข้อแนะนำ
1. ควรเลือกซื้อสุกรจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะจะได้ลูกจากพ่อแม่พันธุ์ที่ดี มีการดูแลป้องกันโรคระบาด

2. มีปัญหาด้านการเลี้ยงสุกร ขอคำปรึกษาได้ที่

- กรมปศุสัตว์ พญาไท กรุงเทพฯ โทร. 653-4550-7 ต่อ 3241-2

- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และอำเภอ

ขอบคุณที่มาของบทความอาชีพเสิรม http://lib-krabi.tripod.com/income/p18.htm